ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
เผยแผร่ผลงานทางวิชาการ ของ นางปรียา โกกะกะ ผู้อำนวยสถานศึกาษาโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง)

ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการ

ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัด

เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ชื่อผู้วิจัย นางปรียา โกละกะ

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

โรงเรียน เทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์

ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ดำเนินการในปีการศึกษา 2557 การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ 1) ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ จำนวน 29 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน 3) คณะกรรมการผู้ปกครองโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 391 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 433 คน ส่วนที่ 2 คือ 1) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน 2) พนักงานครู จำนวน 23 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน รวม 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในส่วนที่ 1 ได้แก่ 1. แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3. แบบประเมินรูปแบบการบริหาร และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ ส่วนที่ ๒ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กรอบการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัญหาและความต้องการของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่วนใหญ่มองว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาหรือคณะทำงานที่โรงเรียนแต่งตั้งขึ้นเท่านั้น คณะกรรมการสถานศึกษาหรือชุมชนเป็นเพียงผู้รับฟังเท่านั้น ครูให้ความร่วมมือกับชุมชนน้อย โดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ และสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของโรงเรียน คณะครูต้องการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงานของโรงเรียน เช่น การสอนของครู ด้านอาคารสถานที่ การรักษาความสะอาดของโรงเรียน ให้ครูร่วมกันออกความคิดเห็น ให้ครูเข้าร่วมในการบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มิใช่ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารเท่านั้น

2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้รับความร่วมมือในการบริหารจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารมากขึ้นในรูปแบบของผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และตัวแทนชุมชนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแต่โรงเรียนมีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนควรปรับปรุงด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเพียงพอ การสร้างองค์ความรู้จะทำให้ครูมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม และจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานโดยเฉพาะเรื่องการประกันคุณภาพ จัดอบรมคณะครูส่วนใหญ่ที่ยังไม่เข้าใจในระเบียบวิธีการประเมินภายในและการประเมินภายนอก ของ สมศ. ให้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาและให้เห็นความสำคัญของการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและการประกันคุณภาพภายนอกเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ต่อไป

3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี พบว่า ครูมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนโดยผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการประชุม และผู้บริหารร่วมประชุมกับชุมชนในการประชุมขององค์กรปกครองท้องถิ่นทุกครั้งทำให้ได้รับทราบข้อมูลใน การสะท้อนสภาพปัญหาจากชุมชนตลอดเวลาและได้รับการพัฒนาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิผลทำให้นักเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้นตามกรอบมาตรฐานการศึกษาท้องถิ่น

4. การประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐานคุณภาพการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) ทำให้ได้รับการยอมรับจากชุมชนมากขึ้น และชุมชนให้การสนับสนุนโรงเรียนมากขึ้น นักเรียนได้รับการจัดการศึกษาตามความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของชุมชนภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาท้องถิ่นและทำให้สามารถพัฒนาผู้เรียนบรรลุประสิทธิผลคือ ผู้เรียนมีคุณภาพ เก่ง ดีและมีความสุข และคณะครูและกรรมการสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังเห็นว่าควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เพื่อนำมาเป็นข้อคิดเห็นในการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกด้านโดยจัดตั้งเป็นกลุ่มคณะกรรมการผู้ปกครองโดยคัดเลือกตัวแทนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของสถานศึกษาเพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมการการบริหารสถานศึกษาด้วยอีกทางหนึ่ง

ชื่องานประเมิน : รายงานผลการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียน

การสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง)สังกัดเทศบาลตำบล

กาญจนดิษฐ์อำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้ประเมิน : ปรียา โกละกะ

ปีที่ประเมิน : ปี 2558

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง)สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ในครั้งนี้ เพื่อประเมินการดำเนินงานของโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์โดยใช้รูปแบบประเมิน CIPPIEST Modalมีวัตถุประสงค์1)เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของการทำโครงการ ความเหมาะสมและความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และความเป็นไปได้2)เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากร ระยะเวลา ในการดำเนินงาน ความพอเพียงของงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการโครงการ3)เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ เกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจกรรมที่ดำเนินการตามภารกิจของโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับผลการดำเนินงานของโครงการตามวัตถุประสงค์ 5)เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการ เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ6)เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการ เกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านวิชาการของนักเรียนด้านการดำเนินงานที่คุ้มค่าและความพึงพอใจที่มีต่อผลผลิตของโครงการ7)เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการ เกี่ยวกับความสามารถในการบูรณาการความรู้ ทักษะ และกระบวนการปฏิบัติของนักเรียน8)เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ เกี่ยวกับความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของนักเรียนประชากรประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู จำนวน 29 คนเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลได้แก่แบบประเมินโครงการ ซึ่งมีความเที่ยงตรงตามกรอบการประเมินทุกฉบับ สำหรับการวิเคราะห์ได้ดำเนินการโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

1. ด้านการประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation)หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์อำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่าในภาพรวมของด้านบริบท (Context Evaluation) ผลการประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกข้อ รูปแบบของโครงการเป็นไปตามนโยบายเพิ่มคุณภาพด้านการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมครูมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำสิ่งใหม่ๆ ทางการศึกษามีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมโครงการมีเนื้อหาในการอบรมตรงกับความต้องการและความสนใจของครูผู้เข้าร่วม และระยะเวลาในการอบรมให้ความรู้มีความเหมาะสมรูปแบบของโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนมีความเหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาครูมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ดีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างนวัตกรรม วิทยากรมีความรู้ความสามารถในการให้ความรู้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมครูมีความตั้งใจในการเข้าร่วมโครงการ มีรางวัลหรือค่าตอบแทนในการคิดค้นนวัตกรรมสื่อเครื่องมือในการอบรมมีความเหมาะสม งบประมาณในการดำเนินโครงการ และผู้รับผิดชอบติดตามกำกับดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

2. ด้านการประเมินปัจจัยของโครงการ (Input Evaluation) หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าในภาพรวมของ ด้านปัจจัยของโครงการ (Input Evaluation) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ การอบรมดำเนินไปตามขั้นตอนที่กำหนดเน้นความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนกระบวนการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบการวิจัย มีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบอย่างทั่วถึงมีการทดสอบก่อนการอบรมการกำหนดกิจกรรมมีรายละเอียดชัดเจนวิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามปัญหาและข้อสงสัย มีการประเมินผลการดำเนินการโครงการอย่างเป็นระบบมีการวางแผนการดำเนินการไว้อย่างชัดเจนการจัดกิจกรรมระหว่างการอบรมมีความเหมาะสมคณะกรรมการดำเนินการโครงการฯเอาใจใส่ในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี

3. ด้านการประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่า ในภาพรวมของ ด้านกระบวนการของโครงการ (Process) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ นวัตกรรมที่ครูสร้างหรือพัฒนาขึ้นมีคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอนครูสามารถกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับสภาพปัญหาในการพัฒนานวัตกรรม มีการจัดทำเอกสารสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศรายปีของหน่วยงาน ครูมีความสามารถในการตรวจสอบและปรับปรุงนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ นวัตกรรมที่ครูสร้างหรือพัฒนาขึ้นมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถใช้หลักการแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม มีการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง ครูมีความสามารถในการจัดลำดับขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรม ครูสามารถกำหนดเป้าหมายสอดคล้องกับความต้องการความเป็นไปได้ในการพัฒนานวัตกรรมครูมีความรู้ในการออกแบบนวัตกรรม

4. ด้านการประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation)หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบล กาญจนดิษฐ์ พบว่าในภาพรวมของ ด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ นวัตกรรมทำให้ครูมีศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น ครูดำเนินผลิตสื่อและนวัตกรรมได้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์แม่นยำ จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อและนวัตกรรมได้สอดรับกับการปฏิบัติงานจริง สรุปผลการประเมินที่ได้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ครูมีนวัตกรรมและสามารถเป็นแบบอย่างได้ โรงเรียนมีสื่อและนวัตกรรมได้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้เข้าอบรมได้รับการยอมรับและเป็นต้นแบบในการสร้างนวัตกรรมในโรงเรียนนำนวัตกรรมไปพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของตน ใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อและนวัตกรรมได้ถูกต้อง จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อและนวัตกรรมได้และนำไปใช้ครอบคลุมความต้องการของสถานศึกษา สรุปผลการประเมินที่ได้นำไปใช้ในการครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสื่อและนวัตกรรมการประเมินนำไปใช้ในการรายงาน แบบสรุปผลประเมินโครงการมีความชัดเจนไม่คลุมเครือ กะทัดรัด

5. ด้านผลกระทบของโครงการ (Impact Evaluation)หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าในภาพรวมของ ด้านผลกระทบของโครงการ (ImpactEvaluation) ผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนนวัตกรรมของครูสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้ กระบวนการพัฒนานวัตกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งโรงเรียนการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า

6. ด้านประสิทธิผลของโครงการ (Effectiveness Evaluation) หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าในภาพรวมของ ด้านประสิทธิผลของโครงการ(EffectivenessEvaluation

)ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ นวัตกรรมที่ใช้ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้นกระบวนการพัฒนาเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียนทุกฝ่ายรูปแบบและวิธีการสะดวกในการนำไปใช้และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงนวัตกรรมที่ใช้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทำให้มีคุณภาพมากขึ้นนวัตกรรมของครูทำให้กระบวนการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ได้เร็วขึ้นนวัตกรรมเป็นเครื่องมือของความสำเร็จในทุกกิจกรรมของโรงเรียน

7. ด้านประเมินความยั่งยืนของโครงการ (Sustainability Evaluation)หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์อำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าในภาพรวมของ ด้านความยั่งยืนของโครงการ (SustainableEvaluation) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมฯทำให้ครูมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายการพัฒนานวัตกรรมของครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขึ้นกว่าเดิมสรุปผลการประเมินที่ได้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ครูสามารถออกแบบนวัตกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการได้ครอบคลุม และครูสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้

8. ด้านประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ (Transportability Evaluation) หลังการดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าในภาพรวมของ ด้านการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ (TransportabilityEvaluation)ทุกข้อ นวัตกรรมมีคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอนนวัตกรรมช่วยให้คุณภาพการเรียนการสอนดีขึ้นเป็นการส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้อย่างหลากหลายนวัตกรรมทำให้ค้นพบทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องความสามารถในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน

ผลการสัมภาษณ์ครู

1. ด้านปัจจัยโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จครูได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมโครงการพบว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมสามารถพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ครูนักเรียนมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดีขึ้นซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของครูที่ต้องการหาความรู้ในการคิดค้นวิธีการให้เหมาะสมกับนักเรียนสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของโครงการและมีข้อเสนอแนะว่าควรเชิญตัวแทนครูทุกกลุ่มสาระเข้ารับการอบรมด้วยเพื่อการทำกิจกรรมที่มีข้อจำกัดด้วยระยะเวลานี้จะได้ประโยชน์สูงสุด

2. ด้านกระบวนการ

ได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการพบว่าผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการได้ดูแลเอาใจใส่ในการดำเนินงานตามกิจกรรมวิทยากรให้ความรู้มีความชัดเจนและระยะเวลาในการอบรมค่อนข้างน้อยนวัตกรรมของครูส่งผลต่อผู้เรียนในระดับมากมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดให้มีการศึกษาดูงานนวัตกรรมในระดับต่างๆส่วนครูโรงเรียนได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการได้ดูแลเอาใจใส่ในการดำเนินงานตามกิจกรรมวิทยากรให้ความรู้มีความชัดเจนและระยะเวลาในการอบรมค่อนข้างน้อยมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดให้มีการศึกษาดูงานนวัตกรรมในระดับต่างๆ

3. ด้านผลลัพธ์

พบว่านวัตกรรมของโรงเรียนคือด้านการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมและด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้รับการยอมรับในระดับเห็นด้วยมากโดยได้สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมกับคณะครูที่จะส่งผลต่อผู้เรียนให้มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมีการกำหนดเป็นนโยบายหลักของโรงเรียนมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนานวัตกรรมตามกลุ่มสาระที่รับผิดชอบให้งบประมาณสนับสนุนเพิ่มจากที่ได้รับจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนส่วนครูได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลลัพธ์ของโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่าครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมในระดับเห็นด้วยมากมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมอย่างชัดเจนโดยการออกแบบที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการได้อย่างครอบคลุมมีการเผยแพร่และได้รับการยอมรับทั้งในและนอกโรงเรียนส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้นมีความรู้ความเข้าใจจากผู้รับผิดชอบโครงการและมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานทั้งในและนอกโรงเรียนทำให้มีแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องการมีส่วนมีการประชุมในการทำงานร่วมกันมีการจัดการในการดูแลนักเรียนในการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิดได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนานวัตกรรมในกลุ่มสาระที่รับผิดชอบโดยสนับสนุนงบประมาณเพิ่มจากที่ได้จากเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์

4. ด้านข้อมูลย้อนกลับ

พบว่าเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ด้านผู้บริหารปัจจุบันใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือให้ครูได้ทำงานด้วยความมั่นใจและมีผลงานเป็นที่ยอมรับครูสามารถพัฒนานวัตกรรมตามกลุ่มสาระที่รับผิดชอบและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงมีการเผยแพร่นวัตกรรมและชนะการประกวดของภาคใต้การจัดแสดงผลงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมทั้งในและนอกโรงเรียน ครูได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อมูลย้อนกลับของโครงการการส่งเสริมพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์พบว่ามีผลงานได้รับการยอมรับจากชุมชนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายมีแนวทางการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องมีความสามารถในการจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายได้ส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักและรู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้รับการยอมรับเป็นผู้นำทางวิชาการและนวัตกรรมของครูเป็นเครื่องมือในการทำวิจัยในชั้นเรียน

โพสต์โดย kruya : [24 ม.ค. 2560 เวลา 11:04 น.]
อ่าน [3637] ไอพี : 113.53.201.231
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 47,167 ครั้ง
7 สัญลักษณ์ในขวดพลาสติก มีความหมายอย่างไร อันไหนรีไซเคิลได้ ที่นี่มีคำตอบ
7 สัญลักษณ์ในขวดพลาสติก มีความหมายอย่างไร อันไหนรีไซเคิลได้ ที่นี่มีคำตอบ

เปิดอ่าน 16,306 ครั้ง
หากสงสัยว่าเป็นโรคไขมันในตับให้กินผักชีล้อม
หากสงสัยว่าเป็นโรคไขมันในตับให้กินผักชีล้อม

เปิดอ่าน 52,935 ครั้ง
เผยแพร่ตัวอย่างเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2561)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เผยแพร่ตัวอย่างเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2561)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

เปิดอ่าน 28,976 ครั้ง
6 ปัญหาที่เด็กม.ปลายต้องเจอและผ่านไปให้ได้
6 ปัญหาที่เด็กม.ปลายต้องเจอและผ่านไปให้ได้

เปิดอ่าน 9,737 ครั้ง
เลือกของขวัญ... ในวันพิเศษ
เลือกของขวัญ... ในวันพิเศษ

เปิดอ่าน 14,542 ครั้ง
วิธีสร้างคันกระสอบทรายให้แข็งแรง
วิธีสร้างคันกระสอบทรายให้แข็งแรง

เปิดอ่าน 14,313 ครั้ง
ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อรักยืนยาว
ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อรักยืนยาว

เปิดอ่าน 33,694 ครั้ง
รูปแบบการสอน 7 ประการ
รูปแบบการสอน 7 ประการ

เปิดอ่าน 20,500 ครั้ง
5 สิ่งไม่ควรทำหลังทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
5 สิ่งไม่ควรทำหลังทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ

เปิดอ่าน 8,036 ครั้ง
แนวทางการจัดทำข้อมูล DMC ปีการศึกษา 2563
แนวทางการจัดทำข้อมูล DMC ปีการศึกษา 2563

เปิดอ่าน 17,400 ครั้ง
ดาวหาง "โฮล์มส" ระเหิดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์แล้ว
ดาวหาง "โฮล์มส" ระเหิดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์แล้ว

เปิดอ่าน 15,705 ครั้ง
ผลิตพืชอินทรีย์ / สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง
ผลิตพืชอินทรีย์ / สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง

เปิดอ่าน 23,033 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน
ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน

เปิดอ่าน 37,405 ครั้ง
กินแอปเปิ้ล ลดไข้
กินแอปเปิ้ล ลดไข้

เปิดอ่าน 16,614 ครั้ง
ใครเป็นหนี้???..มีทางออก
ใครเป็นหนี้???..มีทางออก

เปิดอ่าน 9,311 ครั้ง
แปลงความยากจน ให้เป็นต้นทุนแห่งการเรียนรู้
แปลงความยากจน ให้เป็นต้นทุนแห่งการเรียนรู้
เปิดอ่าน 25,993 ครั้ง
เลขคณิตคิดไม่ยาก : คุณรู้จัก "29 กุมภา" ดีแค่ไหน
เลขคณิตคิดไม่ยาก : คุณรู้จัก "29 กุมภา" ดีแค่ไหน
เปิดอ่าน 83,579 ครั้ง
5 สายอาชีพควรเรียน เป็นที่ต้องการในอีก 5 ปี
5 สายอาชีพควรเรียน เป็นที่ต้องการในอีก 5 ปี
เปิดอ่าน 11,825 ครั้ง
กาแฟเย็นทำให้อ้วน ให้แคลอรีมากเท่ากับข้าวมื้อใดมื้อหนึ่ง
กาแฟเย็นทำให้อ้วน ให้แคลอรีมากเท่ากับข้าวมื้อใดมื้อหนึ่ง
เปิดอ่าน 76,921 ครั้ง
9 สุดยอดสัตว์มีพิษที่อันตรายที่สุดในโลก
9 สุดยอดสัตว์มีพิษที่อันตรายที่สุดในโลก

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ