ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผ่าแนวคิด "เอ็นทรานซ์" 4.0 ผสาน "เอ็นทรานซ์ - แอดมิชชัน"


ข่าวการศึกษา 30 ส.ค. 2559 เวลา 11:41 น. เปิดอ่าน : 8,236 ครั้ง
ผ่าแนวคิด "เอ็นทรานซ์" 4.0 ผสาน "เอ็นทรานซ์ - แอดมิชชัน"

Advertisement

กระทรวงศึกษาธิการมีแนวคิดกลับไปใช้ระบบคล้ายกับการเอ็นทรานซ์ อีกครั้ง โดยเรียกว่า การเอ็นทรานซ์ 4.0 โดยนักเรียนอยู่ชั้น ม.5 ในขณะนี้จะเป็นรุ่นแรกของระบบเอ็นทรานซ์ 4.0

การปรับรูปแบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือแอดมิชชัน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในขณะนี้จะเป็นรุ่นแรกที่ต้องผ่านการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยด้วยวิธีใหม่ในปีการศึกษา 2561 โดยเปลี่ยนจากระบบแอดมิชชัน เป็น ระบบที่อาจถูกเรียกว่า "เอ็นทรานซ์ 4.0" ซึ่งเป็นการสอบเพียงครั้งเดียวแล้วนำคะแนนไปเลือกคณะ 4 อันดับ โดยเลือกได้ 2 รอบ และมหาวิทยาลัยจะไม่มีการสอบรับตรง คือ ข้อมูลเท่าที่นักเรียนกลุ่มนี้พอจะทราบ แม้จะกังวลกับการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง แต่หลายคนเชื่อว่า น่าจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

นายธนนท์ ภู่ชัย นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี กล่าวว่า "การสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่มีข้อดีคือ เราจะรู้คะแนนก่อน แล้วจะเอาไปยื่นว่าเราจะเลือกคณะไหนโดยเลือกได้ 4 คณะ คือ พอเรารู้แล้วก็จะมีโอกาสเราก็เลือกซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับตัวเรา "

ด้าน น.ส.ภัทรปภา แสงทอง นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ระบุ "ถ้าเป็นการสอบรูปแบบแบบเก่าต้องมากังวลว่าต้องไปสอบวันไหนบ้าง มานั่งอ่านหนังสือไปด้วยเรียนไปด้วยก็ปวดหัว "

ขณะที่ นายเดชพลเดช ดวงทิพย์ นักเรียนชั้น ม.5 ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี "ความสบายใจก็สู้ระบบแอดมิดชันไม่ได้ เพราะว่าสอบได้แค่ครั้งเดียว แต่แอดมิดชันมีแยกแบบสอบตรง สอบตรงสบายใจก่อน แต่นี่ต้องมาเครียดกว่า"

ระบบ "เอ็นทรานซ์ 4.0" คือการผสมกันระหว่างเอ็นทรานซ์แบบเดิม กับ แอดมิชชัน ที่ใช้มาแล้ว 10 ปีเต็ม รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบายว่า ระบบใหม่ นักเรียนต้องจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้นเพื่อหวังแก้ปัญหาการสมัครสอบตรงและวิ่งรอกสนามสอบ ก่อนหน้านี้นักเรียนส่วนใหญ่จะสมัครสอบตั้งแต่ชั้น ม.5 เมื่อสอบติดเข้าสถาบันอุดมศึกษา ก็จะทิ้งการเรียนในชั้น ม.6

การจัดสอบระบบใหม่ยังคงสอบโอเน็ต เก็ต แพ็ท และวิชาบังคับ 9 วิชาไว้เหมือนเดิม แต่จัดสอบเพียงครั้งเดียวผ่านระบบกลางทั้งประเทศ ในช่วงเดือน มี.ค. โดยไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเปิดสอบด้วยตัวเองแต่สามารถกำหนดสัดส่วนคะแนนและกติกาการรับได้ เมื่อประกาศผลการสอบนักเรียนจะนำคะแนนที่ได้เทียบกับสัดส่วนของแต่ละคณะ เพื่อใช้เลือกคณะที่ต้องการและคิดว่ามีโอกาส 4 อันดับ หากพลาดโอกาสรอบแรก นักเรียนสามารถเลือกใหม่ได้อีก 4 อันดับ ในรอบที่ 2

"บางคนบอกสมัครแล้วมันพลาดทำยังไง หากพลาดมีโอกาสที่ 2 เนื่องจากหากมหาวิทยาลัย 4 แห่ง เลือกนักเรียนคนเดียวกัน โดยนักเรียนเลือก 1 มหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยอีก 3 แห่งจะเป็นช่องว่างในรอบที่ 1 โดยให้เป็นช่องว่างเพื่อที่จะเป็นรอบที่ 2 ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนที่เก่งน้อยกว่าจะมีสิทธิในการเลือกรอบที่ 2 โดยนักเรียนที่เก่งจะสอบติดไปหมดแล้ว ซึ่งนักเรียนที่สอบในรอบที่ 2 ก็จะมีโอกาสติดมหาวิทยาลัยที่ดีเหมือนกัน " ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ยอมรับว่า ระบบใหม่อาจไม่ช่วยแก้ปัญหากวดวิชาแต่ก็เชื่อว่าจะช่วยลดภาระการสอบและลดค่าใช้จ่าย ซึ่งทั้งระบบอาจเสียค่าใช้จ่ายเพียงไม่เกิน 2,000 บาทเท่านั้น เพราะนักเรียนจะทราบแนวทางล่วงหน้าว่า คณะที่ตนเองต้องการสมัคร เน้นสัดส่วนคะแนนใดเป็นหลัก จึงอาจไม่ต้องสอบในวิชาที่ไม่จำเป็น โดยสัดส่วนที่ว่านี้ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้มหาวิทยาลัยต้องจัดทำเป็นคู่มือระบุสัดส่วนการรับของแต่ละคณะ ให้เสร็จภายในเดือน เม.ย.ปี 2560 เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา เตรียมพร้อมเป็นเวลา 1 ปี ก่อนจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2561


ชมคลิปข่าว
 

ขอบคุณที่มาภาพ เนื้อหาและคลิปจาก ThaiPBS วันที่ 29 สิงหาคม 2559

 


ผ่าแนวคิด "เอ็นทรานซ์" 4.0 ผสาน "เอ็นทรานซ์ - แอดมิชชัน"ผ่าแนวคิดเอ็นทรานซ์4.0ผสานเอ็นทรานซ์-แอดมิชชัน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 622 ☕ 26 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
เปิดอ่าน 3,646 ☕ 26 เม.ย. 2567

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 622 ☕ 26 เม.ย. 2567

สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
เปิดอ่าน 1,307 ☕ 25 เม.ย. 2567

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
เปิดอ่าน 668 ☕ 25 เม.ย. 2567

การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
เปิดอ่าน 1,422 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
เปิดอ่าน 1,090 ☕ 25 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รูดซิป"กูเกิล ดูเดิล" เปิดประวัติ "กิเดียน ซุนด์แบกด์" ผู้ให้กำเนิด"ซิป"คนแรกของโลก
รูดซิป"กูเกิล ดูเดิล" เปิดประวัติ "กิเดียน ซุนด์แบกด์" ผู้ให้กำเนิด"ซิป"คนแรกของโลก
เปิดอ่าน 11,670 ครั้ง

ภัยร้ายรายวัน : อีเมลลวง !
ภัยร้ายรายวัน : อีเมลลวง !
เปิดอ่าน 7,788 ครั้ง

วิธีดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง
วิธีดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง
เปิดอ่าน 20,951 ครั้ง

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อสารเคมีหก
ข้อควรปฏิบัติ เมื่อสารเคมีหก
เปิดอ่าน 26,914 ครั้ง

รายละเอียดเกณฑ์วิทยฐานะ(ใหม่) ใช้บังคับ 1 ต.ค.51
รายละเอียดเกณฑ์วิทยฐานะ(ใหม่) ใช้บังคับ 1 ต.ค.51
เปิดอ่าน 52,968 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ