ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการ การเผยแพร่กลอนลำประกอบการแสดงเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพฯ นนตรีเสพประสมฟ้อนขับลำกลอนอวยพรเพิ่น
ผู้ประเมิน : บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
ผู้ร่วมประเมิน : รองศาตราจารย์สำเร็จ คำโมง
หน่วยงาน : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่กลอนลำประกอบการแสดงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ
พระเทพฯ นนตรีเสพประสมฟ้อนขับลำกลอนอวยพรเพิ่น ผู้ประเมินใช้แบบประเมินของเคริคแพททริกค์ (Kirkpatrict) ในขั้นตอนการประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง (reaction evaluation) เป็นแนวทางในการประเมินในโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินมีทั้งหมด 77 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ 25 คน นักแสดง 16 คน นิสิต/นักศึกษา 30 คน และบุคคลทั่วไป 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สร้างโดยผู้ประเมิน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผู้ชมการแสดงชุด นนตรีเสพประสมฟ้อนขับลำกลอนอวยพรเพิ่น มีความคิดเห็นต่อการแสดงอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ผู้ชมมีความคิดเห็นสนใจมากที่สุด คือ ด้านดนตรี รองลงมาได้แก่ ด้านความเหมาะสมของเครื่องแต่งกาย ด้านบทร้อง และด้านที่มีความคิดเห็นต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการแสดง
2. การแสดงชุด นนตรีเสพประสมฟ้อนขับลำกลอนอวยพรเพิ่น มีข้อควรปรับปรุงในด้านที่ 1 คือ ด้านบทร้อง ควรเพิ่มเนื้อหาสาระของเพลงที่ฟังแล้วเกิดอารมณ์คล้อยตามเห็นภาพปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมที่มีมาให้ละเอียดและชัดเจนมากกว่านี้ ในด้านที่ 2 คือ ด้านดนตรี ควรวางแผนการวางโครงสร้างของดนตรีให้มีความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระของเพลงที่นำเสนอ เพราะบางช่วงเนื้อหาอาจจะมีความยาวมากเกินไปทำให้ดนตรีต้องดำเนินตามไปด้วย ในด้านที่ 3 คือ ด้านกระบวนการแสดง ควรมีรูปแบบการแปรแถวการแสดงที่ชัดเจนและคล่องแคล่วมากกว่าเดิม ในด้านที่ 4 คือ ด้านความเหมาะสมของเครื่องแต่งกาย ชุดเสื้อและผ้าถุงของนาฏศิลป์ควรเป็นผ้าพื้นเมืองของอีสาน อย่างแท้จริง
3. การแสดงชุด นนตรีเสพประสมฟ้อนขับลำกลอนอวยพรเพิ่น มีข้อเสนอแนะ คือ 1) เป็นแนวทางที่เหมาะสมและดีเยี่ยมที่ได้นำ การดำรงชีวิตของชาวอีสานในสมัยก่อนมาถ่ายทอดเป็นบทเพลงโชว์ให้เห็นถึงชาติพันธุ์ของตนเองอย่างชัดเจนและควรสืบทอดต่อไป 2) เป็นการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมอีสานและทรงคุณค่าอย่างมาก 3) เป็นการแสดงที่แปลกใหม่ยังไม่เคยท่าร่ายรำมาจากที่ไหนมาก่อน 4) ใช้ดนตรีร่วมสมัย ฟังแล้วไม่น่าเบื่อหน่าย และ 5) ควรมีการอนุรักษ์ประเพณีชุดการแสดงพร้อมทั้งนำไปเผยแพร่ให้แก่นานาชาติให้ชมและนักศึกษาก็มีความสามารถขั้นระดับมืออาชีพ