การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ เด็กเล็กอายุ 3-5 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูม ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน 5) แบบวัดความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี 6) แบบประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปีดังนี้
1.1 สภาพการจัดประสบการณ์ของเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูม อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 3.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.54
1.2 ความต้องการรูปแบบการจัดประสบการณ์ของครูผู้สอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือ ครูมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัยเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เน้นกระบวนการที่เด็กได้ฝึกทักษะความสามารถครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน เน้นการฝึกปฏิบัติกิจกรรมจากกระบวนการการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการต้องการพัฒนาในด้านนั้น มีการจัดประสบการณ์เพื่อค้นพบองค์ความรู้ที่มีคุณภาพ นำไปสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ต้องการสร้างและพัฒนาการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1.3 หลักการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปีพบว่า การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กเล็กอายุ 3 5 ปี ควรเป็นไปตามพัฒนาการตามวัยเต็มตามศักยภาพ ทั้งด้านร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดีสุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะชีวิต มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กพัฒนาการทางด้านร่างกายคือ การส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน ผ่านกิจกรรมเช่น การวาดภาพ การตัดการพับ การปั้น การใช้ประสารทสัมผัสฯลฯ เพื่อฝึกให้เกิดความคล่องแคล่ว ยืดหยุ่น แม่นยำ ในการใช้กล้ามเนื้อมือและตา และใช้ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตา จากการฝึกปฏิบัติในห้องเรียนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบด้วย แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานแนวคิดและหลักการ กระบวนการจัดประสบการณ์ หลักการวัดประเมินผล บทบาทครูผู้สอน รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในการจัดทำรูปแบบการจัดประสบการณ์ คือ Joyceand WeilSaylor,Alexander และ Lewis Saylor, Alexander และ Lewis องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของทิศนา แขมมณี
1.4 การศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี ที่สำคัญคือ แนวคิดเกี่ยวกับการการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ แนวคิดการจัดประสบการณ์แบบไฮสโคป และแนวคิดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการจัดประสบการณ์ ที่สำคัญดังนี้ ได้แก่ 1. ข้อมูลพื้นฐานและหลักการ 2. กิจกรรมการจัดประสบการณ์
3. สิ่งสนับสนุน 4. การวัดและประเมินผล ซึ่งมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ได้รูปแบบ PEDRA model ประกอบด้วย 1. เตรียมความพร้อม (Prepare) 2. ดูตัวอย่างทางเลือก (Example) 3. ลงมือทำ (Doing) 4. สะท้อนเรื่องราว (Reflection) 5. นำความรู้ไปใช้ (Apply)
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี ดังนี้
2.1 รูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี คือ รูปแบบ PEDRA model ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.36
2.2 ผลการประเมินแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.22
2.3 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี ทดลองใช้แบบภาคสนาม จำนวน 11 คน ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี มีค่าเท่ากับมีค่าเท่ากับ 81.14/80.45
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปีดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน เด็กเล็กอายุ 3-5 ปี ที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 เด็กมีความพึงพอใจต่อการจัดการรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.80 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.41
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์ PEDRA model เรื่อง สาระแห่งสีสัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน สำหรับเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.41 ซึ่งผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ โดยรวม ผ่าน