ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน


บทความการศึกษา 11 ก.พ. 2559 เวลา 05:41 น. เปิดอ่าน : 13,522 ครั้ง
ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน

Advertisement

โดย...วรรณโชค ไชยสะอาด

 

 

ภาพเด็กนักเรียนฟุบหลับ เท้าคาง ทำหน้าเบื่อหน่าย ถึงขั้นทนไม่ไหวลุกออกจากห้องก่อนเวลาอันควร ปรากฎให้เห็นอยู่บ่อยครั้งทุกช่วงมหกรรมการสอบแข่งขันระดับชาติ

ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ เว็บไซต์ของสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้ประกาศผลการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา สำหรับเด็กนักเรียนที่จะสอบตรงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ประจำปีการศึกษา 2559 ปรากฎว่า มีคะแนนเฉลี่ยผ่าน 50 % เพียงแค่วิชาเดียวคือภาษาไทย 50.65 % และต่ำสุดคือ คณิตศาสตร์ที่ 20.88 %

บรรดานักเรียนและผู้ปกครองต่างพร้อมใจกันเปล่งเสียงกันระงมว่า “ทำไมข้อสอบถึงยากเหลือเกิน”

3 ต้นตอเด็กทำข้อสอบไม่ได้

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อสอบยากนั้นมีด้วยกัน 3 ประการ คือ

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) พยายามออกแบบข้อสอบ ให้เด็กต้องรู้ลึกและรู้รอบ แต่วิธีการเรียนการสอนของเด็กกลับเป็นไปในลักษณะท่องจำ ซึ่งขัดแย้งกับวิธีวัดผล จึงไม่สามารถทำข้อสอบได้

สทศ. พยายามออกแบบยกระดับข้อสอบให้พ้นไปจากโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งโรงเรียนกวดวิชาก็พยายามดักทางข้อสอบเรื่อยๆ วนเวียนอยู่อย่างนี้ ปัญหาจึงตกอยู่กับเด็กที่พยายามวิ่งตามและเรียนอย่างหนักจนเกิดความกดดัน นอกจากนี้การให้ทำข้อสอบยากนั้นขัดกับนโยบายลดเรียนเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของกระทรวงการศึกษาด้วย

กลุ่มอาจารย์ส่วนใหญ่ที่ออกข้อสอบเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและโรงเรียนสาธิต ตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นั้นมีน้อยมาก พูดง่ายๆคนสอนไม่ได้สอบ คนสอบไม่ได้สอน ออกแบบโดยไม่ดูความแตกต่างเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กในเมืองและชนบท

"ความยากของข้อสอบ ทำให้เด็กไม่มีความสุข เครียด กดดัน และมีความทุกข์กับผลคะแนนที่ออกมา จนเริ่มตั้งคำถามว่าข้อสอบนั้นวัดศักยภาพที่แท้จริงของเขาได้หรือไม่ ผมมองว่าจุดเริ่มต้นของทางออกคือรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการต้องเป็นเจ้าภาพ นำ สทศ. สพฐ. มหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด มาร่วมกันหารืออย่างจริงจังเพื่อเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันให้ได้"

ไร้ความสอดคล้องระหว่างเรียนกับสอบ

หลายปีที่ผ่านมา เด็กนักเรียนจำนวนมากมักบ่นอยู่เสมอๆหลังเดินออกจากห้องสอบว่า เนื้อหามันยากเย็นเหลือเกิน ไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต

รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ รองคณบดี ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ชัดว่า ต้นตอของปัญหาคือความไม่สอดคล้องกันระหว่างหลักสูตรและการประเมินวัดผล ปัจจุบันโรงเรียนแต่ละแห่งสามารถเลือกเนื้อหาตำราเรียนเองได้ ทำให้ความลึกของแต่ละวิชาในแต่ละช่วงชั้นนั้นไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนหรือตายตัว ขอเพียงอยู่ภายใต้มาตรฐานแกนกลางที่กระทรวงกำหนดไว้กว้างๆ ความหลากหลายตรงนี้จึงนำไปสู่ปัญหาในการวัดผล

มาตรฐานการวัดผลภายในโรงเรียน ค่อนข้างสอดคล้องกับสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จากห้องเรียน แต่พอเป็นการวัดผลระดับประเทศ ข้อสอบกลางอย่างโอเน็ตจะพบปัญหาทันที เพราะระดับการสอนในห้องเรียนของแต่ละแห่งนั้นมีเนื้อหาระดับความลึกและความหลากหลายไม่เท่ากัน แต่กลับต้องมาเจอกับข้อสอบที่มีความลึกเหมือนกัน ทำให้เสี่ยงมากที่จะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จริงในห้อง พูดง่ายๆว่าคุณหลากหลายในการเรียน แต่สอบแบบเดียวกัน จนเกิดเป็นความลักลั่นไม่สอดคล้อง ตัวอย่างเช่นวิชาสังคมศึกษาที่ถามเรื่อง "นางจูฬสุภัททา" บางโรงเรียนไม่ได้เรียน บางโรงเรียนไม่รู้จักชื่อนี้เลยด้วยซ้ำ ไม่มีมาตรฐานของเนื้อหาตรงกลางที่ทุกคนรู้ว่าต้องสอนหรือเรียนอะไร เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เเละตราบใดที่คนออกข้อสอบยังเชื่อว่าเด็กทุกคนต้องรู้เเบบนี้เท่านั้น เสียงบ่นเรื่องข้อสอบก็ไม่มีวันจางหายไป”

รศ.ดร.ศิริเดช บอกว่า การเรียนพิเศษของเด็กถือเป็นเรื่องจำเป็นในปัจจุบัน ที่ผ่านมาเคยทำการวิจัยวิเคราะห์สิ่งที่ครูสอนกับสิ่งที่เด็กต้องไปสอบจริง พบว่า แทบไม่มีความสอดคล้องกันเลย ลำพังความรู้ที่เด็กได้รับจากโรงเรียนอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ซึ่งครูมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการสอน และอื่นๆอีกมากมาย จนทำให้ไม่สามารถสอนได้ในระดับโรงเรียนกวดวิชา   

"ผลของการแห่ไปเรียนพิเศษก็คือ ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนับวันจะยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนออกข้อสอบจะพยายามพัฒนาเนื้อหารูปเเบบให้เเตกต่างไปจากสำนักติว เนื่องจากหากออกข้อสอบด้วยความยากเท่าเดิม เด็กจะทำได้กันเยอะมาก และจำแนกไม่ออกว่าใครควรอยู่คณะไหน จนคะแนนขึ้นไปติดเพดาน ระบบนี้เด็กที่ได้เปรียบก็คือเด็กที่มีโอกาส โดยเฉพาะคนในเมือง พวกเขาวิ่งตามได้ แต่เด็กที่ด้อยโอกาสจำนวนมากในสังคม จะถูกถ่างโอกาสที่น้อยอยู่แล้วให้น้อยลงเรื่อยๆ”

Advertisement

ดร.ศิริเดช บอกว่า โจทย์หลักในการตั้งมาตรฐานความรู้ของนักเรียนเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องทบทวนให้ตรงกับวัตถุประสงค์หลักของการสอบโอเน็ต หรือการวัดผลมาตรฐานทางการศึกษา

มาตรฐานระดับความลึกของเนื้อหาเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องกลับมาตั้งหลักและทบทวน เพื่อแจ้งให้ผู้สอนและผู้เรียนได้ทราบว่า ความรู้ระดับไหนที่ชี้วัดว่าเป็นมาตรฐาน เเละมาตรฐานต้องเป็นขั้นต่ำไม่ใช่ขั้นสูง เพื่อเป็นการบ่งบอกว่า การจัดการศึกษาของประเทศทำให้เด็กมีการเรียนรู้ถึงเกณฑ์มาตรฐาน มันอาจทำให้เด็กบางโรงเรียนได้คะแนนสูงจำนวนมาก เเต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะแปลว่าพวกเขาได้มาตรฐาน ปัจจุบันคนออกข้อสอบมีความคิดว่าหากเด็กทำข้อสอบได้กันเยอะแปลว่าข้อสอบไม่ดี ซึ่งจริงๆเเล้วไม่ใช่ เราต้องมีมาตรฐานความลึกกลางๆ ถ้าเราไปหนีข้อสอบให้ห่างจากความรู้ที่เขาได้เรียนจริงในห้อง มันจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆอีกมากมาย เพราะสิ่งที่สอบกับสิ่งที่สอนมันตามกันไม่ทัน”

เลิกปลูกฝังระบบ"แพ้คัดออก"

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่าผู้ออกข้อสอบคงกำลังสะใจอย่างมากที่เห็นผู้แพ้เพิ่มมากขึ้น

ข้อสอบยากขึ้นทุกปีเพื่อหาผู้แพ้ให้ได้ คนออกข้อสอบคงสะใจมากที่เด็กทำข้อสอบไม่ได้ เห็นได้ชัดว่าความยากของข้อสอบนั้นเป็นปัญหาทุกปี มีสถานะอย่างนี้มาต่อเนื่องจนไม่เข้าใจว่าผู้ออกข้อสอบแกเมาหมัดหรืออย่างไร พอมีปัญหาก็ออกมาแถลงข่าวโน่นนั่นนี่ แต่ไม่เห็นการพัฒนาหรือยกระดับการศึกษาในปีถัดมาแต่อย่างไร ระบบแบบนี้ไม่มีเด็กคนไหนหรือผู้ปกครองคนใดอยากเป็นผู้แพ้  

ทางออกของเด็กๆคือ การหันหน้าพึ่งโรงเรียนกวดวิชากันอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเสียดายและขัดแย้งกับนโยบายของเจ้ากระทรวงอย่างพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการที่ประกาศว่า“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” จนกลายเป็นคำถามว่า พวกเราจะเดินไปสู่นโยบายที่ว่านั้นอย่างไร เมื่อระบบการเรียนการสอนไทยคือระบบแพ้คัดออก

ตัวอย่างเช่น เด็กคนหนึ่งเกรดเฉลี่ย4.00ได้คะแนนโอเน็ตเต็ม100แต่กลับไม่เคยคิดจะทำอะไรเพื่อส่วนรวม มีความเห็นแก่ตัวสูง กับเด็กอีกคนได้เกรดเฉลี่ย3.00กว่า โอเน็ตได้80คะแนน แต่เต็มร้อยกับกิจกรรมเพื่อส่วนร่วม เรื่องนี้ยังไม่เคยมีเจ้ากระทรวงท่านใดบอกว่าตกลงจะเลือกเด็กคนไหนขึ้นเป็นที่หนึ่งของประเทศ เราไม่เคยให้น้ำหนักความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับสังคม นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้จะเป็นผลได้อย่างไร

โรงเรียนบางแห่ง พ่อแม่จับกลุ่มเป็นก๊กเป็นเหล่า เมื่อคุณครูมอบหมายกิจกรรมให้ลูก กลุ่มพ่อแม่จะช่วยกันทำ เพื่อให้ลูกมีเวลาไปติวหนังสือ ผลคะแนนออกมาก็นำไปเกทับกับกลุ่มอื่นว่าลูกของฉันเก่งกว่า เรื่องแบบนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบแพ้คัดออกได้ส่งเสริมภาพสังคมแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น จนกลายเป็นความเห็นแก่ตัว"

นพ.สุริยเดว บอกว่า ถึงเวลาที่ผู้ออกข้อสอบต้องทบทวนตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่กับระบบและเด็กที่ไร้โอกาส ไม่มีพ่อแม่มานั่งซัพพอร์ต ไม่อย่างนั้นผู้แพ้จะกลายเป็นชนชั้นด้อยโอกาส และเพิ่มความเหลื่อมล้ำมากขึ้นในสังคม ทุกวันนี้เด็กที่เอาชนะระบบในปัจจุบันมากมายที่เอาตัวไม่รอดหรือขาดคุณภาพในการใช้ชีวิต เรียนเยอะจนไม่หลงเหลือเวลารู้เท่าทันสื่อ เพศศึกษา สุขภาวะหรือภัยพิบัติธรรมชาติ สอบได้คะแนนดีใช่ว่าจะการันตีคุณภาพในการใช้ชีวิตของคนผู้นั้น

 

นพ.สุริยเดว บอกว่า ระบบการเลื่อนชั้นสู่ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นต้องถูกปรับเปลี่ยน คล้ายกับระบบอุตสาหกรรมในภาคเอกชน เมื่ออยากได้วัตถุดิบที่ดีเพื่อสินค้ามีคุณภาพ การลงไปตรวจสอบคัดเลือกวัตถุดิบด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ

"ระดับอุดมศึกษาควรทำข้อตกลงจับมือกับระดับมัธยม ลงมาตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนด้วยตัวเอง เปลี่ยนการเรียนการสอนจากการนั่งเรียนหน้าชั้นไปสู่การถกเวทีอภิปรายเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการค้นคว้าหาความรู้ ทำให้ทุกคะแนนที่เขาได้เกิด มีที่มาจากความสามารถของตัวเอง ลงไปล้วงลูกเองแบบนี้ ท่านจะได้สินค้าที่คุณภาพ ค่อยๆพัฒนาจนเกิดพื้นที่การเรียนรู้ลักษณะนี้ ณ ปัจจุบันเราไม่เห็นฝั่ง ไม่เห็นอนาคตที่ดีในอีก10ข้างหน้า เด็ก ม.4วันนี้กำลังนั่งต้องอ่านหนังสือ ม.6 เรียนวิชาที่ไม่ตรงกับศักยภาพของตัวเอง”

ปัญหาข้อสอบยาก กลายเป็นปัญหาคลาสสิคในวงการศึกษาไทยที่สังคมพูดถึงเสมอในทุกฤดูกาลสอบ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

 

 

ขอบคุณที่มาจาก โพสต์ทูเดย์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559


ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียนชำแหละข้อสอบระดับชาติเพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)


เปิดอ่าน 7,925 ครั้ง
ครูพันธุ์ควอลิตี้

ครูพันธุ์ควอลิตี้


เปิดอ่าน 8,934 ครั้ง
ลดการสอบเพื่ออะไร ?

ลดการสอบเพื่ออะไร ?


เปิดอ่าน 9,714 ครั้ง
Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)

สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)

เปิดอ่าน 11,165 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การศึกษา...จากแนวราบ กลับสู่แนวดิ่ง
การศึกษา...จากแนวราบ กลับสู่แนวดิ่ง
เปิดอ่าน 12,124 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
เปิดอ่าน 16,948 ☕ คลิกอ่านเลย

ถอดความสำเร็จโครงการ Chevron Enjoy Science  ที่ต่อเติมพื้นที่ให้สะเต็มศึกษาเป็นเรื่องสนุก พร้อมปูทางสู่อนาคตประเทศ
ถอดความสำเร็จโครงการ Chevron Enjoy Science ที่ต่อเติมพื้นที่ให้สะเต็มศึกษาเป็นเรื่องสนุก พร้อมปูทางสู่อนาคตประเทศ
เปิดอ่าน 339 ☕ คลิกอ่านเลย

ครูไทย 4.0 ตอนที่ 1 : โดย ดิเรก พรสีมา อดีตประธานกรรมการคุรุสภา
ครูไทย 4.0 ตอนที่ 1 : โดย ดิเรก พรสีมา อดีตประธานกรรมการคุรุสภา
เปิดอ่าน 78,864 ☕ คลิกอ่านเลย

ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?
ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?
เปิดอ่าน 7,734 ☕ คลิกอ่านเลย

มิติใหม่การศึกษา ... เดินหน้า TEPE Online พัฒนา “ครู” สนับสนุน “ครูตู้” พัฒนาเด็กไทยอย่างเท่าเทียม
มิติใหม่การศึกษา ... เดินหน้า TEPE Online พัฒนา “ครู” สนับสนุน “ครูตู้” พัฒนาเด็กไทยอย่างเท่าเทียม
เปิดอ่าน 12,497 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีการปลูกผักชี
วิธีการปลูกผักชี
เปิดอ่าน 21,730 ครั้ง

คลิปการทดลองน่าทึ่ง เมื่อคนแปลกหน้าขอแบ่งของกินจากขอทาน
คลิปการทดลองน่าทึ่ง เมื่อคนแปลกหน้าขอแบ่งของกินจากขอทาน
เปิดอ่าน 9,646 ครั้ง

กระเทียม....เปี่ยมคุณค่า
กระเทียม....เปี่ยมคุณค่า
เปิดอ่าน 16,415 ครั้ง

เปิด4เมนูอาหารชุด นิยมใช้ตักบาตร ทำสงฆ์ป่วยสารพัดโรค
เปิด4เมนูอาหารชุด นิยมใช้ตักบาตร ทำสงฆ์ป่วยสารพัดโรค
เปิดอ่าน 12,915 ครั้ง

เศรษฐศาสตร์มนุษย์เงินเดือน
เศรษฐศาสตร์มนุษย์เงินเดือน
เปิดอ่าน 10,996 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ