ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวั

ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์

การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย

อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

ผู้วิจัย นางงามจิตร แกล้วกล้า

ปีที่พิมพ์ 2563

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดย ใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 2)เพื่อหารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ 4) เพื่อสรุปประเมินผลพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ 5)เพื่อทดลองใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ 6)เพื่อสรุปประเมินผลและสร้างคู่มือเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันของการบริหารจัดการสถานศึกษา (R1) ขั้นตอนที่ 2 หารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ (D1) ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (R2) ขั้นตอนที่ 4 สรุปประเมินผลรูปแบบการบริหารสถานศึกษา (D2) ขั้นตอนที่ 5 การทดลองซ้ำเพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการ (R3) ขั้นตอนที่ 6 สรุปประเมินผลและสร้างคู่มือเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ (D3) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ครูจำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครอง จำนวน 225 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 252 คน ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ปีการศึกษา 2562-2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี (mixed methods) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviations) และนำเสนอผลโดยพรรณนาความ

สรุปผลการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ สรุปผลได้ดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันของการบริหารจัดการสถานศึกษา (R1)

จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ สอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ในช่วงระยะเวลาผ่านมา พบว่าสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัยในภาพรวมนั้นยังต้องการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจในระดับที่ยอมรับได้ คุณภาพผู้เรียนยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ไม่ค่อยเหมาะสมและต่อเนื่อง ขาดการชี้แนะระหว่างการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมด้านการบริหารและการจัดการสถานศึกษาแบบบูรณาการการปฏิบัติงานและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมจนเป็นแบบอย่างที่ดีและได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถดำเนินการได้เท่าที่ควร ควรมีการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นระบบเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพของเด็กให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ –จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญาทุกด้านให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย

2. ผลการหารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์ การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ (D1)

ผลการหารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์ การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ จากการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถามและสนทนากลุ่ม ( Focus Group) ผู้เกี่ยวข้องกับผลการหารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์ การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ

2.1 ผลการศึกษาสภาพ ปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็ก โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าสภาพปัจจุบันของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ควรประกอบ ด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล

2.2 ผลการหาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็ก โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าสภาพปัจจุบันของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ควรประกอบ ด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (R2)

3.1 ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดคือมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญ ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ และขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ตามลำดับ

3.2 ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่ารูปแบบมีค่าประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.10 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.60 - 4.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50

3.3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงานและขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ตามลำดับ

3.4 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน ระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 7 : จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทย ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหาร ตามลำดับ

4. ผลการสรุปประเมินผลรูปแบบการบริหารสถานศึกษา (D2)

4.1 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์ การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ควรมีแนวปฏิบัติตามกระบวนการมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผน ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล

4.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัยอยู่ในระดับคุณภาพตามมาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของเด็ก ผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการและการจัดการ ผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับดีเลิศ ตามลำดับ

4.3 ผลงานเชิงประจักษ์ของสถานศึกษาทางวิชาการโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนมีความรู้ความสามารถได้รับรางวัลประเภทต่างๆ ในการประกวดแข่งขันงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับภาคเหนือครั้งที่ 17

4.4 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 7 : จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทย และศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหารตามลำดับ

5. ผลการทดลองซ้ำเพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการ (R3)

5.1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ตามลำดับ

5.2 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน ระดับมาก 1 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 7:จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทย ศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหาร ตามลำดับ

6. ผลการสรุปประเมินผลและสร้างคู่มือเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ (D3)

6.1. ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษาและขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ตามลำดับ

6.2 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 7 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 7 : จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหาร ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทย ตามลำดับ

ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงภาพอนาคตของสังคมไทย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ที่จะนําพาประเทศให้พ้นจากกับดักความเหลื่อมล้ำ ความไม่สมดุล รายได้ของประเทศอยู่ในระดับ ปานกลาง ความไม่สมดุลของการพัฒนาซึ่งเป็นอุปสรรคสําคัญ ในการพัฒนาประเทศซึ่งต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี การติดต่อสื่อสาร ภาษาและวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างการมีส่วนร่วม(กระทรวงอุตสาหกรรม. 2559: 5) ซึ่งการจัดการศึกษาปฐมวัยมีการขยายตัวเร็วขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง และสภาพเศรษฐกิจของสังคมไทยในปัจจุบัน แต่สถานศึกษาที่มีคุณภาพ ที่จัดการศึกษาอย่างเหมาะสมสำหรับชีวิตวัยเด็ก เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุขนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่หลายฝ่ายยังให้ความสำคัญ และร่วมกันวางแผนการพัฒนาระบบและกลไกส่วนต่างๆ ชวลิต โพธิ์นคร (2560:ออนไลน์) ได้กล่าวว่า การพัฒนาประเทศต้องมีปัจจัยหลายด้านเพื่อมาขับเคลื่อนประกอบด้วยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจ การเมืองโดยเฉพาะด้านการศึกษา จากงานวิจัยของบุคคลต่าง ๆ พบว่าสภาพการ ดําเนินการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยอยู่ในระดับปานกลางและมีปัญหาระดับน้อยจากปัญหาการดําเนินงานการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย (สํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. 2557: 9) ดังนั้นการจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัยมีความสําคัญ จะทําให้เด็กปฐมวัยพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ การศึกษาระดับเริ่มแรกนี้ สําคัญมาก วัยเจ็ดปี แรกของมนุษย์นั้น กําหนดคุณสมบัติของคนเราเกือบจะทั้งหมด การให้การศึกษาในเจ็ดปีแรกของคนเราจึงสําคัญที่สุด เราอยากจะให้ลูกหลานของเราเป็นเด็กและเติบโตเป็นผู้ใหญ่แบบไหน การเรียนรู้การศึกษาในเจ็ดปีแรกนี้แหละมีความหมายที่สุด (สุริยา ฆ้องเสนาะ. 2558: 2)

จากที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นปัญหาสําคัญของรากฐานการศึกษาเพราะการศึกษาที่จะ พัฒนาประเทศชาติได้ดีนั้นจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนตั้งแต่วัยเด็กสถานศึกษาถือเป็นตัวหลักสําคัญ ในการพัฒนา สถาบันครอบครัว คือ ผู้ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพของเด็กให้มีความเจริญเติบโตและพร้อมที่ จะรับสิ่งเรียนรู้ใหม่ ๆ ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงภาครัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทสําคัญในการพัฒนาเด็กระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญของชีวิต ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ (2559: 47-51) ได้ร่างกรอบทิศทางการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574 วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นของระบบการศึกษา พบว่าเด็กปฐมวัยจำนวน 365,506 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ของเด็กในช่วงอายุ 2 - 5 ปี ที่ไม่ได้รับโอกาสเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลเพื่อเตรียมความพร้อม ส่วนครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่เพียงพออีกทั้งขาด คุณวุฒิ ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย โดยเฉพาะด้านจิตวิทยาเด็กเร่งพัฒนาการเด็กโดยไม่คำนึงถึงความพร้อมของเด็ก ส่งผลให้เด็กปฐมวัยเกิดความเครียดและ ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ และพ่อแม่ผู้เป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาเด็กยังขาดโอกาสเรียนรู้วิธีการเป็นพ่อแม่ที่ดี ทั้งทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต โภชนาการ ขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง

จากรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย(2562 : 28-38) ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย โดยได้สรุปข้อมูลดังนี้ จุดที่ควรพัฒนา 1) ด้านมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ควรมีการส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึง ระดับอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการเสริมสร้างวินัยเชิงบวก 2) ด้านมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.1)ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนามีกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพของเด็กให้มีประสิทธิภาพ 2.2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูควรปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและทันต่อโลกเหตุการณ์ปัจจุบัน 3) ด้านมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูควรพัฒนาศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนให้เป็นแบบอย่างที่ดี โดยมีทิศทาง/แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต ดังนั้นผู้บริหารควรเอาใจใส่ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพโดยเฉพาะความเป็นเลิศ โดยความร่วมมือของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน สถานศึกษาควรพัฒนางานโดยให้ความสำคัญและให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จากข้อมูลดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเร่งด่วน โดยการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นเชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ผู้วิจัยในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาทุกด้าน จึงต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการบริหารเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในทุกๆ ด้านต่อไป

โจทย์วิจัย

1. การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นเชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่เป็นอย่างไร

2. ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นเชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อยู่ในระดับใด

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นเชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

2. เพื่อหารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นเชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นเชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

4. เพื่อสรุปประเมินผลพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นเชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

5. เพื่อทดลองใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นเชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

6. เพื่อสรุปประเมินผลและสร้างคู่มือเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1. เกิดกลไกความร่วมมือในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ สร้างแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสนองต่อความต้องการของโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง เด็กและชุมชนที่มีแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่ชัดเจนในการส่งเสริมความเป็นเลิศ

2.ทำให้เด็กมีคุณภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนด ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง เด็กมีระดับความพึงพอใจในระดับดี เด็กได้รับประสบการณ์จากการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

3. โรงเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพด้านต่างๆ เป็นที่ยอมรับของครูโรงเรียนใกล้เคียง ในสังกัดเดียวกันและต่างสังกัด เป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ครูจำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครอง จำนวน 225 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 252 คน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันของการบริหารจัดการสถานศึกษา (R1) ขั้นตอนที่ 2 หารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ (D1) ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (R2) ขั้นตอนที่ 4 สรุปประเมินผลรูปแบบการบริหารสถานศึกษา (D2) ขั้นตอนที่ 5 การทดลองซ้ำเพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการ (R3) ขั้นตอนที่ 6 สรุปประเมินผลและสร้างคู่มือเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ (D3)

ผลการวิจัย

ภาพที่ 1 แสดงการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์

การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย

จังหวัดแพร่

สรุปผลการวิจัย

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันของการบริหารจัดการสถานศึกษา (R1)

จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ สอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ในช่วงระยะเวลาผ่านมา พบว่าสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัยในภาพรวมนั้นยังต้องการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจในระดับที่ยอมรับได้ คุณภาพผู้เรียนยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ไม่ค่อยเหมาะสมและต่อเนื่อง ขาดการชี้แนะระหว่างการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมด้านการบริหารและการจัดการสถานศึกษาแบบบูรณาการการปฏิบัติงานและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมจนเป็นแบบอย่างที่ดีและได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถดำเนินการได้เท่าที่ควร ควรมีการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นระบบเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพของเด็กให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ –จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญาทุกด้านให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย

2. ผลการหารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์ การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ (D1)

ผลการหารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์ การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ จากการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถามและสนทนากลุ่ม ( Focus Group) ผู้เกี่ยวข้องกับผลการหารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์ การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ

2.1 ผลการศึกษาสภาพ ปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็ก โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าสภาพปัจจุบันของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ควรประกอบ ด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล

2.2 ผลการหาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็ก โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าสภาพปัจจุบันของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ควรประกอบ ด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (R2)

3.1 ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดคือมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญ ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ และขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ตามลำดับ

3.2 ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่ารูปแบบมีค่าประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.10 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.60 - 4.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50

3.3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงานและขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ตามลำดับ

3.4 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน ระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 7 : จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทย ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหาร ตามลำดับ

4. ผลการสรุปประเมินผลรูปแบบการบริหารสถานศึกษา (D2)

4.1 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์ การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ควรมีแนวปฏิบัติตามกระบวนการมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผน ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล

4.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัยอยู่ในระดับคุณภาพตามมาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของเด็ก ผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการและการจัดการ ผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับดีเลิศ ตามลำดับ

4.3 ผลงานเชิงประจักษ์ของสถานศึกษาทางวิชาการโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนมีความรู้ความสามารถได้รับรางวัลประเภทต่างๆ ในการประกวดแข่งขันงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับภาคเหนือครั้งที่ 17

4.4 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 7 : จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทย และศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหารตามลำดับ

5. ผลการทดลองซ้ำเพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการ (R3)

5.1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ตามลำดับ

5.2 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน ระดับมาก 1 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 7:จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทย ศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหาร ตามลำดับ

6. ผลการสรุปประเมินผลและสร้างคู่มือเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศ (D3)

6.1. ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา และขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ตามลำดับ

6.2 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 7 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 7 : จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหาร ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทย ตามลำดับ

อภิปรายผลการวิจัย

จากผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีประเด็นสำคัญที่ควรนำมาอภิปรายผลได้ ดังนี้ จากผลการวิจัยที่พบว่าความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ช่วยทำให้ครู เพื่อนครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเกิดการพัฒนาในวิชาชีพ เกิดความร่วมมือระหว่างกัน ในการพัฒนาวิชาชีพด้วยวิธีต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลการปฏิบัติซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการนำแหล่งเรียนรู้มาเป็นองค์ประกอบหลักในการเรียนรู้ ทำให้การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการศึกษาในมิติต่างๆ อีกทั้งรูปแบบการพัฒนาที่สร้างขึ้นนั้นเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้โดยตรง โดยเฉพาะเด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพได้รับการพัฒนา มีการดำเนินการสร้างพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยผู้ศึกษาได้ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการตามขั้นตอนการจัดทำ อาศัยหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลหรือคณะบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมตัดสินใจร่วมแก้ไขเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยถือว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้นเป็นกระบวนการสำคัญที่เกิดจากความร่วมมือของคณะครู บุคลากรทางการศึกษา และหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน อีกทั้งการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็ก พัฒนาขึ้นโดยยึดหลักการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน หลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่¬เน้นเด็กเป็นสําคัญ โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย และ ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย และมีกิจกรรมที่¬หลากหลาย ได้ลงมือกระทําในสภาพแวดล้อมที่¬เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนที่¬เพียงพอ

อีกทั้งอาจเป็นเพราะว่าผู้บริหาร คณะครู ได้ดําเนินการ บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนระดับปฐมวัย โดยนำแหล่งเรียนรู้มาใช้ มีความสอดคล้องกับแผนงาน โครงการ กิจกรรมเป้าหมายและเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานของโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองและการปฏิบัติมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนทั้งผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลคุณภาพนักเรียนระดับปฐมวัยจึงส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียน สอดคล้องกับรัตนา บุญญาเศวต (2556:185-188) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสําหรับเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสําหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดแบบมอนเตสซอรีทฤษฎีพหุปัญญา และการออกแบบย้อนกลับอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลการเสริมสร้างความสามารถของครูปฐมวัยในการออกแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เด็กอยู่ในระดับดี 3) คุณภาพของรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสําหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดแบบมอนเตสซอรีทฤษฎีพหุปัญญา และการออกแบบย้อนกลับอยู่ในระดับดีและ 4) การพัฒนาคุณภาพเด็กด้วยวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสําหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดแบบมอนเตสซอรีทฤษฎีพหุปัญญาและการออกแบบย้อนกลับอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับงามทิพย์ มิตรสุภาพ (2559:397-398) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมโดยรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และขอบข่ายการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามลำดับ

สอดคล้องกับศิโรวรรณ ธัญญากรณ์ (2561:92-95) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่องแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 2 ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) ด้านคุณลักษณะจรรยา บรรณวิชาชีพครูและประสิทธิภาพของครู 3)ด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้บริหารมีการจัดการบริหารจัดการบุคลากร มีการจัดการ บริหารงานงบประมาณ และมีการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ย่างมีประสิทธิภาพ 4)ด้านประสิทธิภาพ ของการพัฒนาสถานศึกษา ประกอบด้วยสถานศึกษามีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ บังเกิดประสิทธิผลตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนด ดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็น ระบบและเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินงานโดยใช้หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 5)ด้านการบริหารอาคาร สถานที่ ประกอบด้วยสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็ม ศักยภาพ บำรุงรักษาอาคารสถานที่ให้คงสภาพดีและสนองต่อความต้องการได้เพียงพอและ 6)ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนต่อการจัดการศึกษา

ข้อเสนอแนะ

1. จากผลการวิจัยที่พบว่าความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำแนกตามรายด้าน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา และขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ตามลำดับ ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการวัดผลประเมินผลเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม ตลอดจนมีการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

2. จากผลการวิจัยที่พบว่า การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพเด็กโดยใช้ 7 ศูนย์การเรียนรู้แห่งความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผนการบริหารสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นการให้ความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินงาน และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ประกอบด้วย 7 ศูนย์การเรียนรู้ คือ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 : แรกรับประทับใจ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 : ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 : ให้โอกาสทางโภชนาการ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 : ลานเพลิน ศูนย์การเรียนรู้ที่ 5 : แหล่งเรียนรู้วิถีไทยศูนย์การเรียนรู้ที่ 6 : มีส่วนร่วมการบริหาร และศูนย์การเรียนรู้ที่ 7 : จัดประสบการณ์เรียนรู้และเล่นเพื่อพัฒนาการเมื่อนำไปสู่การปฏิบัติทำให้เด็กได้รับการพัฒนาคุณภาพในด้านต่างๆ มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ตลอดจน มีผลงานเชิงประจักษ์ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ชุมชน มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากรและชุมชน ต้องมีการสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นควรเปิดโอกาสให้ครู ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไป

1. ควรศึกษากลยุทธ์การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาผู้เรียน เข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ควรมีการศึกษาวิจัยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์กรท้องถิ่น ในเชิงคุณภาพทั้งโดยภาพรวมและแต่ละองค์ประกอบ

3. ควรมีการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาไปปรับทดลองใช้กับเด็กหลายกลุ่ม เช่น ต่ำกว่า 3 ขวบ หรือ 5 ขวบขึ้นไปเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้น

4. ควรศึกษาและวิเคราะห์บริบทที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ที่ใกล้เคียงกับสถานศึกษา เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดการศึกษาในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชนมากขึ้น

บรรณานุกรม

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี .

กรุงเทพมหานคร: กระทรวงกระทรวงอุตสาหกรรม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574.

กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

งามทิพย์ มิตรสุภาพ.(2559). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.

วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนา

การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). การศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0, การประชุมใหญ่สามัญประจำปี2559 และ

ประชุมวิชาการเรื่อง “ห้องสมุดดิจิทัลกับการก้าวสู่ยุค Thailand 4.0”. วันที่ 22-24

มีนาคม 2560, ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาคกรุงเทพมหานคร.

รัตนา บุญญาเศวต.(2556).การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย .

วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย.(2562). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

ปีการศึกษา 2562. แพร่ : โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย. ศิโรวรรณ ธัญญากรณ์.(2561).แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 2. วิทยานิพนธ์ ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี.กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). การศึกษาของเด็กปฐมวัย หัวใจสําคัญของการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:

กลุ่มงานบริการวิชาการ : สํานักวิชาการ.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. (2557). การยกระดับคุณภาพครู

ไทยในศตวรรษที่ 21, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์ การเรียนรู้ ...

สู่จุดเปลี่ยน ประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2557.กรุงเทพมหานคร:

สำนักงาน.

ประกาศคุณูปการ

งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาจาก ดร.ชาลี ภักดี อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาการบริหารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัย มหามกุฎ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ นางมุกดา ศิริวาท ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญ โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง นายมานิช ถาอ้าย ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนต้นแก้วผดุงวิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ดร.คัชรินทร์ มหาวงศ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยาดร.ภูมิไพรัตน์ อนุพันธ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนแม่อายวิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ดร.จีราวัจน์ จันทสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ผู้อำนวยการระดับกลาง เทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่กรุณาให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางที่ถูกต้องทำให้ผู้วิจัยได้แนวทางในการศึกษาค้นคว้า และประสบการณ์ที่มีคุณค่ายิ่ง ผู้วิจัยจึงขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้

ขอขอบคุณคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครูและผู้ปกครอง ที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้จนประผลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

โพสต์โดย งามจิตร แกล้วกล้า : [21 ม.ค. 2564 เวลา 12:26 น.]
อ่าน [3550] ไอพี : 1.1.169.75
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 13,975 ครั้ง
ประตูบ้าน คือ ปากแห่งโชคลาภ
ประตูบ้าน คือ ปากแห่งโชคลาภ

เปิดอ่าน 9,940 ครั้ง
ซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา-ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ความต่อเนื่องทางนโยบาย?
ซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา-ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ความต่อเนื่องทางนโยบาย?

เปิดอ่าน 17,488 ครั้ง
ว่านหางจระเข้ สมุนไพรสารพัดประโยชน์
ว่านหางจระเข้ สมุนไพรสารพัดประโยชน์

เปิดอ่าน 13,199 ครั้ง
ใช้หมากรุกเป็นวิชา แก้ตกเลขซ้ำซาก
ใช้หมากรุกเป็นวิชา แก้ตกเลขซ้ำซาก

เปิดอ่าน 22,880 ครั้ง
วิธีเก็บไข่ให้ได้นานๆ
วิธีเก็บไข่ให้ได้นานๆ

เปิดอ่าน 10,879 ครั้ง
"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์

เปิดอ่าน 13,148 ครั้ง
โลกออนไลน์แชร์คลิปดีๆ "ครูบุ๋ม" ชวนเด็กๆเต้น T26 ก่อนเรียนคาบแรก
โลกออนไลน์แชร์คลิปดีๆ "ครูบุ๋ม" ชวนเด็กๆเต้น T26 ก่อนเรียนคาบแรก

เปิดอ่าน 12,862 ครั้ง
รู้ไว้จะได้ไม่พลาด! ไขข้อข้องใจ "มนุษย์เงินเดือน" ในการกรอก "ภาษี"
รู้ไว้จะได้ไม่พลาด! ไขข้อข้องใจ "มนุษย์เงินเดือน" ในการกรอก "ภาษี"

เปิดอ่าน 7,445 ครั้ง
7 วิธี ใช้เงินอย่างประหยัดเมื่อไปเรียนต่างประเทศ
7 วิธี ใช้เงินอย่างประหยัดเมื่อไปเรียนต่างประเทศ

เปิดอ่าน 12,892 ครั้ง
3 เรื่องที่ต้องรู้ "ตั้งเป้ารวยก่อนแก่"
3 เรื่องที่ต้องรู้ "ตั้งเป้ารวยก่อนแก่"

เปิดอ่าน 13,734 ครั้ง
อย่าละเลยอาการไหล่ติด
อย่าละเลยอาการไหล่ติด

เปิดอ่าน 13,397 ครั้ง
โซเชียลแชร์ กระดาษคำตอบแบบใหม่ กันลอกข้อสอบ
โซเชียลแชร์ กระดาษคำตอบแบบใหม่ กันลอกข้อสอบ

เปิดอ่าน 16,284 ครั้ง
เด็กนอนเป็นเวลาปัญญาดี ยิ่งนอนตั้งแต่หัวค่ำยิ่งหัวไวยิ่งกว่าเพื่อน
เด็กนอนเป็นเวลาปัญญาดี ยิ่งนอนตั้งแต่หัวค่ำยิ่งหัวไวยิ่งกว่าเพื่อน

เปิดอ่าน 34,952 ครั้ง
แนวทางการคัดเลือกหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับกระทรวงฯ
แนวทางการคัดเลือกหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับกระทรวงฯ

เปิดอ่าน 10,593 ครั้ง
Powerpoint บรรยายพิเศษ ดร.ชัยพฤษ์ เสรีรักษ์ ปลัดศธ. ในโครงการพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
Powerpoint บรรยายพิเศษ ดร.ชัยพฤษ์ เสรีรักษ์ ปลัดศธ. ในโครงการพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

เปิดอ่าน 17,318 ครั้ง
ดาวน์โหลดคลิป "Youtube" โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม
ดาวน์โหลดคลิป "Youtube" โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม
เปิดอ่าน 9,026 ครั้ง
เชื้อ "ดื้อยา" อันตรายใกล้ตัว
เชื้อ "ดื้อยา" อันตรายใกล้ตัว
เปิดอ่าน 11,581 ครั้ง
รักต้องเปิด (แน่นอก ) เวอร์ชั่นนี้ ฮาระเบิดระเบ้อ!
รักต้องเปิด (แน่นอก ) เวอร์ชั่นนี้ ฮาระเบิดระเบ้อ!
เปิดอ่าน 7,893 ครั้ง
4 ขั้นตอน วิธีปลูกผักสลัดลงดิน สีสันน่ากิน ปลูกง่าย
4 ขั้นตอน วิธีปลูกผักสลัดลงดิน สีสันน่ากิน ปลูกง่าย
เปิดอ่าน 25,451 ครั้ง
Download เอกสารหนังสือ "ครูดีในดวงใจ พ.ศ.2561"
Download เอกสารหนังสือ "ครูดีในดวงใจ พ.ศ.2561"

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ