Advertisement
Advertisement
ยังจำ "โครงการวิจัยระบบหนังสือหมุนเวียนในโรงเรียนประถมขนาดเล็ก และการจัดตั้งห้องสมุดหนังสือดี 100 แห่งในเมืองหลวงกรุงเทพฯ" ได้ไหม?
บางคนอาจไม่แน่ใจ เพราะงั้นขอรื้อฟื้นกันสักนิด
โครงการที่ว่าเป็นหนึ่งในความหวังดีของคนทำหนังสือ อย่าง "สำนักพิมพ์ผีเสื้อ" นำโดย "มกุฏ อรฤดี" "มหาวิทยาลัยบูรพา" และ"สำนักพิมพ์ต่างๆ" ต่างๆ ที่หวังอยากเห็นคนไทยได้มีโอกาสอ่านหนังสือดีๆ อย่างเท่าเทียมกัน
ความตั้งใจแรกคือห้องสมุดจะอยู่ในร้านหนังสือเช่า 50 แห่ง และมัสยิดรอบกรุงอีก 50 แห่ง โดยใช้ระบบหนังสือหมุนเวียนที่เคยทดลองได้ผลมาแล้วในโรงเรียนประถมสี่แห่ง ซึ่งมกุฏมองว่าระบบนี้ควรเป็นหัวใจหลักของการจัดระบบหนังสือในประเทศยากจน (อย่างเรา) เพราะนอกจากจะทำให้เด็กๆ ได้อ่านหนังสือเพิ่มจากเดิมถึงสี่เท่าในงบประมาณเท่าเดิมแล้ว ยังเกิดกิจกรรมกระตุ้นการอ่านระหว่างกันด้วย
โดยสาเหตุที่เลือกมัสยิดเป็น "ต้นแบบ" นั้น เป็นเพราะว่ามัสยิดคือศูนย์รวมแห่งพิธีกรรม และมีธรรมชาติที่เข้มแข็งด้วยหลักทางศาสนาอิสลาม
"มัสยิดเป็นต้นแบบของชุมชนทางศาสนาที่เข้มแข็งและชัดเจน เราเห็นภาพตรงนี้ในสองศาสนาคือคริสต์กับอิสลาม ศาสนาคริสต์ก็ไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ ส่วนศาสนาอิสลามต้องทำละหมาด ซึ่งหลังจากพิธีกรรมก็จะมีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน" มกุฏอธิบาย
ทว่าเมื่อลงมือทำจริงจัง อีกความคิดก็แวบเข้ามาในทีมวิจัยว่าแล้วทำไมไม่ลองไปหาหนทางในจังหวัดที่มีความพร้อมของพื้นที่
และในวันนี้ "สตูล" ก็กลายเป็นย่างก้าวแรกของโครงการ
"ได้ไปสำรวจพื้นที่ที่สตูล สงขลา ปัตตานีมา ณ ขณะนี้ก็พบว่าที่สตูลพร้อม พร้อมทั้งในแง่ของสถานที่และแง่ของความตั้งใจของชุมชน เราไปคุยกับทางกรรมการมัสยิดมาสี่แห่ง ซึ่งกรรมการในแต่ละมัสยิดจะมีประมาณ10-15คน และเป็นผู้นำทางศาสนาและมีความรู้ บางคนเรียนจบจากเมืองนอกเมืองนาด้วยซ้ำ บางคนก็เรียนจบปริญญาตรีจากกรุงเทพฯแล้วเลือกที่จะกลับไปประกอบอาชีพที่บ้านเกิด เพราะฉะนั้นทุกคนเข้าใจและเต็มใจ และหวังอยากเห็นองค์ประกอบทางความรู้ครบถ้วน เขามีโรงเรียนปอเนาะสอนหนังสือเด็กๆ แต่สำหรับผู้ใหญ่แทบไม่มีหนังสือหรือห้องสมุดที่เป็นเรื่องเป็นราว เพียงแต่ที่ผ่านมาไม่มีใครช่วยวางระบบให้เท่านั้น"
การวางระบบที่ว่าคือความร่วมมือระหว่างกันของทีมงานและชุมชน
"เราไม่ต้องใช้พื้นที่มากมาย บางที่ถึงกับจะสร้างอาคารให้เลยหลังหนึ่ง แต่ผมบอกไปว่าไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ให้มากมาย ขอแค่ระเบียงมัสยิดแล้วเอาตู้หนังสือไปวางก็พอ เพราะสิ่งสำคัญคือหนังสือ"
โดยกระบวนการคัดเลือกหนังสือนั้น เป็นความต้องการจากทางชุมชน เพราะคนอ่านย่อมรู้ดีว่าต้องการอ่านอะไร เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน
ส่วนใหญ่แล้วหนังสือที่แจ้งมานั้นจะเป็นด้านวิชาชีพ การเกษตร ศาสนา ปรัชญา สารคดี ความรู้สมัยไป รวมถึงงานวรรณกรรม เพียงแต่ว่าในงานวรรณกรรมนั้น จำเป็นต้องคัดกรองอย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้ขัดกับหลักศาสนารวมถึงจารีตประเพณีที่ต้องคำนึง ซึ่งหนังสือทั้งหลายนั้นก็มาจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่พิมพ์ "หนังสือดี"
ขณะที่บรรณารักษ์จำเป็นรวมถึงผู้บริหารห้องสมุดกลายๆ นั้น ก็คือคนในชุมชนที่ต้องดูแลและรับผิดชอบตัวเอง โดยไม่ต้องใช้ไฮ-เทคโนโลยีในการยืม-คืนหนังสือใดๆ ให้เปลืองงบประมาณ
ใช้เพียง "หัวใจของคนและเคารพหลักการของศาสนา" เท่านั้น
ถือเป็นการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
"ถ้าเราถอนตัวออกมา เขาก็ดูแลตัวเองได้อย่างสบาย อย่าคิดไปว่าเราเก่งกว่าเขา ในหลายๆ เรื่องเขาเก่งกว่าเราด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างหมู่บ้านหนึ่ง เป็นชุมชนเล็กๆ มีชาวบ้านประมาณ1,000คน มีเงินฝากในธนาคารหมู่บ้านตั้งสามสิบล้าน ฟังแล้วรู้สึกละอายใจมาก" มกุฏกล่าวพร้อมรอยยิ้มเล็กๆ
แต่จะว่าไปแล้ว เมื่อนึกถึงจังหวัดต่างๆ ที่เข้าไป รวมถึงที่กำลังจะเข้าไปอย่าง "ยะลา" แล้ว ก็อดถามไม่ได้ว่าหวั่นๆ ใจบ้างไหม ในข่าวคราวทั้งหลายที่เกิดขึ้น
"อย่ากลัวล่วงหน้าสิ" มกุฏตอบทันที ก่อนอธิบายว่า
"ความร่วมมือระหว่างเราและชุมชนไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งใดๆ เพราะทุกอย่างมีเพียงเพราะอยากให้คนไทยได้อ่านหนังสือเท่านั้น และไม่ได้มีเพียงที่นี่ด้วย เพราะหลังจากนั้นจะขยับขยายไปจังหวัดอื่นๆ ที่พร้อมต่อไป และอย่าไปอวดอ้างว่าสิ่งที่ทำนั้นดี วิเศษ เราเพียงแต่เสริมในจุดที่รัฐบาลหรือผู้ปกครองไม่เคยเหลียวแลดู"
แต่ด้วยเงินส่วนตัวที่ผีเสื้อควักมาใช้ คงจะทำได้ไม่กี่แห่ง มกุฏจึงหวังว่าถ้าไปได้สวย ความต้องการอ่านที่เกิดขึ้น อาจทำให้ทางชุมชน คนในพื้นที่ หรือจังหวัดเสนอโครงการไปยังรัฐบาลเอง ไม่ใช่การสั่งการจากส่วนกลาง
ซึ่งก็รวมถึงในกรุงเทพฯด้วย
"กำลังติดต่อทาง กทม.ว่าขอให้เป็นโครงการนำร่องได้ไหม งบประมาณที่ใช้ใน กทม.จะค่อนข้างสูงเพราะมีถึงร้อยแห่ง ปกติแล้วเงินประมาณยี่สิบล้านที่ต้องใช้ อาจสร้างห้องสมุดได้แห่งเดียวแต่นี่จะได้ถึงร้อยแห่ง"
แต่ก่อนอื่นสิงหาคมนี้ ที่สตูลคงพร้อมให้เห็นกัน
ข้อมูลจาก มิติชนรายวัน
Advertisement
|
เปิดอ่าน 10,778 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,711 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,025 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,085 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,037 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,122 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,307 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,703 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,087 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,902 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,690 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,712 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,463 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,062 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,520 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 10,434 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 16,673 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 25,037 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,565 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,693 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 118,948 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,065 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 16,764 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 20,918 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 29,222 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 34,194 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,475 ครั้ง |
|
|