Advertisement
Advertisement
ปะการัง โดย นายสันทัด สมชีวิตา
ปะการัง เป็นสัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูน มีลักษณะการดำรงชีพ ๒ แบบ คือ อยู่ตัวเดียว หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ปะการังพวกที่เจริญเติบโตในน้ำลึกจะมีลักษณะเป็นก้อนขนาดไม่ใหญ่ ส่วนปะการังที่เจริญได้ดีจะอยู่ในเขตน้ำตื้นจนถึงน้ำลึก ๕๐ เมตร มีการเจริญเติบโตแบบรวมเป็นกลุ่มจะเกิดเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ ปะการังแต่ละตัวที่มารวมกัน จะสร้างโครงสร้างในรูปของหินปูนเป็นรูปร่างต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของปะการังนั้นๆ การเจริญเติบโตของปะการังค่อนข้างช้ามาก ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ และแสงสว่าง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีน้ำสะอาด สภาพท้องทะเลค่อนข้างแข็งหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยความเค็มของน้ำค่อนข้างสูง มีแสงสว่างมากพอควร อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ ๒๐-๒๙ องศาเซลเซียส
ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์จำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และหลบภัย ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทบต่อชายฝั่งความสวยงามของแนวปะการังช่วยในด้านพักผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี สามารถนำรายได้มาสู่ท้องถิ่น รวมทั้งในปัจจุบัน ได้มีการค้นคว้าเพื่อสกัดสารเคมีต่างๆ จากปะการัง สัตว์ และพืชที่อยู่ในแนวปะการัง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ถ้าหากปะการังถูกทำลายหรือตายไปจะต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้
การอนุรักษ์ปะการัง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกัน และจะต้องรู้จักใช้อย่างถูกวิธีการ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการทำลาย เพื่อจะได้รับประโยชน์จากมรดกทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นจะสามารถมีส่วนร่วมกับส่วนราชการ หรือรวมตัวกัน เพื่อดูแลรักษาแนวปะการังในท้องถิ่นของตนให้คงอยู่ได้ ในการจัดการปะการังอาจดำเนินการดังนี้ คือ
๑. ทำการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง พร้อมทั้งจัดทำแผนที่รายละเอียดแสดงบริเวณปะการัง ซึ่งแบ่งเป็น ๔ เขต ได้แก่ เขตการดูแลของท้องถิ่น เขตการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ เขตอนุรักษ์เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ และการวิจัย โดยกำหนดมาตรการในการบริหารการจัดการปะการังในแต่ละเขต เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และควบคุมการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดไว้
๒. ติดตั้งทุ่นผูกเรือในเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการังที่มีความสำคัญสูง สำหรับให้จอดเรือ โดยไม่ให้ทิ้งสมอ
๓. ห้ามการจับปลาทุกประเภทในบางบริเวณเพื่อให้มีปลาเข้ามาหลบในบริเวณนั้นมากขึ้น
๔. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง
๕. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง
๖. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชน สมาคมหรือชมรมการท่องเที่ยว ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด เพื่อการคุ้มครองปะการัง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านการนำมาใช้ประโยชน์และการสงวนรักษา ทรัพยากรธรรมชาติประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งในแต่ละเรื่องมีปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน การพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมาช่วง ๓๐ ปี ประสบกับปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ อันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ ได้แก่ การเพิ่มจำนวนประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว การเร่งรัดพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในการผลิต ซึ่งส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม จนกลายเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาในระยะต่อไป ดังปรากฏเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์อยู่ทุกวัน นับวันจะร่อยหรอหมดสิ้นไปและอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ รวมทั้งยังมีปัญหาขัดขัดแย้งในการใช้ประโยชน์อีกด้วย สำหรับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงอย่างยิ่ง คือ ความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการใช้กันอย่างเกินขอบเขตและการใช้อย่างไม่เหมาะสมจนสภาพทางธรรมชาติไม่สามารถรองรับหรือปรับตัวให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้
ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจอย่างชัดแจ้งแล้วว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดนั้น จะต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ในเวลาเดียวกันด้วย เพราะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติชนิดหนึ่ง อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งได้ และเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน หรือเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนจึงจำเป็นจะต้องมีการบริหารการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากการพัฒนาจะต้องพึ่งทรัพยากรและทรัพยากรก็เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จึงควรอยู่บนรากฐานของความถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยคำนึงถึงสภาพที่สมดุลหรือขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ และโดยที่ปัจจุบัน ปัญหาอันเกิดจากการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นปัญหาที่สำคัญและเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมและส่งเสริมให้การกระทำใดๆ มีผลกระทบในทางเสียหายน้อยที่สุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ทั้งนี้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องคำนึงถึงความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนสถานภาพของทรัพยากรด้วย เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่ามากที่สุด ประหยัดที่สุด สูญเสียน้อยที่สุด และใช้ได้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นการนำขบวนการอนุรักษ์และพัฒนามาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ได้เอื้ออำนวยประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากที่สุดและมีผลต่อเนื่องต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้อย่างยั่งยืน
ดูเพิ่มเติมเรื่อง ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต แล่ม ๑๗ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่ม ๑๙
ที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21
Advertisement
|
เปิดอ่าน 69,612 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,647 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,506 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,640 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,937 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,609 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,664 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,934 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,156 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,137 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,525 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,654 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,049 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,213 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,508 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 19,190 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 22,411 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 24,295 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 23,805 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 27,581 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 2,890 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 17,072 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 10,227 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 26,794 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 35,436 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 4,896 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,586 ครั้ง |
|
|