ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ถอดรหัส SLC แดนปลาดิบ ผ่าน 2 กูรูด้านการศึกษา เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยสู่ “โรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้” เต็มรูปแบบ


ความรู้ทั่วไป 23 ม.ค. 2561 เวลา 08:08 น. เปิดอ่าน : 52,516 ครั้ง
ถอดรหัส SLC แดนปลาดิบ ผ่าน 2 กูรูด้านการศึกษา เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยสู่ “โรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้” เต็มรูปแบบ

Advertisement

การสร้างโรงเรียนให้กลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ School as Learning Community (SLC) เป็นเรื่องที่บุคลากรในแวดวงการศึกษานานาชาติกล่าวถึงและมุ่งแสวงหาวิธีมาตลอด ด้วยมุ่งหวังที่จะปฏิรูปโรงเรียน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม พร้อมสร้างการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต
 
บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู หรือ EDUCA ในฐานะบริษัทที่ตระหนักว่า การศึกษา คือรากฐานของการสร้างสังคมในอนาคต จึงได้ร่วมกับกลุ่มผู้อำนวยการผู้นำ (Thailand Principal Forum) นำโดย รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ และกลุ่มความร่วมมือด้านการศึกษาแห่งประเทศไทย (Thailand Education Partnership) ซึ่งเป็นคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีการประชุมวิชาการแนวคิด “โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้” หรือ SLC Symposium โดยได้เชิญ 2 กูรูด้าน SLC จากญี่ปุ่น 2 ท่าน ได้แก่ อ.มาซาอากิ ซาโต และ ดร.เอสุเกะ ไซโต มาร่วมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมงานกว่า 150 คน
 
 
นายศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ท่ามกลางกระแสการปฏิรูปการศึกษาที่หลากหลายทฤษฎีในปัจจุบัน บริษัทได้นำเสนอแนวคิดบนฐานความเชื่อของการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม เด็กทุกคนไม่ว่าจะมีทักษะพื้นฐานที่แข็งแรงหรือไม่แข็งแรง ก็ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพที่ตนมีอย่างเต็มที่ แนวคิด SLC จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นทั้งวิสัยทัศน์ ปรัชญา และระบบกิจกรรม โดยเริ่มปฏิรูปโรงเรียนจากภายใน ให้เด็ก ครู และผู้ปกครอง ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างมืออาชีพ จึงน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสม ช่วยให้เกิดการปฏิรูปโรงเรียนและห้องเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมของเด็กๆ และทำให้เด็กๆ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้
 
เหตุที่บริษัทเลือกแนวคิด SLC มาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาไทย เพราะแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่มองระดับมหภาค ใช้วิธีสร้างวิสัยทัศน์ร่วมให้ทุกคนเห็นภาพใหญ่ โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากจุดเล็กๆ อย่างห้องเรียนและโรงเรียน แล้วสร้างให้โรงเรียนเป็นสถานที่สาธารณะที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนั้น ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่เข้มแข็งและบ่มเพาะประชาธิปไตย มีวิธีการแยบยลในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เน้นกระจายอำนาจ ไม่มีหัวหน้า ไม่มีศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับเด็ก ครู ครูใหญ่ และผู้ปกครองทุกคน
 
อ.มาซาอากิ ซาโต หนึ่งในวิทยากรที่และเป็นผู้มีบทบาทในการปฏิรูปโรงเรียนทั้งในญี่ปุ่นและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้อยู่ภายใต้แนวคิด SLC บอกเล่าว่า เดิมทีการศึกษาของญี่ปุ่นเป็นแบบการสื่อสารทางเดียว กล่าวคือ ครู ก็จะมีหน้าที่สอนและจดบนกระดาน ขณะที่นักเรียนก็จะฟังและจดตามเท่านั้น ซึ่งปฏิกริยาที่ตอบสนองกลับมาคือนักเรียนมีอาการเบื่อ เนื่องจากไม่ได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน นำมาซึ่งความไม่เข้าใจในวิชานั้นๆ ดังนั้นครูต้องมีการสังเกตและแสวงหาวิธีแก้ปัญหา โดยเพิ่มการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนให้มากขึ้น
 
ทั้งนี้ การปฏิรูปโรงเรียนไม่ใช่แค่คิดจะทำอะไรก็ทำ แต่จำเป็นต้องมีหลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ที่จะนำมาใช้  โรงเรียน ครูใหญ่ และครูผู้สอน ต้องแชร์แนวคิดและปรัชญาการศึกษาร่วมกัน เพราะผู้ปกครองและคนในชุมชนล้วนมีส่วนสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนขึ้นมาด้วย ในห้องเรียนจะต้องไม่มีนักเรียนคนไหนโดดเดี่ยวและจะต้องไม่มีใครถูกทิ้งใครไว้เบื้องหลัง
 
“ระบบการศึกษา SLC ในญี่ปุ่น ไม่ได้มาจากคณะกรรมการหรือหน่วยงานภาครัฐ แต่เกิดจากการผลักดันเข้าสู่ระบบการศึกษาของครู คาดว่าในปี 2020 ทุกโรงเรียนในญี่ปุ่นจะนำระบบ SLC ไปใช้ อ.มาซาอากิ กล่าว
 
ด้าน ดร.เอสุเกะ ไซโต อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) ประเทศออสเตรเลีย ผู้มีประสบการณ์ด้านงานวิจัยและปฏิบัติการด้านการศึกษาผ่านบทเรียน (Lesson Study) ตลอดจนสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) มากกว่า 15 ปี กล่าวว่า จากที่ได้เยี่ยมชมการเรียนการสอนในโรงเรียนไทย และเก็บภาพบรรยากาศระหว่างการสังเกตชั้นเรียนวิชาเย็บปักถักร้อยมีเหตุการณ์ซึ่งสร้างความประทับใจเกิดขึ้น โดยได้เล่าให้เหล่าครูผู้เข้าร่วม SLC Symposium ได้เรียนรู้ร่วมกัน 
 
ขณะที่เยี่ยมชมการเรียนการสอนอยู่นั้น พบว่ามีนักเรียนคู่หนึ่งซึ่งนั่งอยู่ข้างกัน นักเรียนผู้หญิงไม่สามารถเย็บผ้าตามโจทย์ที่อาจารย์สั่งได้ ขณะที่นักเรียนชายซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ มีความสามารถในการทำสิ่งนี้มากกว่า นักเรียนผู้หญิงได้เอ่ยปากขอให้นักเรียนชายช่วยเหลือเธอ แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญของผู้ออกปากขอความช่วยเหลือ และยิ่งสวยงามมากขึ้น เมื่อนักเรียนชายแสดงออกต่อผู้ขอความช่วยเหลือในทำนองที่ว่า ไม่ต้องเป็นกังวล ฉันจะคอยช่วยเหลือเธออยู่ตรงนี้
 
“การที่เด็กไม่เข้าใจบทเรียนและกล้าที่จะออกปากของความช่วยเหลือเพื่อน เป็นเหมือนก้าวเล็กๆ ของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เพราะมันแสดงให้เห็นว่า นักเรียนตระหนักถึงสิทธิในการเรียนรู้ของตนซึ่งเป็นคุณค่าในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ทั้งยังมีความไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อนในการเป็นคู่หูร่วมเรียนรู้กัน ซึ่งนั่นคือการศึกษาแบบ SLCนักเรียนที่เก่งกว่าต้องช่วยเหลือนักเรียนที่อ่อนกว่า เพราะหนึ่งในหลัก SLC คือ เด็กทุกคนต้องได้รับทั้งคุณภาพและโอกาสทางการศึกษาที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน ในห้องเรียนครูจะต้องใส่ใจการเรียนรู้ของเด็กทุกคน โดยไม่ยอมทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” ดร.เอสุเกะ กล่าว
 
นอกจากการมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ท่านยังได้รวบรวมแนวคิด School as Learning Community ทั้งหมดถ่ายทอดผ่านหนังสือ เรียนรู้จากข้อเท็จจริงของเด็กและห้องเรียน: การปฏิรูปโรงเรียนด้วย ‘ชุมชนแห่งการเรียนรู้’ และการไตร่ตรอง โดย อ.มาซาอากิ ซาโตกับดร.เอสุเกะ ไซโต และ หนังสือ พัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้: คู่มือการปฏิรูปโรงเรียนที่ยั่งยืน โดย ดร.เอสุเกะ ไซโต และคณะ ดำเนินการจัดพิมพ์โดย บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ด้วยความมุ่งหวังจะช่วยให้ครูเข้าใจปรัชญาของการปฏิรูปโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ สร้างการปฏิรูปโรงเรียนให้เกิดขึ้นจริง

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

ถอดรหัส SLC แดนปลาดิบ ผ่าน 2 กูรูด้านการศึกษา เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยสู่ “โรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้” เต็มรูปแบบถอดรหัสSLCแดนปลาดิบผ่าน2กูรูด้านการศึกษาเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยสู่“โรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้”เต็มรูปแบบ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปวดหลังรักษาอย่างไรดี

ปวดหลังรักษาอย่างไรดี


เปิดอ่าน 15,508 ครั้ง
"โสม" ราชาแห่งสมุนไพร

"โสม" ราชาแห่งสมุนไพร


เปิดอ่าน 12,083 ครั้ง
ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์ ?

ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์ ?


เปิดอ่าน 12,006 ครั้ง
โรคภูมิแพ้ที่กิดจากอาหาร

โรคภูมิแพ้ที่กิดจากอาหาร


เปิดอ่าน 9,141 ครั้ง
คืนผิวหน้าสวยด้วยฟักทอง

คืนผิวหน้าสวยด้วยฟักทอง


เปิดอ่าน 14,744 ครั้ง
ส่ง"เอสเอ็มเอส"บ่อยไม่ดี

ส่ง"เอสเอ็มเอส"บ่อยไม่ดี


เปิดอ่าน 8,827 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เปิดอ่าน 4,192 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
รู้ไว้ไม่เสียหาย! ตัวเลข "เฮง-ชง" ประจำปีวอก
รู้ไว้ไม่เสียหาย! ตัวเลข "เฮง-ชง" ประจำปีวอก
เปิดอ่าน 12,207 ☕ คลิกอ่านเลย

ขยันอย่างไร?...จึงจะประสบความสำเร็จ
ขยันอย่างไร?...จึงจะประสบความสำเร็จ
เปิดอ่าน 19,864 ☕ คลิกอ่านเลย

ผู้อยู่ลำดับสี่ในตารางสัมภาษณ์งาน มีโอกาสได้งานทำมากที่สุด ผลการวิจัยบอก
ผู้อยู่ลำดับสี่ในตารางสัมภาษณ์งาน มีโอกาสได้งานทำมากที่สุด ผลการวิจัยบอก
เปิดอ่าน 14,388 ☕ คลิกอ่านเลย

รีดเลือดไดโนเสาร์ ซากจมอยู่ในดินตายมาแล้วตั้ง 80 ล้านปี
รีดเลือดไดโนเสาร์ ซากจมอยู่ในดินตายมาแล้วตั้ง 80 ล้านปี
เปิดอ่าน 10,944 ☕ คลิกอ่านเลย

อยากฉลาดฟังดนตรีคลาสสิก
อยากฉลาดฟังดนตรีคลาสสิก
เปิดอ่าน 16,742 ☕ คลิกอ่านเลย

วัคซีน"หวัด09"เข็มเดียวอยู่
วัคซีน"หวัด09"เข็มเดียวอยู่
เปิดอ่าน 11,503 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?
ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?
เปิดอ่าน 7,742 ครั้ง

เช็คด่วน! 13 แอปฯ อันตราย "ดูดเงิน-สอดแนม" มีอะไรบ้าง ลบทิ้งทันที
เช็คด่วน! 13 แอปฯ อันตราย "ดูดเงิน-สอดแนม" มีอะไรบ้าง ลบทิ้งทันที
เปิดอ่าน 6,615 ครั้ง

อานิสงค์ของการถวายเทียนพรรษา
อานิสงค์ของการถวายเทียนพรรษา
เปิดอ่าน 1,004 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
เปิดอ่าน 9,381 ครั้ง

หีบพระศพ
หีบพระศพ
เปิดอ่าน 24,092 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ