ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้ง


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 18,301 ครั้ง
การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้ง

Advertisement

การสื่อสารในหมู่ผึ้ง  ผึ้งสำรวจ  (scout honeybee) สามารถส่งข่าวให้ผึ้งงาน (worker) ที่อยู่ในรังให้รู้คุณภาพของแหล่งอาหารและทิศทางตลอดจนระยะทางจากรังถึงแหล่งอาหารนั้น  การสื่อสารนี้ต้องอาศัยการแสดงท่าทาง เสียง สารเคมี และการสัมผัสตัวกัน

 

การศึกษาของคาร์ล ฟอน ฟริสช์ (Karl von Frisch) -แห่งมหาวิทยาลัยมิวนิก  ประเทศเยอรมัน เกี่ยวกับภาษาของผึ้งเป็นผลงานที่ได้รับความสนใจทั่วไป ฟอน ฟริสช์ สนใจความสามารถของผึ้งในการแยกสีและกลิ่นได้มานานแล้ว  ในการทดลอง ฟอน ฟริสช์ ตั้งโต๊ะที่มีกระดาษฉาบน้ำผึ้งไว้ในบริเวณที่มีรวงผึ้ง แล้วคอยอยู่จนกว่าผึ้งจะมาพบน้ำผึ้ง สังเกตว่าเมื่อผึ้งตัวหนึ่งพบน้ำผึ้งแล้วผึ้งตัวอื่น ๆ จะมาปรากฏตัวที่โต๊ะภายในระยะเวลาอันสั้น ดูเหมือนว่าผึ้งตัวแรกคงจะไปบอกตัวอื่น ๆ ว่าพบอาหารแหล่งใหม่แล้ว  และเพื่อที่จะได้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในรวงผึ้ง เมื่อผึ้งสำรวจกลับจากการพบอาหารในแหล่งใหม่ (คือโต๊ะที่เขาวางไว้) ฟอน ฟริสช์ ได้สร้างรังที่ใช้เป็นที่สังเกตด้วย กระจกทางด้านข้าง เมื่อผึ้งลงมากินน้ำผึ้งที่แหล่งอาหาร ฟอน ฟริสช์ ก็ใช้สีทาไว้ที่ส่วนหลังเพื่อว่าจะได้จำได้เมื่อผึ้งกลับรัง  เขาพบว่าเมื่อผึ้งตัวนั้นกลับมารังจะเลี้ยงดูผึ้งตัวอื่นก่อนแล้วจึงแสดงการเต้นรำบนผิวของรวง (รูปที่ 1) การเต้นรำประกอบด้วยการหมุนตัวเป็นวงกลม (round dance)  ไปทางด้านขวาก่อน แล้วจึงหมุนไปทางด้านซ้ายมือ และจะทำแบบนี้ซ้ำ ๆ กันอย่างรวดเร็ว การเต้นรำเป็นรูปวงกลมนี้จะไปกระตุ้นผึ้งตัวอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณที่ผึ้งสำรวจตัวนั้นเต้นรำแล้วผึ้งตัวอื่น ๆ จะตามผึ้งสำรวจไปโดยจะยื่นแอนเทนนาออกไปยึดผึ้งสำรวจ  และจะแยกตัวออกจากกันทันทีทันใดทีละตัว ๆ บินออกจากรังไป ในชั่วระยะเวลาอันสั้น ผึ้งก็จะไปที่แหล่งอาหาร  การเต้นรำเป็นรูป วงกลมเป็นการแสดงที่บอกให้ผึ้งตัวอื่นรู้ว่ามีแหล่งอาหารใหม่

 


แสดงการเต้นรำเป็นรูปวงกลม

การเต้นรำแบบส่ายตัวของผึ้งสำรวจ

 

รูปที่ 1

ฟอน ฟริสช์ ต้องการรู้ให้แน่ชัดว่า การเต้นรำรูปวงกลมใช้ถ่ายทอดข่าวสารอะไรแน่ จึงเลี้ยงผึ้งหลายตัวที่จานใส่น้ำตาล ซึ่งอยู่ห่างจากรังไปทางทิศตะวันตก 10 เมตร  และวางจานน้ำตาลอีก 3 ใบไว้ในทางทิศเหนือ ใต้ และตะวันออกของรวงผึ้ง    ผึ้งตัวอื่น ๆ  จะมาที่จานใส่น้ำตาลทั้งสี่ใบในจำนวนเท่า ๆ กัน ภายใน 2-3 นาทีหลังจากผึ้งที่ถูกเลี้ยงที่จานทางตะวันตกบินกลับรังและเริ่มแสดงการเต้นรำแบบวงกลมในรวงผึ้ง    ไม่มีหลักฐานใดชี้ให้เห็นว่าการเต้นรำแบบนี้บอกทิศทาง    และจากการ  ทดลองอื่นที่คล้ายคลึงกันนี้ก็ไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าการเต้นรำบอกระยะทางด้วย  ดูเหมือนเพียงแต่จะบอกผึ้งตัวอื่นให้บินออกไปหาอาหารในบริเวณใกล้เคียงกับรวงผึ้งเท่านั้น  อย่างไรก็ดี ฟอน ฟริสช์   พบว่าถ้าจานน้ำตาลแต่ละใบใส่กลิ่นดอกไม้ต่าง ๆ กันลงไป ผึ้งตัวอื่น ๆ จะลงมากินน้ำตาลในจานที่ตัวผึ้งสำรวจลงมากินมากที่สุด แสดงว่าผึ้งกำหนดกลิ่นที่จะค้นหาโดยวิธีการดมร่างกายของตัวที่เต้นรำด้วยการยื่นแอนเทนนาออกไปแตะที่ตัวผึ้งนั้นและอาจรับรู้กลิ่นจากหยดน้ำตาลที่ตัวเต้นรำนั้นนำมาเลี้ยงดู

 

แม้ฟอนฟริสช์จะพบว่า การเต้นรำลักษณะเป็นวงกลมนี้มิได้ใช้บอกทิศทางหรือระยะทางของแหล่งอาหาร แต่เขาคาดว่าผึ้งน่าจะมีวิธีสื่อสารข่าวชนิดนี้ได้ด้วยวิธีอื่น ต่อมาในปี ค.ศ. 1944 ฟอน ฟริสช์ ทำการทดลองโดยตั้งจานน้ำตาล 2 ใบ จานใบหนึ่งอยู่ห่างจากรัง 10  เมตรและอีกใบหนึ่งห่างจากรัง 300  เมตร แต่ละจานใส่กลิ่นลาเวนเดอร์ แล้วเอาผึ้ง 2-3 ตัวมาเลี้ยงในจานที่อยู่ห่างจากรัง 10 เมตรหลังจากนั้นเล็กน้อยก็มีผึ้งมาที่จานนี้จำนวนมาก และมีผึ้งไปที่จานซึ่งอยู่ไกลออกไปเพียง 2-3 ตัวเท่านั้น และเมื่อกลับกันโดยเลี้ยงผึ้งที่จานน้ำตาลซึ่งอยู่ห่างจากรวงผึ้ง 300 เมตรผึ้งตัวอื่นจะมาปรากฎตัวที่จานใบที่อยู่ไกลจำนวนมากและไปปรากฏที่จานใบใกล้เคียง 2-3 ตัวเท่านั้น จะเห็นได้ว่าจะต้องมีการสื่อสารที่ใช้บอกระยะทางแน่นอน และเมื่อ ฟอน ฟริสช์ สังเกตการเต้นรำของผึ้งที่กลับจากการหาอาหารจากทั้ง 2 จานก็เห็นทันทีว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจน ผึ้งตัวที่กลับจากจานที่อยู่ห่าง 10 เมตรจะแสดงการเต้นรำเป็นวงกลมธรรมดา แต่ผึ้งที่กลับมาจากจานน้ำตาลใบที่อยู่ห่าง 300 เมตร จะแสดงการเต้นรำอีกแบบหนึ่งซึ่ง ฟอน ฟริสช์ ให้ชื่อว่าการเต้นรำแบบส่ายตัว (wagging dance) โดยที่ผึ้งจะวิ่งตรงไปเป็นระยะทางสั้น ๆ พร้อม ๆ กับขยับส่วนท้องไปมาอย่างรวดเร็วแล้วก็จะหมุนเป็นวงกลมก่อนที่จะวิ่งไปข้างหน้าใหม่อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจะหมุนตัวและวิ่งเป็นวงกลมในในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับครั้งแรก แล้วจึงวิ่งตรงไปข้างหน้าอีก (รูปที่ 1) ผึ้งแสดงการเต้นรำแบบนี้หลายครั้งฟอน ฟริสช์ พบว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างระยะทางจากรังถึงแหล่งอาหารและจำนวนการหมุนตัวต่อหน่วยเวลาการเต้นรำแบบส่ายตัวนี้ จึงสรุปว่า จำนวนการหมุนตัวของผึ้งจะบอกให้ผึ้งตัวอื่น ๆ รู้ระยะทางจากรังถึงแหล่งอาหาร  เอ เอม เวนเนอร์ (A.M. Wenner) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และ เอช เอสช์ (H. Esch) แห่งมหาวิทยาลัยมิวนิก แนะว่า เสียงที่ผึ้งทำขึ้นในระหว่างการเต้นรำน่าจะมีบทบาทสำคัญในการบอกระยะทางของแหล่งอาหารด้วย (รูปที่ 2)

 

ฟอน ฟริสช์ พบด้วยว่า ผึ้งสามารถจะบอกทิศทางของแหล่งอาหารได้ ตำแหน่ง ของแหล่งอาหารที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะบอกได้โดยทิศทางของส่วนที่เป็นเส้นตรง ในการเต้นรำแบบส่ายตัวนี้ในรวงผึ้งมืด ๆการวิ่งตรงขึ้นไปตามรวงผึ้งหมายความว่าอาหารจะอยู่ในทิศทางเดียวกับทิศทางของดวงอาทิตย์

 

 

รูปที่ 2

 

แสดงการเต้นรำแบบส่ายตัวของผึ้งสำรวจที่ออกไปหาอาหารและพบว่ามี แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์จะกลับมายังรัง และแสดงพฤติกรรมการเต้นรำ  แบบนี้อยู่บนผิวของรวงผึ้ง
ก. การเต้นเป็นรูปวงกลม ซึ่งจะแสดงต่อเมื่อน้ำหวานอยู่ใกล้รัง
ข. การเต้นรำแบบส่ายตัวทำมุม 120 องศากับดวงอาทิตย์ ท้องจะขยับไปมา อย่างรวดเร็ว แสดงว่าแหล่งอาหารอยู่ใกล้
ค. การเต้นรำแบบส่ายตัวทำมุม 60 องศากับดวงอาทิตย์ ท้องขยับไปมา ช้า ๆ แสดงว่าแหล่งอาหารอยู่ไกล จะเห็นได้ว่า การเต้นรำของผึ้งแต่ละ แบบเป็นการบอกทิศทางและระยะทางของแหล่งอาหาร
การวิ่งลงมาตามรวงผึ้งหมายความว่าอาหารจะอยู่ในทิศทางที่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ การวิ่งไปตามมุมต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่าอาหารจะอยู่ในทิศทางที่ทำมุมกับดวงอาทิตย์ เช่น  ถ้าวิ่งทำมุม 30 องศา ไปทางขวาของแนวดิ่ง แสดงว่าแหล่งอาหารทำมุม 30 องศาทางด้านขวาของดวงอาทิตย์ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ผึ้งใช้แรงดึงดูดของโลกเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ดี เมื่อผึ้งแสดงการเต้นรำแบบส่ายตัวบนผิวนอกรวงผึ้งที่ขนานกับพื้นโลกก็จะแสดงการเต้นรำซึ่งมีทิศทางที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยตรงได้ (รูปที่ 2)

 

ตาประกอบของผึ้งสามารถรับแสงโพลาไรส์ (polarized light) ที่สะท้อนมาจากโมเลกุลต่าง ๆ ในบรรยากาศได้ และเนื่องจากระนาบโพลาไรส์ของแสงที่จุดใดจุดหนึ่งบนท้องฟ้าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์กับผู้สังเกต ผึ้งจึงรู้ว่าดวงอาทิตย์อยู่ที่ตำแหน่งใด แม้ว่าผึ้งจะไม่เห็นภาพดวงอาทิตย์เลย ฉะนั้น ผึ้งจะสามารถออกหากินในวันที่มืดมัวได้นานตราบเท่าที่ท้องฟ้ายังพอมีแสงอยู่แล้ว


จากการศึกษาของฟอน ฟริสช์ เขาได้พบว่าผึ้ง  4  สปีชีส์ที่นำมาทดลอง  คือ  ผึ้งพันธุ์ไจแอน พันธุ์อินเดีย พันธุ์ออสเตรีย พันธุ์อิตาลี แสดงท่าเต้นรำเหมือนกันในระยะที่แหล่งอาหารอยู่ห่างจากรวงผึ้ง 3 เมตร คือท่าเต้นรำแบบวงกลมแต่มีท่าเต้นแบบส่ายตัว หรือแบบรูปเคียว เมื่อมีระยะทางห่างไกลมากขึ้น และบางสปีชีส์จะมีท่าเต้นรำแตกต่างจากสปีชีส์อื่น ๆ ดังรูป

 

 


เอื้อเฟื้อบทความจาก สสวท.
ที่มา  http://www.school.net.th


การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้งการสื่อสารของแมลง:การเต้นรำของผึ้ง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

รู้จักวิตามิน H

รู้จักวิตามิน H


เปิดอ่าน 21,645 ครั้ง
ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้


เปิดอ่าน 32,256 ครั้ง
วัสดุในชีวิตประจำวัน

วัสดุในชีวิตประจำวัน


เปิดอ่าน 30,487 ครั้ง
ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร?


เปิดอ่าน 58,269 ครั้ง
การละลาย (Solubility)

การละลาย (Solubility)


เปิดอ่าน 3,101 ครั้ง
ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร

ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร


เปิดอ่าน 52,691 ครั้ง
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)

บรรยากาศ (ATMOSPHERE)


เปิดอ่าน 22,352 ครั้ง
พายุสุริยะ คืออะไร

พายุสุริยะ คืออะไร


เปิดอ่าน 25,742 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เจอดาว "โลกหมายเลข 2" นาซ่าชี้คล้ายโลกเรามากๆ

เจอดาว "โลกหมายเลข 2" นาซ่าชี้คล้ายโลกเรามากๆ

เปิดอ่าน 15,731 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
เปิดอ่าน 13,729 ☕ คลิกอ่านเลย

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยเพื่อเป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ไทย
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยเพื่อเป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ไทย
เปิดอ่าน 15,233 ☕ คลิกอ่านเลย

รู้จักวิตามิน H
รู้จักวิตามิน H
เปิดอ่าน 21,645 ☕ คลิกอ่านเลย

ฝนดาวตกเจมินิดส์
ฝนดาวตกเจมินิดส์
เปิดอ่าน 34,460 ☕ คลิกอ่านเลย

ดวงอาทิตย์ (The Sun)
ดวงอาทิตย์ (The Sun)
เปิดอ่าน 17,419 ☕ คลิกอ่านเลย

รูปร่างลักษณะของดวงจันทร์บนฟ้า
รูปร่างลักษณะของดวงจันทร์บนฟ้า
เปิดอ่าน 23,057 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำไมจึงตื่นเต้นกันนักหนาเมื่อญี่ปุ่นค้นพบ แหล่งแร่โลหะหายาก ที่เกาะมินามิโตริ โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
ทำไมจึงตื่นเต้นกันนักหนาเมื่อญี่ปุ่นค้นพบ แหล่งแร่โลหะหายาก ที่เกาะมินามิโตริ โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
เปิดอ่าน 10,860 ครั้ง

A Systems Approach for Developing Technological Literacy
A Systems Approach for Developing Technological Literacy
เปิดอ่าน 10,657 ครั้ง

รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
เปิดอ่าน 13,648 ครั้ง

"รางวัลให้ครู"
"รางวัลให้ครู"
เปิดอ่าน 16,580 ครั้ง

10 โรคเรื้อรังของคนวัย 40 อัพ
10 โรคเรื้อรังของคนวัย 40 อัพ
เปิดอ่าน 15,011 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ