การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคางา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๒
ได้ใช้รูปแบบโมเดลการบริหารงาน
kHA NGA MODEL
K Knowledge หมายถึง สถานศึกษามีการจัดองค์ความรู้ แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทื่เอื้อต่อการเรียนรู้ ศึกษาหาความรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
H Human Relations หมายถึง สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก มีการปรึกษาหารือและมีส่วนร่วมวางแผน ระดมความคิดเห็น เสนอแนะ สนับสนุน ให้ความความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
A Awareness หมายถึง สถานศึกษาได้สร้างความตระหนักรับผิดชอบร่วมกัน แก่ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และชุมชนในการดูแลรักษา ปรับปรุง พัฒนา แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยังยืนต่อไป
N Network หมายถึง สถานศึกษาได้จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชน ในการจัดเครือข่ายการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาชีพและด้านต่างๆ
G Goal หมายถึง สถานศึกษา คณะครูและบุคลากรมีความรับผิดชอบต่อเป้าหมายความสำเร็จร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถค้นหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างบรรยากาศที่ดี มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
A Action หมายถึง สถานศึกษามีการปฏิบัติงาน ที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน มีการพัฒนา ปรับปรุง
สภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องจนเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการจัดสภาพแวดล้อมต่างๆในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้สภาพแวดล้อมมีความสวยงาม สะอาดและสร้างแรงจูงใจในการมาเรียนของผู้เรียน
ซึ่งกระบวนการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านคางา
อาศัยการมีส่วนร่วม การวางแผน ประสานงาน จากคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการที่ปรึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ ให้มีความสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีแหล่งเรียนรู้ที่ยังยืน มีความสุขในการเรียน อันจะก่อให้ผู้เรียนเป็น คนเก่ง ดีและมีความสุข
ขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
๑. การวางแผน (Planning : P)
๒. การดำเนินงานตามแผน (Doing : D)
๓.. การประเมินผลการดำเนินการ (Checking : C)
๔. การพัฒนาปรับปรุง (Acting : A)
ว่าที่ ร.ต.มูฮำมัดนุรดิง ดือราวี
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคางา