ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิรูปการศึกษา ?


บทความการศึกษา 6 มิ.ย. 2558 เวลา 05:30 น. เปิดอ่าน : 8,327 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา ?

Advertisement

ปฏิรูปการศึกษา ?

ณรงค์ ใจหาญ

จากสถิติของงบประมาณในการศึกษาที่รัฐได้ทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษา และในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา มีจำนวนมากถึงห้าแสนล้านบาทต่อปี แต่จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาพบว่า จำนวนผู้รู้หนังสือ อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น มีจำนวนน้อย และยังอยู่ในลำดับที่ท้ายๆ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วยกันเอง และอีกมุมหนึ่งคือ ประเทศไทยนั้นมีผู้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาถึง ร้อยละ 51 ซึ่งเป็นระดับที่สูงพอๆ กับประเทศที่พัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับต้นๆ

จากสถิตินี้เอง แสดงให้เห็นภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคับโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ยังไม่สามารถทำให้นักเรียนที่อยู่ในระบบการศึกษาสามารถมีความรู้ที่จะสื่อสาร และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ หากดูสถิติที่นักเรียนเมื่อจบมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาที่เป็นพื้นฐานทั่วไปในศาสตร์แต่ละศาสตร์ ไม่ได้มุ่งไปสู่การประกอบอาชีพหรือแรงงานที่มีทักษะหรือมีฝีมือ ดังนั้น จึงอาจมีผลกระทบต่อตลาดแรงงานที่ต้องการผู้ที่จบมาแล้วสามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามาแล้วจำนวนมาก แต่ไม่มีงานรองรับ เพราะจำนวนผู้สำเร็จ เกินกว่าความต้องการของตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานมากขึ้น บัณฑิตที่จบมาแล้วไม่ได้ทำงานตรงกับสายงานที่ตนศึกษาก็จะไม่สามารถพัฒนาความรู้ที่ตนเรียนมาได้

มีรายงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาของรัฐ จำนวนเกือบหกแสนล้านบาท ต่อปีนั้น รัฐได้ใช้จ่ายเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐานร้อยละ 66 อาชีวะ ร้อยละ 6 อุดมศึกษา ร้อยละ 17 ซึ่งถือว่าสูงในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ในระดับอาชีวะ ถือว่าต่ำ แสดงให้เห็นว่า รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนในระดับอาชีวะ เพื่อจะให้เด็กสามารถจบแล้วหางานทำได้ตามทักษะที่ตนถนัด แต่เน้นการศึกษาในระดับการศึกษาสามัญ ที่จะต้องต่อยอดในระดับอุดมศึกษา จึงจะหางานทำได้

แนวทางนี้เอง จึงทำให้เด็กบางคนที่ไม่ถนัดกับการศึกษาในวิชาสามัญ ต้องหลุดจากระบบการศึกษาภาคบังคับไป เพราะไม่มีความสุขกับการเรียนการสอนในวิชาสามัญและไม่มีทางที่จะเรียนได้ดีในวิชาดังกล่าว และออกมาทำงาน แต่เมื่อไม่สามารถเข้างานที่ต้องการทักษะในการทำงานได้ คนเหล่านี้จึงต้องทำงานในลักษณะแรงงานไร้ฝีมือ ได้ค่าแรงงานต่ำ และไม่อาจพัฒนาศักยภาพของตนในการทำงานได้ ปัญหาเหล่านี้ จากสถิติของงานวิจัย พบว่า มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ไม่ศึกษาต่อในการศึกษาภาคบังคับ และหลุดจากวงจรของการศึกษาก่อนเวลาอันสมควร

จากสถิติเหล่านี้เอง จึงเป็นที่น่าคิดว่า การปฏิรูปการศึกษาในภาพรวมของประเทศ อาจจะต้องกลับมาตั้งต้นที่จะหาคำตอบว่า การศึกษาของไทย มุ่งจะผลิตคนเพื่อให้มีความรู้ คิดเป็น อ่านออกเขียนได้ และมีทักษะในการทำงานโดยไม่จำเป็นต้องศึกษาสูงถึงระดับอุดมศึกษาอย่างไร และรัฐควรให้การสนับสนุนให้เด็กไทยมีความรู้ในวิชาสามัญ และความรู้ในการประกอบอาชีพของตนอย่างไร ทั้งนี้เมื่อเทียบกับ ประเทศในยุโรปเช่นเยอรมัน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แล้ว การศึกษาในระดับมัธยมและการต่อในอาชีวะ หรือเพื่อไปประกอบวิชาชีพที่ใช้แรงงานที่มีฝีมือเป็นนโยบายที่รัฐให้การสนับสนุน และเปิดให้นักเรียนได้เรียนในทักษะที่ตนต้องการ โดยไม่ต้องไปเรียนวิชาสามัญเหมือนกับที่ไทยได้จัดการศึกษา รวมถึงการกระจายการจัดการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่น รวมถึงบูรณาการภาคเอกชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและชุมชน รวมถึงป้องกันการอพยพแรงงานเข้าสู่ชุมชนเมืองได้

นโยบายเหล่านี้ คงเป็นนโยบายที่รัฐจะต้องตัดสินใจ และมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาว่า แนวทางที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และครูในระดับการศึกษาภาคบังคับ ระดับวิชาชีพและระดับอุดมศึกษา จะมีแนวทางอย่างไร จะต้องการผลิตผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับเพื่อออกมาสู่ตลาดแรงงานอย่างไร ทั้งนี้ หากกำหนดแนวนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาได้ชัดเจนแล้ว กลไกในการดำเนินงานจึงควรเน้นที่การกำหนดหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา ว่าควรมีสัดส่วนในการกำหนดวิชาสามัญ และวิชาชีพที่เหมาะสมกับตลาดแรงงาน และความต้องการของนักเรียนอย่างไร ทั้งนี้ในปัจจุบันการศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคับ เน้นการเรียนในวิชาสามัญแต่ยังขาดการส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในชุมชนของตน หรือแม้กระทั่งการเข้าใจในวัฒนธรรม ค่านิยมของไทย อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนและพลเมืองของไทยในอนาคต

นโยบายที่คู่ขนานกับการเรียนการสอนเพื่อจะให้สามารถทำงานได้ หรือการเรียนที่ฝึกฝนให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพหรือทักษะของตน หรือเรียนเพื่อให้คิดและวิเคราะห์เป็น จึงเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง แต่การที่จะสอนให้มีความรู้ควบคู่กับคุณธรรม มีจิตสำนึกในการรักษาวินัย เชื่อฟังกฎหมาย ต่อต้านการคอร์รัปชั่น และการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นมาตรฐานของพลเมืองในระดับสากลนั้นคงจะต้องสอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรและมีการฝึกฝนหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความตระหนักมากขึ้นในทุกระดับ เพื่อทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด มีความรู้ และคุณธรรม มีจิตสำนึกที่ดี มีความเสียสละให้กับส่วนรวมอันจะเป็นกำลังของชาติต่อไป การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาจึงจะประสบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่มากไปกว่าการวัดด้วย จำนวนผู้จบการศึกษาจำนวนมาก แต่ไม่สามารถใช้ความรู้ความสามารถของตนเพื่อสร้างงานและกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ 

 

ที่มาจาก สยามรัฐ


ปฏิรูปการศึกษา ?ปฏิรูปการศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว


เปิดอ่าน 7,497 ครั้ง
หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้


เปิดอ่าน 10,013 ครั้ง
บทบาทผู้นำองค์กร 2020

บทบาทผู้นำองค์กร 2020


เปิดอ่าน 8,484 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society

การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society

เปิดอ่าน 11,473 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์
เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์
เปิดอ่าน 7,367 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
เปิดอ่าน 11,909 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษานับหนึ่งใครเป็นใคร
ปฏิรูปการศึกษานับหนึ่งใครเป็นใคร
เปิดอ่าน 12,156 ☕ คลิกอ่านเลย

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
เปิดอ่าน 18,346 ☕ คลิกอ่านเลย

คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
เปิดอ่าน 14,839 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
เปิดอ่าน 11,652 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การวัดความกดอากาศ
การวัดความกดอากาศ
เปิดอ่าน 23,749 ครั้ง

ฮาร์วาร์ด : สุดยอดมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก
ฮาร์วาร์ด : สุดยอดมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก
เปิดอ่าน 13,822 ครั้ง

สดร.ชี้ข่าวโลกมืดสนิท 6 วันเพราะฝุ่น-ขยะอวกาศบดบังไม่จริง
สดร.ชี้ข่าวโลกมืดสนิท 6 วันเพราะฝุ่น-ขยะอวกาศบดบังไม่จริง
เปิดอ่าน 9,600 ครั้ง

ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์ ?
ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์ ?
เปิดอ่าน 12,006 ครั้ง

สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4
เปิดอ่าน 37,843 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ