ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3P Model สาวิตรี สิทธิชัยกานต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดสมรโกฏิ(อยู่พูนราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เ

รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3P Model

สาวิตรี สิทธิชัยกานต์

ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดสมรโกฏิ(อยู่พูนราษฎร์บำรุง)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

ส่วนนำ

การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคน สร้างสังคม และสร้างชาติ เป็นกลไกหลักในการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุขในกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกศตวรรษที่ 21 เนื่องจากการศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบของประเทศเพื่อการแข่งขันและยืนหยัดในเวทีโลกภายใต้ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นพลวัต ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญและทุ่มเทกับการพัฒนาการศึกษาเพี่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตนให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภูมิภาคและของโลกควบคู่กับการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ , 2560) นานาอารยะประเทศต่างให้ความสนใจและตระหนักดีว่า รากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ คือ การพัฒนาทางด้านการศึกษาให้กับพลเมืองทุกคน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ การบริการ การจัดการ การอุตสาหกรรม ถือว่า มีการแข่งขันกันสูงมาก มนุษย์เราจึงต้องเร่งพัฒนาตนเอง โดยต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถแสวงหาความรู้ รวมทั้งเลือกใช้ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ยุทธศาสตร์สำคัญที่หลายประเทศใช้เพี่อความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ การปฏิรูปการศึกษาโดยเชื่อว่ามนุษย์เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ (วัชรา เล่าเรียนดี , 2556)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 วรรคสี่ กำหนดไว้ว่าการศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มาตรา 258 (3) กำหนดไว้ว่า ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ได้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้ง มีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู และ (4) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพี่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , 2560) การศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคนที่รัฐต้องจัดให้เพี่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน เพื่อเป็นต้นทุนทางปัญญาที่สำคัญในการพัฒนาทักษะคุณลักษณะและสมรรถนะในการประกอบสัมมาชีพและการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุขอันจะนำไปสู่เสถียรภาพและความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติที่ต้องพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศในเวทีโลกท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกศตวรรษที่ 21 (กระทรวงศึกษาธิการ , 2560)

การนิเทศภายในสถานศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในอาชีพ มีขวัญและกําลังใจในการพัฒนาตนเองและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในทุกๆด้าน โดยต้องถือหลักการมีส่วนร่วมในการทำงานเน้นความร่วมมือร่วมใจกันในการดำเนินงานและใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ การนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นระบบของความร่วมมือกันของผู้บริหารสถานศึกษาและครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา โดยการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือครูหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้ปรับปรุงวิธีสอนการวัดผลประเมินผลให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของการจัดการศึกษาทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้รับการนิเทศได้รับการพัฒนาวิชาชีพ มีความพึงพอใจ มีกำลังใจที่จะพัฒนาการเรียนการสอนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น จนส่งผลให้สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง (ธเนศ ขำเกิด , 2555) หลักการสำคัญของการนิเทศภายในสถานศึกษา คือ จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามขั้นตอนกระบวนการนิเทศมีการปฏิบัติการนิเทศอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผน ติดตาม ช่วยเหลืองานอย่างต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ มีการทำงานเป็นทีม ให้กำลังใจ แลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ที่ดียอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ชี้แนะกระตุ้นให้ผู้รับการนิเทศได้พัฒนาตนเอง ให้โอกาสได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่และใช้ศักยภาพของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แนวทางในการนำพาและร่วมมือกับครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ให้สูงขึ้น ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยนำหลักการนิเทศแบบมีส่วนร่วม พาครูคิดและพาครูพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนและช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น มีการปรับบทบาทของผู้นิเทศให้ฟังมาก พูดน้อย ใช้คำถาม สะท้อนการคิดบนพื้นฐานของข้อมูล ลดการบอกคำตอบ ไม่สั่งการใดๆ และยึดหลักผู้รับการนิเทศ คือ เพื่อนร่วมเรียนรู้ตามเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด โดยใช้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานวัตกรรมบนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริงในพื้นที่การปฏิบัติงานหรือในห้องเรียน ซึ่งทั้ง ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศจะวิเคราะห์สภาพปัญหาร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการนิเทศภายใน มีการดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกันผ่านกระบวนการ (P – A – O - R) ตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart (1988 , อ้างถึงในสมุทร สมปอง, 2558) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการวางแผน เริ่มต้นด้วยการสำรวจปัญหาที่ต้องการให้มีการแก้ไข ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนด้วยกันสำรวจสภาพปัญหา วิเคราะห์สภาพปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการหาโครงสร้างของปัญหาอย่างมีระบบ ทบทวนแง่มุมของปัญหา วิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งซึ่งจะทำให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจน 2) ขั้นการปฏิบัติการ เป็นการกำหนดแนวคิดที่กำหนดเป็นกิจกรรมในขั้นวางแผนมาดำเนินการ เมื่อลงมือปฏิบัติต้องใช้การวิเคราะห์วิจารณ์ ประกอบไปด้วย โดยรับฟังจากผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งจากการปฏิบัติจะเป็นข้อมูลย้อนกลับว่าเมื่อดำเนินการตาม แผนที่วางไว้นั้นปฏิบัติได้ดีมากน้อยเพียงใด มีอุปสรรค อย่างไรบ้างในการปฏิบัติดังนั้น แผนงานที่กำหนดไว้อาจจะยืดหยุ่น โดยผู้วิจัยต้องใช้วิจารณญาณ และการตัดสินใจที่เหมาะสม และมุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตามขั้นตอนที่วางไว้ 3) ขั้นการสังเกต เป็นขั้นที่ขณะวิจัยมีการดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางไว้ต้องมีการสังเกตควบคู่ไปด้วย พร้อมจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่คาดหวังและไม่คาดหวัง โดยสิ่งที่สังเกต ก็คือ กระบวนการปฏิบัติการ และผลของการปฏิบัติการ การสังเกตนี้จะรวมถึงการรวบรวมผลการปฏิบัติที่เห็นด้วยตา การได้ฟัง การได้ใช้ เครื่องมือเชาว์แบบทดสอบ เป็นต้น ซึ่งขณะที่การปฏิบัติการวิจัยกำลังดำเนินการไปควบคู่กับการสังเกตผลการปฏิบัติควรใช้เทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมมาช่วยในการรวบรวมข้อมูลด้วย 4) ขั้นการสะท้อนผล คือ การประเมินหรือตรวจสอบกระบวนการ ปัญหาหรืออุปสรรคต่อการปฏิบัติการ ซึ่งผู้วิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องตรวจสอบกระบวนการ ปัญหา หรืออุปสรรคต่อการปฏิบัติการ และปัญหาที่เกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ โดยผ่านการอภิปรายปัญหา ซึ่งจะได้แนวทางของการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและเป็นพื้นฐานข้อมูลที่นำไปสู่การปรับปรุงและวางแผนการปฏิบัติต่อไป โดยวงจร 4 ขั้นตอน ดังกล่าว จะมีลักษณะการดำเนินการเป็นขั้นบันไดเวียน (Spiral) การทำซ้ำตามวงจรจนกว่า จะได้ผลและแสดงให้เห็นแนวทางหรือรูปแบบปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ศึกษานั้น

หลักการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีหลักการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมมือ มีภาวะผู้นำ เป็นกัลยาณมิตร การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรไปในทางที่ดี และมีการเรียนรู้พัฒนาวิชาชีพ จากแนวคิดดังกล่าว ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาจำเป็นต้องมีทีมหรือคณะทำงานที่มีแนวคิด ปัญหาและความสามารถในบริบทของผู้เรียนในระดับเดียวกัน เข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละรายบุคคล (เกศทิพย์ ศุภวานิช, 2560) โดยยึดหลักที่มีจุดประสงค์ในการแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีการร่วมมือร่วมพลัง มีภาวะผู้นำ กัลยาณมิตร การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ มีการเรียนรู้ร่วมกันและ จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นชุมชนชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพร่วมกัน (Hord and Bolam , 2008 อ้างถึงใน บังอร เสรีรัตน์, ชาริณี ตรีวรัญญู และเรวณี ชัยเชาวรัตน์ , 2558) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา จะช่วยลดความโดดเดี่ยวในการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพิ่มความผูกพันและกระตุ้นความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จะเข้าใจวิธีการสอน รูปแบบเทคนิคการจัดการเรียนรู้ให้แตกฉาน แล้วนำแนวทางที่ได้จากคำแนะนำในชุมชนแห่งหารเรียนรู้ไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ส่วนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้ดำเนินการจัดจะเข้าร่วมอย่างเต็มใจ ร่วมสร้างบรรยากาศเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและลดอัตราการตกซ้ำชั้นของผู้เรียน ซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้อีกด้วย กล่าวโดยสรุป คือ PLC มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพที่มีหน้างานสำคัญ คือ ความรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันเป็นกำลังสำคัญที่มุ่งพัฒนาการของผู้เรียน ดังนั้น การพัฒนาโรงเรียนโดยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จึงเป็นการดำเนินการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ใหม่ที่ส่งผลต่อความเชื่อ ค่านิยมและเจตคติภายในโรงเรียน ให้ดีขึ้น ด้วยการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร

เนื้อหาสาระ

รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3P Model เป็นกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่นำหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ของนักการศึกษามาพัฒนาในเกิดเป็นกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่เป็นระบบเพื่อให้โรงเรียนและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำรูปแบบไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย แนวคิดการนิเทศแบบมีส่วน กระบวนการ (PAOR) และเทคนิคการจัดการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

1. การนิเทศแบบมีส่วนร่วม เป็นการนิเทศโดยใช้กระบวนการแบบ ร่วมมือ ร่วมพัฒนาและร่วมกันปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จ ระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เพื่อพัฒนาให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ รุ่งรัชชาพร เวหะชาติ (2557) ได้กล่าวถึงการนิเทศแบบมีส่วนร่วมว่าเป็นการนิเทศที่ให้ความสำคัญต่อการร่วมแก้ปัญหา ร่วมหาแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงการเรียนการสอน ตามวิถีประชาธิปไตยด้วยความเหมาะสมตามสถานการณ์ และยึดหลักการพึ่งพากันระหว่าง ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ โดยอัญชลี ธรรมะวิธีกุล (2553) ได้เสนอแนวทางการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ไว้ดังนี้ องค์ประกอบของการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศ เนื้อหาสาระที่นิเทศ และรูปแบบของการนิเทศ การนิเทศแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการนิเทศแบบร่วมมือร่วมพัฒนา การร่วมหาแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงการเรียนการสอนโดยมีการจัดตั้งคณะทำงานตามนโยบาย แผนงานและโครงการในรูปแบบแผนปฏิบัติการประจำปี จนถึงการประเมินผลการนิเทศ ความพึงพอใจของผู้เรียน/ผู้รับบริการและคุณภาพของการจัดการศึกษา ซึ่งสามารถนำแนวคิดการมีส่วนร่วมมาใช้ในดำเนินการนิเทศภายในที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ 3P MODEL ในส่วนของ P ตัวที่ 1 Participation การมีส่วนร่วม คือ การทำงานร่วมกัน บุคลากรในโรงเรียนรับรู้เข้าใจ มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาแนวทางแก้ไข ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอำนวยความสะดวก ผู้ให้การช่วยเหลือ ชี้แนะ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครู มีการวางนโยบายและเป้าหมายของการนิเทศภายในที่ชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งโรงเรียน

2. กระบวนการ PAOR เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และตีความหมายอย่างมีระบบและยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เฉพาะ รวมถึงการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นหรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ วัฒนา ก้อนเชื้อรัตน์ (2556) กล่าวถึงกระบวนการ PAOR โดยมีขั้นตอนการทำงานเป็นวงจรต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) P การวางแผน กลยุทธ์ 2) A การปฏิบัติ 3) O การสังเกต และ4) R การสะท้อนผลเชิงวิพากษ์จากตนเองและเพื่อนร่วมงานผลที่ได้นำไปปรับแผนเข้าสู่วงจรใหม่จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่แก้ไขปัญหาได้จริงหรือพัฒนาสภาพการณ์ของสิ่งที่ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบจรรยาบรรณที่ยอมรับกัน สุวิมล ว่องวาณิช (2560) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของกระบวนการ PAOR ส่งผลให้ครูผู้สอนได้พัฒนาตนเองเกิดกระบวนการทำงานที่เป็นระบบมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ทำให้ปัจจุบันในหลายองค์กรมีการนำกระบวนการ PAOR มาใช้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถนำกระบวนการ PAOR มาใช้ในดำเนินการนิเทศภายในที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3P MODEL ในส่วนของ P ตัวที่ 2 PAOR คือ การวางแผนการปฏิบัติงาน (P) โดยร่วมกันกำหนดประเด็นในการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับเป้าหมายการนิเทศภายในที่วางไว้ วางแผนการดำเนินการและกำหนดบทบาทหน้าที่ในการนิเทศภายใน การปฏิบัติการ (A) ดำเนินการสร้างคู่มือและแบบนิเทศภายใน ชี้แจงทำความเข้าในเกี่ยวกับการใช้คู่มือและแบบนิเทศภายในให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์ (O) ดำเนินการนิเทศภายในโดยการสังเกตการจัดการเรียนรู้ บันทึกสิ่งที่พบให้ครอบคลุมตามแบบนิเทศภายใน บันทึกข้อสังเกตสำคัญที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้สังเกตพฤติกรรม อารมณ์ของนักเรียนที่สะท้อนจากการจัดการเรียนรู้ของครูโดยละเอียด และการสะท้อนผล (R) โดยการนำผลการสังเกตมาสะท้อนให้ผู้รับการนิเทศได้รับทราบเพื่อหาจุดเด่นและจุดควรพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู

3. Professional Learning Community (PLC) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถตามศักยภาพของบุคคลนั้น โดยให้กลุ่มบุคคลเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง และสร้างความเชื่อมั่นหรือความมั่นใจให้กับบุคคลนั้น และต่อมาโรงเรียนในหลายๆ ประเทศได้นำ Professional Learning Community (PLC) เป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อพัฒนาครูให้มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสู่การจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีประสิทธิผลนั่นเอง นริส ภูอาราม (2560) ได้ให้แนวคิดว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าการสอนของครู การทำงานร่วมกันในชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ร่วมทีมจำเป็นต้องร่วมกันกำหนดบทบาทใหม่ที่เหมาะสมของครู ทุกคนจำเป็นต้องสร้างความตระหนัก และให้มุมมองใหม่ต่อสาธารณชนและวงการวิชาชีพครู เน้นย้ำและเห็นคุณค่าของความจำเป็นต้องพัฒนาครูให้มีความเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น เสถียร อ่วมพรหม (2560) กล่าวว่า เหตุผลที่องค์กรจำเป็นที่ต้องมีการเรียนรู้ เนื่องมาจากระดับคุณภาพของการปฏิบัติงานและต้องมีการปรับปรุงงานอยู่เสมอ ต้องอาศัย การเรียนรู้เป็นฐานที่สำคัญยิ่งซึ่งสามารถนำแนวคิดของชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพ มาใช้ในดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ 3P MODEL ในส่วนของ P ตัวที่ 3 PLC คือ ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมเสนอแนวทาง ร่วมแสดงความคิดเห็นในการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขหรือพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ได้รับการสะท้อนจากนิเทศภายใน มีการช่วยเหลือประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จูงใจให้ครูปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและเกิดการพัฒนาสูงสุด

จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น สามารถสร้างรูปแบบการนิเทศภายสถานศึกษาที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3P Model ดังนี้

ภาพที่ 1 รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3P Model

รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3P Model เป็นกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่เป็นระบบ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ

1. หลักการและเหตุผล

เป็นการนิเทศที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้และทำงานอย่างเป็นระบบ โดยการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ

2. วัตถุประสงค์การนิเทศ

เพื่อให้ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และ ร่วมรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน

3. การนิเทศโดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ

3.1 การนิเทศโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม (Participation) เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มุ่งเน้นให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ มีการวางนโยบายและเป้าหมายของการนิเทศภายในที่ชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งโรงเรียน มีองค์ประกอบ ดังนี้

3.1.1 บุคลากรทุกคนในโรงเรียนรับรู้เข้าใจ ต้องการและยินดีเข้าร่วมกิจกรรม

3.1.2 ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากร ในโรงเรียนและผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียนในการวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาแนวทางแก้ไข

3.1.3 ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอำนวยความสะดวก ผู้ให้การช่วยเหลือ ชี้แนะ และให้ข้อมูลป้อนกลับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และความมั่นใจในการทำงานร่วมกัน

3.1.4 มุ่งเปลี่ยนแปลงทั้งความรู้ ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด การนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน รวมทั้ง เจตคติที่ดีต่อการสอนเพื่อพัฒนาการคิดของผู้เรียน

3.1.5 การพัฒนาครูจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเว้นระยะเวลาการทำกิจกรรมต่างๆ ของรูปแบบพอสมควร เพื่อให้ครูได้มีโอกาสทบทวนความรู้ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเอง

3.2 ดำเนินการนิเทศภายในด้วยกระบวนการ PAOR ดังนี้

3.2.1 การวางแผนการปฏิบัติงาน (P) โดยร่วมกันกำหนดประเด็นในการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับเป้าหมายการนิเทศภายในที่วางไว้ วางแผนการดำเนินการและกำหนดบทบาทหน้าที่ในการนิเทศภายใน

3.2.2 การปฏิบัติการ (A) ดำเนินการสร้างคู่มือและแบบนิเทศภายใน ชี้แจงทำความเข้าในเกี่ยวกับการใช้คู่มือและแบบนิเทศภายในให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

3.2.3 การสังเกตการณ์ (O) ดำเนินการนิเทศภายในโดยการสังเกตการจัดการเรียนรู้ บันทึกสิ่งที่พบให้ครอบคลุมตามแบบนิเทศภายใน บันทึกข้อสังเกตสำคัญที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้สังเกตพฤติกรรม อารมณ์ของนักเรียนที่สะท้อนจากการจัดการเรียนรู้ของครูโดยละเอียด

3.2.4 การสะท้อนผล (R) โดยการนำผลการสังเกตมาสะท้อนให้ผู้รับการนิเทศได้รับทราบเพื่อหาจุดเด่นและจุดควรพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู

3.3 ใช้เทคนิคการจัดการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมเสนอแนวทาง ร่วมแสดงความคิดเห็นในการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขหรือพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ได้รับการสะท้อนจากนิเทศภายใน มีการช่วยเหลือประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จูงใจให้ครูปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและเกิดการพัฒนาสูงสุด มีองค์ประกอบ ดังนี้

3.3.1 วิสัยทัศน์ร่วมกัน คือร่วมวางแผนทิศทางการดำเนินงาน มีการตั้งเป้าหมายต่อการปฏิบัติงาน และร่วมตรวจสอบภารกิจในการดำเนินงาน

3.3.2 ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถตามแนวทางที่ตั้งไว้ร่วมกัน และเข้าร่วมประเมินการปฏิบัติงานของเพื่อนครู

3.3.3 ภาวะผู้นำ แนะนำการปฏิบัติตนที่ดีให้กับเพื่อนครู โน้มน้าวให้เพื่อนครูเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ช่วยประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จูงใจให้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูในการประสานงานให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง เต็มใจปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย สนับสนุนการปฏิบัติงานของเพื่อนครู ตามความต้องการของ แต่ละบุคคล และโน้มน้าวให้เพื่อนครูความสมัครใจ ต่อการดำเนินงาน

3.3.4 เป็นกัลยาณมิตร มีความสนิทสนมกับเพื่อนครูในโรงเรียน มีแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นชุมชนแห่งความสุข ร่วมแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงานได้อย่างอิสระ ใช้คำพูดในการให้คำปรึกษาเพื่อนครูอย่างจริงใจ สนับสนุนให้เพื่อนครูใช้ความสามารถของตนเอง อย่างเต็มความสามารถ ร่วมแนะนาข้อบกพร่องของเพื่อนครูเพื่อปรับปรุงคุณภาพในการปฏิบัติงาน ร่วมสร้างบรรยากาศที่ดีในเข้าร่วม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ร่วมสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของเพื่อนครู และเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตน

3.3.5 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร มีการทำงานเป็นทีมตามบริบทของสถานศึกษา ที่ได้กำหนดร่วมกัน ปรับเปลี่ยนสถานศึกษาเป็นสังคมที่มีความช่วยเหลือ เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนครูในการปฏิบัติงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปฏิบัติงานให้เป็นระบบเพื่อให้สถานศึกษาดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน ให้ทุกคนมีสิทธิ์เสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมมีความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา และได้รับความช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน ที่มีความยากจากเพื่อนครู

3.3.6 การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ โดยร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ตามความสามารถที่ตนถนัด ใช้ความสามารถของตนในการพัฒนาสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีความอดทนต่อการแก้ปัญหา เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานร่วมกัน

บทสรุป

รูปแบบการนิเทศภายสถานศึกษาที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3P Model เป็นขั้นตอนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม การดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เพื่อให้เกิดความรัก ความนับถือและความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันในการพัฒนางานการสอน มีการประสานความร่วมมือกันในการจัดระเบียบวิธีการทำงานที่เป็นระบบโดยการร่วมมือกันทุกฝ่าย ใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานร่วมกันให้การปฏิบัติงานดำเนินการเป็นไปอย่างเรียบร้อย เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ออกแบบวางแผนใช้กลยุทธ์ในการปฏิบัติการร่วมกันเพื่อการนิเทศที่มีประสิทธิภาพทำให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้ครูได้รับความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้และการนิเทศการสอนที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนเรียนรู้และการนิเทศการสอน ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงจากสื่อหรือแหล่งเรียนรู้นักเรียนได้ฝึกคิดเพื่อแก้ปัญหาได้จริง อีกทั้งการที่ครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศได้ร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน จะทำให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการนิเทศร่วมกัน มีการนำผลการนิเทศมาสะท้อนผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้การจัดการเรียนรู้สามารถพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี

รายการอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกศทิพย์ ศุภาวานิช (ผู้บรรยาย). (8 เมษายน 2560). ทิศทางการศึกษาไทยในอนาคต Professional Learning Community: PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผู้นำกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. โรงแรมโฆษิตฮิลล์ : เพชรบูรณ์.

ธเนศ ขำเกิด. (2555). “คุยเฟื่องเรื่องนิเทศ 1 : นิเทศการศึกษานั้นสำคัญไฉน?”.

วิทยาจารย์. 112(1), 25 – 27 พฤศจิกายน.

บังอร เสรีรัตน์ ชาริณี ตรีวรัญญู และเรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). 9 วิธีสร้างครูสู่ศิษย์ : เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางการพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับคณะทำงาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5).

บริษัท นำศิลป์ สงขลา : โฆษณาจำกัด.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี

กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมุทร สมปอง.(2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียน

ประถมศึกษา : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.

กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนปฏิบัติราชการ 4 ป ของสำนักงานเลขาธิการสภา

การศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

โพสต์โดย สาวิตรี สิทธิชัยกานต์ : [11 มี.ค. 2567 (19:31 น.)]
อ่าน [1136] ไอพี : 124.120.19.81
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 18,665 ครั้ง
เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับน้ำตาลในผัก
เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับน้ำตาลในผัก

เปิดอ่าน 8,279 ครั้ง
ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?

เปิดอ่าน 20,162 ครั้ง
"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้
"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้

เปิดอ่าน 13,225 ครั้ง
การเลี้ยงไก่ไข่
การเลี้ยงไก่ไข่

เปิดอ่าน 23,024 ครั้ง
ดาวน์โหลดสื่อวิดีทัศน์ ชุด "กายบริหารหน้าเสาธง"
ดาวน์โหลดสื่อวิดีทัศน์ ชุด "กายบริหารหน้าเสาธง"

เปิดอ่าน 9,455 ครั้ง
เคล็ดลับขายของออนไลน์อย่างไรไม่ขาดทุน
เคล็ดลับขายของออนไลน์อย่างไรไม่ขาดทุน

เปิดอ่าน 18,179 ครั้ง
กินลูกเดือยต้านมะเร็ง
กินลูกเดือยต้านมะเร็ง

เปิดอ่าน 50,429 ครั้ง
พรบ.ครู(ฉบับที่2) 2551 มีผล 21 กุมภาพันธ์ 2551
พรบ.ครู(ฉบับที่2) 2551 มีผล 21 กุมภาพันธ์ 2551

เปิดอ่าน 103,860 ครั้ง
ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่
ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่

เปิดอ่าน 10,908 ครั้ง
ทำไมจึงตื่นเต้นกันนักหนาเมื่อญี่ปุ่นค้นพบ แหล่งแร่โลหะหายาก ที่เกาะมินามิโตริ โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
ทำไมจึงตื่นเต้นกันนักหนาเมื่อญี่ปุ่นค้นพบ แหล่งแร่โลหะหายาก ที่เกาะมินามิโตริ โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

เปิดอ่าน 25,048 ครั้ง
ความศักดิ์สิทธิ์ของ "หลวงพ่อทันใจ" วัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่
ความศักดิ์สิทธิ์ของ "หลวงพ่อทันใจ" วัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่

เปิดอ่าน 17,612 ครั้ง
การวัดมุมในระนาบดิ่ง
การวัดมุมในระนาบดิ่ง

เปิดอ่าน 14,887 ครั้ง
"ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไกลแค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือครู" ปาถกฐาพิเศษ รศ.นราพร จันทร์โอชา เรื่องการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม
"ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไกลแค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือครู" ปาถกฐาพิเศษ รศ.นราพร จันทร์โอชา เรื่องการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม

เปิดอ่าน 14,872 ครั้ง
ไฟล์ภาพ"GIF" อ่านว่า "จิฟ" ไม่ใช่"กิฟ!"
ไฟล์ภาพ"GIF" อ่านว่า "จิฟ" ไม่ใช่"กิฟ!"

เปิดอ่าน 45,665 ครั้ง
มารู้จักชื่อและหลักเกณฑ์การกำหนดเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหารกันบ้าง โดย พล.ท.ทวี แจ่มจำรัส
มารู้จักชื่อและหลักเกณฑ์การกำหนดเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหารกันบ้าง โดย พล.ท.ทวี แจ่มจำรัส

เปิดอ่าน 15,294 ครั้ง
โรงเรียนสุขภาวะตอบโจทย์ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
โรงเรียนสุขภาวะตอบโจทย์ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
เปิดอ่าน 18,902 ครั้ง
การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน
การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน
เปิดอ่าน 13,569 ครั้ง
ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน
ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน
เปิดอ่าน 15,698 ครั้ง
รวมรายชื่อสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2507 ถึง 2557
รวมรายชื่อสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2507 ถึง 2557
เปิดอ่าน 13,572 ครั้ง
ลูกบาศก์ของรูบิค
ลูกบาศก์ของรูบิค

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ