Advertisement
Advertisement
คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์
โดย พิชญ์พจี สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย)
ปีใหม่แล้วมีคำถามเรื่องการสำรวจความผูกพันของพนักงานเข้ามามาก เนื่องจากกระบวนการสำรวจความผูกพันในองค์กรนั้น ก็เหมือนกระบวนการตรวจสุขภาพประจำปีกล่าวคือ การสำรวจความผูกพันในองค์กรเป็นการสำรวจเพื่อให้ทราบจุดที่อาจเป็นปัญหาในองค์กรจากมุมมองของพนักงาน เช่น มีความเข้าใจเป้าหมายร่วมขององค์กรแค่ไหน ประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรเป็นอย่างไร
ภาวะผู้นำในองค์กรและประสิทธิภาพของหัวหน้างานเป็นอย่างไร (ดีหรือแย่แค่ไหน) เป็นต้น
ดิฉันเรียนลูกค้าเสมอว่า การสำรวจความผูกพันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการสร้างความผูกพันในองค์กร ถ้าองค์กรไม่นำผลการสำรวจไปดำเนินการต่อ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ขั้นตอนที่ยากและใช้เวลาที่สุดไม่ใช่การสำรวจความผูกพัน แต่เป็นการกำหนดแผนการดำเนินการต่อเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อให้พนักงานเขารู้สึกว่าบริษัทพูดจริง ทำจริง รู้ผลแล้วแก้ไขให้ พนักงานก็จะเกิด Trust ในองค์กรและผู้นำ
บริษัททาวเวอร์ส วัทสัน ได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง และพบว่าความผูกพันในองค์กรเกิดจากผู้นำองค์กร, ทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กร และวัฒนธรรมในองค์กร โดยท้ายที่สุดถ้าทำได้ดีจะมีผลกับผลงานด้านการเงิน และผลงานโดยรวมขององค์กร โดยมีหลักการดังนี้
1.ผู้นำองค์กร, ทิศทาง และกลยุทธ์ขององค์กร และวัฒนธรรมในองค์กร เป็นปัจจัยหลัก และผลักดันให้เกิดความผูกพันในองค์กร เพราะฉะนั้น องค์กรต้องมีความชัดเจนของทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กร ตลอดจนวัฒนธรรมในองค์กร โดยผู้ที่จะสื่อสารเรื่องดังกล่าวคือผู้นำในองค์กรนั่นเอง
2.ต้องมีการสร้างความผูกพันในองค์กร ซึ่งตามหลักการของทาวเวอร์ส วัทสัน เราเรียกโมเดลการสร้างความผูกพันอย่างยั่งยืนว่า "3 E" ที่ประกอบด้วยโมเดลดังนี้คือ
E-Engaged (สร้างความผูกพัน) หมายถึงการที่พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร เพราะ "เชื่อ" ในแนวทางและเป้าหมายขององค์กร ทำให้เกิดความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งและพร้อมจะทำงานหนักเพื่อองค์กร
E-Enabled (ขจัดอุปสรรค) หมายถึงการที่พนักงานผูกพันอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอถ้าองค์กรไม่ช่วยขจัดปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ช่วยพัฒนาพนักงาน (ให้มีทักษะ) และให้เครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อให้ทำงานได้ดี (โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเกินไปจนท้อ)
ดิฉันมีตัวอย่างองค์กรหนึ่งที่พบนะคะ เป็นองค์กรเก่าแก่ พนักงานรักองค์กรมาก อยู่กันมาเหมือนครอบครัวใหญ่ พร้อมทำงานหนัก แต่มีปัญหาในการทำงานมาก โดยที่บริษัทไม่ได้ช่วยขจัดปัญหา อุปสรรคในการทำงานเลย
พนักงานมีงานเอกสารเยอะมากที่ต้องตรวจ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ไม่พร้อม ต้องใช้คนตรวจ กระทบยอดทุกวัน ทั้งพนักงานยังกลับบ้านดึก ๆ ทุกวัน เป็นอย่างนี้ตลอด ต่อให้พนักงานผูกพันขนาดไหนก็ไปไม่รอดหรอกค่ะ
E-Energized (สร้างพลัง) หมายถึงบริษัทต้องดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานให้ดีด้วย เพื่อให้เขามีพลังในการทำงาน เพราะเราเชื่อว่าถ้าพนักงานมีพลังจะทำงานได้ Productive มากขึ้น
3.เมื่อทุกอย่างชัดเจน ผู้นำเข้าใจ และหมั่นสื่อสาร องค์กรมีแนวทางในการสร้างความผูกพันในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นคือ ผลงานขององค์กรจะดีขึ้น
โดยจากการวิจัยเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่มีความผูกพันของพนักงานสูงและต่ำพบว่า บริษัทที่พนักงานมีความผูกพันสูงอัตราการเจริญเติบโตด้านการเงิน (ในช่วงเวลา 1 ปี) และด้านธุรกิจในภาพรวม (ในช่วงเวลา 3 ปี) จะสูงกว่าบริษัทที่พนักงานมีความผูกพันต่ำ
ก่อนจบมีเคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับการสำรวจความผูกพันของพนักงานฝากไว้นะคะ
เคล็ดลับที่ 1 - การดำเนินการสำรวจ ต้องทำให้พนักงานมีความเชื่อมั่นในบรรยากาศที่เป็นความลับหมายความว่า ทำอย่างไรให้พนักงานมีความมั่นใจที่จะให้ข้อมูลที่เป็นความจริง (โดยบริษัทไม่รู้ว่าใครเป็นคนให้ข้อมูล) และมีความสมัครใจที่จะให้ข้อมูล
เรื่องนี้สำคัญมากเพราะถ้าเราสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานไม่ได้ จำนวนพนักงานที่ตอบแบบสำรวจก็จะต่ำ และข้อมูลก็จะไม่น่าเชื่อถือ
เคล็ดลับที่ 2 - การสื่อสารวัตถุประสงค์ในการสำรวจ ต้องสื่อสารให้พนักงานเห็นประโยชน์ต่อเขาในการให้ข้อมูลนี้ เช่น เพื่อการพัฒนาขององค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาในองค์กร ซึ่งจะส่งผลดีต่อพนักงาน เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องสื่อสารอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่พบจะถูกจัดลำดับความสำคัญ และดำเนินการตามลำดับความสำคัญต่อองค์กรด้วย เพื่อป้องกันความคาดหวัง(มาก)ของพนักงาน บางครั้งเมื่อพนักงานตอบแบบสำรวจแล้วก็คิดว่าองค์กรจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เขาให้ความเห็นไป ซึ่งในความเป็นจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นในทุกกรณี
เคล็ดลับที่ 3 - การสื่อสารผลการสำรวจให้พนักงานทราบ และการดำเนินการวาง Action Plan เพื่อให้พนักงานเห็นว่าองค์กรให้ความสำคัญที่จะแก้ไขจริง ๆ บางองค์กรพอผลสำรวจออกก็ไม่สื่อสารให้พนักงานทราบ พนักงานก็รอจนเสียความรู้สึก พอปีถัดมาจะทำอีกพนักงานก็ไม่อยากทำแล้ว
เคล็ดลับที่ 4 - สำคัญที่สุดคือผู้บริหารทุกระดับในองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการสำรวจความผูกพัน และการดำเนินการต่อเพื่อให้การสร้างความผูกพันในองค์กรมีความต่อเนื่อง อย่าลืมว่าการสำรวจความผูกพันเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น
ที่สำคัญคือ หาสาเหตุของปัญหาและการดำเนินการต่อเพื่อแก้ไขปัญหานะคะ
ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
Advertisement
|
เปิดอ่าน 8,639 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,210 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,712 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,971 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,597 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,412 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,740 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,549 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,819 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,308 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,600 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,410 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,844 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,301 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,624 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 10,092 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 12,237 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,342 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,651 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 19,777 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 18,185 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 21,410 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 30,629 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,618 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,032 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 16,065 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 19,563 ครั้ง |
|
|