Advertisement
Advertisement
นิตยสาร “สตรีสาร” ฉบับวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗รายงานเรื่องต้นชมพูภูคาไว้ค่อนข้างละเอียด “ซองคำถามขอนำมาเล่าต่อดังนี้
ชมพูภูคาเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายากซึ่งใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก เมื่อประมาณ ๓๐ ปีมาแล้ว ที่ประเทศจีน มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ในเขตมณฑลยูนนาน แต่ปัจจุบันป่าดิบเขาอันเป็นสภาพแวดล้อมของพันธุ์ไม้นี้ในประเทศจีนถูกทำลายลงไปมาก นักวิชาการจึงคาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
สำหรับประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ ดร. ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิตประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ได้ออกสำรวจป่าบริเวณดอยภูคา ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน พบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ จึงได้เก็บตัวอย่างมาตรวจสอบ และต่อมาได้ตั้งชื่อภาษาไทยว่า ชมพูภูคาเนื่องจากดอยภูคาเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่พบต้นชมพูภูคา เพราะมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ลักษณะของต้นชมพูภูคาสูงประมาณ ๒๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ๕๐ เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอกปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ดอกจะบานประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ลักษณะของผลคล้ายมะกอก แต่มีขนาดใหญ่กว่า ต้นชมพูภูคาจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดิบเขา บนไหล่เขาชันที่มีความสูงตั้งแต่ ๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ความชื้นอากาศสูง และอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดปี
ขณะนี้อุทยานแห่งชาติดอยภูคาได้ทดลองเพาะกล้าชมพูภูคาจากเมล็ดจนเป็นผลสำเร็จ แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ชมพูภูคาอยู่รอดได้คือ ต้องช่วยกันรักษาธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้มีการตัดไม้หรือแผ้วถางป่าในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากชมพูภูคาต้องมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา จึงจะเจริญเติบโตได้ดี
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
ชมพูภูคา : ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl. : ชื่อวงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE
ชมพูภูคา เป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูอมขาวงดงาม ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ลักษณะทั่วไป
ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบใบประกอบแบบขนนก ยาว 30-80 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ รูปหอกถึงรูปไข่ กว้าง 2.5-6.0 เซนติเมตร โคนใบมนไม่เท่ากัน ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร ดอย่อยสีชมพู คล้ายรูประฆัง กลีบรองดอกขนาดใหญ่ รูปถ้วยขอบหยักตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง โคนกลีบเรียวยาว ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก ขนาด 1.8-2.0 เซนติเมตร กลีบบนมักคว่ำลง เกสรตัวผู้ 8 อัน ผล รูปกระสวย แก่แล้วแตก เมล็ด รูปรี กว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร
การขยายพันธ์
โดยการเพาะเมล็ด เป็นพันธุ์ไม้ป่าหายากของประเทศไทย พบแห่งเดียวที่ดอยภูคาจังหวัดน่าน
Advertisement
|
เปิดอ่าน 34,914 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,387 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,621 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,608 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,455 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,060 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,029 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,155 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,002 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,815 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,536 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,835 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,772 ครั้ง |
เปิดอ่าน 54,570 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,783 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 11,885 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 10,990 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 16,135 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,737 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 21,117 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,735 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,256 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 7,862 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,125 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 8,990 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 18,543 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 20,815 ครั้ง |
|
|