ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เทศกาล ไหว้พระจันทร์


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เปิดอ่าน : 18,299 ครั้ง
Advertisement

เทศกาล ไหว้พระจันทร์

Advertisement

ในค่ำคืนของวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคนจีน เรื่องราวของความศรัทธาในดวงจันทร์ จนทำให้เกิดเทศกาล "ไหว้พระจันทร์"

ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของปฏิทินจีน ชาวจีนจะทำพิธีไหว้พระจันทร์ เป็นการไหว้ครั้งที่ 6 ของปี เรียกการไหว้ครั้งนี้ว่า "ตงชิวโจ่ย" ซึ่งตรงกับช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง

วันนี้เป็นวันที่พระจันทร์ส่องแสงงดงามที่สุดและเต็มดวงสวยที่สุด ในค่ำคืนนี้ผู้คนแหงนมองดวงจันทร์ที่สุกสว่าง ท้องฟ้าปลอดโปร่งไร้เมฆฝนอากาศสดชื่น ทำให้อดคิดถึงการอยู่พร้อมหน้ากับครอบครัวไม่ได้ คนจีนสมัยโบราณนิยมใช้จันทร์เสี้ยว-จันทร์เต็มดวง มาบรรยายถึงความทุกข์ พลัดพราก-พร้อมหน้า เมื่อใดที่จันทร์เต็มดวง ให้ความรู้สึกถึงการอยู่ร่วมกัน คนที่จากบ้านเกิดไปไกลอดคิดถึงครอบครัวและบ้านเกิดที่จากมาไม่ได้ โดยจะเห็นได้จากบทกวีต่าง ๆ ของนักกวีเอกของจีน เช่น หลี่ไป๋ ตู้ผู่ ที่มักใช้ดวงจันทร์บรรยายถึงความอ้างว้างและคิดถึงบ้านเกิด

กำเนิดของการไหว้พระจันทร์มีตำนานและเรื่องเล่าที่เกี่ยวพันอยู่หลายเรื่องด้วยกัน รองศาสตราจารย์แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กล่าวให้ฟังว่า คติการ ไหว้พระจันทร์ เริ่มต้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในสมัยราชวงศ์ถัง ตามตำนานเล่าว่า มีนักพรตเต๋าชื่อ เย่ฝ่าซ่าน ได้ประกอบพิธีร่ายเวทมนตร์คาถาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ให้องค์จักรพรรดิถัง เสียนจงเสด็จไปท่องพระจันทร์ในค่ำคืนนั้น และได้พบเทพธิดาบนดวงจันทร์กำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมทรงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาในฝัน ตั้งแต่นั้นมา ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 พระองค์จะรับสั่งให้จัดเครื่องเซ่นไหว้พระจันทร์ และทอดพระเนตรความงามของพระจันทร์ไปพร้อมกับการร่ายรำของนางสนม จากนั้นเป็นต้นมา ชาวเมืองจึงถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็น วันไหว้พระจันทร์ และยังมีการชมจันทร์บนพื้นที่สูงหรือล่องเรือชมจันทร์ รวมทั้งดื่มสุราฉลองกันอย่างครึกครื้น







แต่สำหรับ ชาวจีนแต้จิ๋ว มีคติแบบหนึ่ง เล่ากันว่า เมื่อ รัชสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1206-1368) ชาวมองโกลได้ยึดครองประเทศจีนแล้วได้กระทำทารุณกับชาวจีนฮั่นไว้มาก พวกมองโกลได้ออกกฎว่าคนจีน 3 ครอบครัวต้องเลี้ยงดูคนมองโกลอย่างดี 1 คน ทั้งนี้เพื่อจับตาดูความเคลื่อนไหวไปในตัว มีการยึดอาวุธทั้งหมดอนุญาตให้มีได้เพียงมีดหั่นผักเพียงเล่มเดียว โดยให้ใช้ร่วมกัน 3 ครอบครัว ชาวจีนมีความโกรธแค้นพวกมองโกล จึงวางแผนก่อการขับไล่ทหารมองโกลโดยการทำขนมไหว้พระจันทร์ที่จงใจออกแบบให้เป็นขนมเปี๊ยะก้อนใหญ่ไส้หนาเป็นพิเศษ เพื่อใช้เป็นที่ซ่อนเอกสารในการติดต่อแล้วให้มีธรรมเนียมแลกขนมเปี๊ยะกันระหว่างญาติมิตร เป็นการตบตาพวกมองโกล โดยภายในสารระบุเวลากำจัดคนมองโกลว่าเที่ยงคืนของวันเพ็ญเดือน 8 ซึ่งเป็นคืนที่มีงานไหว้พระจันทร์ พอเที่ยงคืนมีการตีเกราะเคาะไม้ส่งสัญญาณแก่กันว่าได้เวลาแล้ว ทุกครอบครัวพร้อมใจกันขับไล่ทหารมองโกลจนสำเร็จสมประสงค์ เมื่อได้เอกราชคืนมา ชาวจีนจึงยึดถือเอาวันเพ็ญเดือน 8 เป็นวันไหว้พระจันทร์สืบต่อมา เพื่อรำลึกถึงการกู้ชาติจากพวกมองโกล

"ในเทศกาลนี้สมัยก่อนมีคำพูดว่า ผู้ชายไม่ไหว้พระจันทร์ เพราะพระจันทร์ถือว่าเป็นหยินซึ่งเป็นธาตุของผู้หญิง ผู้ชายถือเป็นหยาง ดังนั้น จึงให้แต่ผู้หญิงเป็นคนไหว้เท่านั้น แต่ในยุคหลังผู้ชายก็ไหว้พระจันทร์ได้เช่นกันเพียงแต่ผู้หญิงเป็นหลักในการจัดการเตรียมการไหว้"

พิธีไหว้พระจันทร์ จะเริ่มต้นตอนหัวค่ำซึ่งดวงจันทร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้า ถ้าดินฟ้าอากาศเป็นปกติพระจันทร์เริ่มปรากฏตอนหัวค่ำผู้คนจะดีอกดีใจ แต่ถ้าอากาศแปรปรวนท้องฟ้ามืดครึ้มและไม่มีทีท่าจะปลอดโปร่ง ความหวังที่จะได้แลเห็นพระจันทร์เต็มดวงค่อนข้างจะเลือนราง ผู้คนก็ออกจะหงุดหงิด แต่ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไรหรือแม้แต่ฝนเริ่มตกพรำ ๆ พิธีไหว้พระจันทร์จะต้องดำเนินต่อไป

สถานที่ไหว้พระจันทร์อาจเป็นลานบ้านหรือดาดฟ้า แต่ถ้าไม่สะดวกอาจไหว้หน้าบ้านก็ได้ โดยตั้งโต๊ะขนาดเท่าโต๊ะทำงาน มีซุ้มที่ทำจากต้นอ้อยเพื่อความสวยงาม มีธูปเทียน กระดาษเงินกระดาษทองที่พับเป็น เงินตราจีน โคมไฟ และสิ่งของเซ่นไหว้ซึ่งได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ อาทิ ส้มโอ แอปเปิ้ล สาลี่ ทับทิม กล้วย ส้ม และผลไม้ท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้ง ขนมชนิดต่าง ๆ ที่ขาดไม่ได้ คือ ขนมไหว้พระจันทร์ สำหรับขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีนแต้จิ๋ว ได้แก่ ขนมโก๋สีขาวรูปทรงกลมขนาดเท่าปากชามก๋วยเตี๋ยวหรืออาจมีขนาดเล็กลงไปก็ได้ อีกทั้งเครื่องสำอาง แป้ง จะใช้ยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ผู้ไหว้ พิธีดำเนินไปจนถึงตอนดึกประมาณ 4-5 ทุ่ม เป็นอันเสร็จพิธี เมื่อเสร็จพิธีทุกคนในครอบครัวจะตั้งวงแบ่งกันกินขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคล อยู่ดีมีสุขกันพร้อมหน้า

การไหว้เพื่อการบูชาดวงจันทร์จากตำนานในแต่ละเรื่องจะเห็นว่า คนจีนให้ความสำคัญกับธรรมชาติ คนจีนจะเห็นว่าตัวเขาเองเล็กมากถ้าเทียบกับธรรมชาติ ฉะนั้นวิธีกลมกลืนด้วยการทำพิธีกรรมอย่างนี้เป็นวิธีที่ดีมาก ทำให้คนสมัยก่อนใช้ชีวิตกลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่บังคับธรรมชาติ ไม่ฝืนธรรมชาติ แต่มีความเคารพในสิ่งที่เป็นธรรมชาติ จึงทำให้เห็นว่าธรรมชาติมีความยิ่งใหญ่และมีความลึกลับจึงสร้างเป็นพิธีกรรมขึ้น


















การไหว้พระจันทร์จึงเป็นการแสดงความสามัคคีของคนในครอบครัว โดยเฉพาะขนมเปี๊ยะจะเป็นรูปทรงกลม ลักษณะที่กลมทางจีนเชื่อว่าเป็นการแสดงความสามัคคีกัน ความอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันของคนภายในครอบครัว อีกทั้งยังเชื่อว่าดวงจันทร์ซึ่งมีลักษณะกลม เป็นสัญลักษณ์ของความสวยงามและเป็นสื่อกลางของการคิดถึงซึ่งกันและกัน เมื่อสมาชิกในครอบครัวไม่สามารถกลับมาบ้านได้ก็ให้แหงนมองดวงจันทร์ส่งความรู้สึกที่ดีส่งความคิดถึงไปสู่ครอบครัวและคนที่รัก ดังนั้นชาวจีนส่วนใหญ่มักจะชื่นชอบค่ำคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวงอันหมายถึงการกลับสู่ครอบครัว แต่ก็มีบางคนที่ชื่นชอบดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเพื่อจะได้มีวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงให้ชื่นชม

"ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลใดล้วนมีความน่าสนใจทั้งนั้น อย่าง เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็น เทศกาลที่ควรปฏิบัติสืบต่อไป แต่ต้องปฏิบัติอย่างมีสติ ตรงที่ว่าไม่ควรบริโภคขนมไหว้พระจันทร์ตามคำโฆษณามากนัก สิ่งสำคัญ คือ การที่ผู้ใหญ่น่าจะได้พูดคุยกับลูกหลานถึงตำนานของการไหว้พระจันทร์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ไหว้เพื่ออะไร ทำไมคนสมัยก่อนถึงได้นับถือธรรมชาติ เราจะได้รักษาสมดุลธรรมชาติ มีวิถีในการดำเนินชีวิตที่เมตตาธรรมชาติมากกว่านี้ ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้วิถีชีวิตแบบทุนนิยมจัดการกับธรรมชาติ ทั้งที่เป็นป่าเขาและทะเล อยากให้ยึดถือตรงส่วนนี้ให้มาก"

ไหว้พระจันทร์...จะเป็นอีกวันหนึ่งที่คนในครอบครัวจะได้อยู่ร่วมชมจันทร์พร้อมหน้ากัน


เทศกาล ไหว้พระจันทร์ เทศกาลไหว้พระจันทร์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความหมายของวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม


เปิดอ่าน 126,904 ครั้ง
การเป็นพลเมืองที่ดี

การเป็นพลเมืองที่ดี


เปิดอ่าน 3,411 ครั้ง
กระบี่ กระบอง

กระบี่ กระบอง


เปิดอ่าน 50,883 ครั้ง
พระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย


เปิดอ่าน 4,270 ครั้ง
อาหรับ มาจากไหน?

อาหรับ มาจากไหน?


เปิดอ่าน 31,577 ครั้ง
กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย


เปิดอ่าน 21,414 ครั้ง
10 กิจที่ต้องทำ วันตรุษจีน

10 กิจที่ต้องทำ วันตรุษจีน


เปิดอ่าน 15,055 ครั้ง
140 ที่สุดในโลก

140 ที่สุดในโลก


เปิดอ่าน 47,934 ครั้ง
เกร็ดประวัติวัดโพธิ์

เกร็ดประวัติวัดโพธิ์


เปิดอ่าน 24,138 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

เปิดอ่าน 74,167 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หูสั้นอายุสั้นหูยาวอายุยืน...จริงหรือ?
หูสั้นอายุสั้นหูยาวอายุยืน...จริงหรือ?
เปิดอ่าน 17,819 ☕ คลิกอ่านเลย

ตำนาน บ้านบางระจัน
ตำนาน บ้านบางระจัน
เปิดอ่าน 188,962 ☕ คลิกอ่านเลย

ประชาธิปไตย คืออะไร
ประชาธิปไตย คืออะไร
เปิดอ่าน 85,086 ☕ คลิกอ่านเลย

การตากข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3
การตากข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3
เปิดอ่าน 16,556 ☕ คลิกอ่านเลย

พระบรมรูปทรงม้า
พระบรมรูปทรงม้า
เปิดอ่าน 17,326 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณสมบัติของรัฐมนตรี
คุณสมบัติของรัฐมนตรี
เปิดอ่าน 47,898 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

จำปาดะ
จำปาดะ
เปิดอ่าน 22,667 ครั้ง

สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?
เปิดอ่าน 10,161 ครั้ง

ปัญหาอมตะครูไทย เร่งแก้ก่อนการศึกษาดำดิ่ง
ปัญหาอมตะครูไทย เร่งแก้ก่อนการศึกษาดำดิ่ง
เปิดอ่าน 7,870 ครั้ง

น้อมรำลึกถึง สมเด็จย่า เส้นทางแม่ฟ้าหลวงทรงสร้างคน
น้อมรำลึกถึง สมเด็จย่า เส้นทางแม่ฟ้าหลวงทรงสร้างคน
เปิดอ่าน 15,152 ครั้ง

ตรงต่อเวลา...ช่วยอนาคตหนูมั่นได้
ตรงต่อเวลา...ช่วยอนาคตหนูมั่นได้
เปิดอ่าน 10,869 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ