ชื่อเรื่อง รายงานการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
โดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน นางฤทัยวรรณ วงศ์ชนะ
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
บทสรุป
รายงานการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรายงานการดำเนิน โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 2) เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 โดยพิจารณาจาก 2.1 ระดับคุณภาพในการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 2.2 พฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน 2.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการ และ2.5 ผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อนักเรียน ครู และโรงเรียนหลังดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 302 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2560 จำนวน 63 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 302 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 3 ฉบับ แบบบันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ฉบับ และแบบบันทึกผลกระทบเชิงบวกจากการดำเนินโครงการที่ปรากฏต่อนักเรียน ครู และโรงเรียน จำนวน 1 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .86-.926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. กระบวนการหรือขั้นตอนที่ใช้ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ ผู้รายงานใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฎิบัติการ ซึ่งเรียกว่า PAOR ดังนี้
P = Planning คือ การวางแผน
A = Action คือ การปฏิบัติ
O = Observing คือ การสังเกต
R = Reflecting คือ และการสะท้อนกลับ
2. ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการ จำแนกเป็น
2.1 คุณภาพในการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินโดยรวม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar= 4.16, S.D. = .38) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X-bar= 4.26, S.D. = .29) ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( X-bar= 4.09, S.D. = .45) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( X-bar = 4.07, S.D.= .23) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
2.2 พฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน หลังดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน โดยรวม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar= 3.70, S.D. = .37) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X-bar= 3.73, S.D. = .31) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย ( X-bar = 4.07, S.D.= .23) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
2.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 จำแนกเป็น
2.3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ม.1-ม.6) 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2559 เฉลี่ยร้อยละ 71.32 ปีการศึกษา 2560 เฉลี่ยร้อยละ 74.35
เพิ่มขึ้น 3.03
2.3.2 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวม 4 สาระหลัก เท่ากับ 37.13 ปีการศึกษา 2560 โดยรวมเท่ากับ 32.67 ลดลง 4.46 ปีการศึกษา 2559 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวม 5 สาระหลัก เท่ากับ 33.49 ปีการศึกษา 2560 โดยรวมเท่ากับ 29.17 ลดลง 4.31
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน โดยรวม พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (X-bar= 4.10, S.D. = .41) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจสูงสุด มีค่าเฉลี่ย (X-bar= 4.22, S.D. = .24) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย ( X-bar = 4.15, S.D.= .46) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครู มีความพึงพอใจต่ำสุด มีค่าเฉลี่ย ( X-bar = 4.01, S.D.= .48) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
2.5 ผลกระทบเชิงบวก จากการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้รูปแบบฐานการเรียนรู้ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2560 พบว่า นักเรียนได้รับประกาศเกียรติคุณ/รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 6 รายการ ครูได้รับประกาศเกียรติคุณ/รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 9 รายการ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ได้รับประกาศเกียรติคุณ/รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 5 รายการ
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการดำเนินโครงการไปใช้
1. ในการดำเนินโครงการต่างๆ ของโรงเรียนทั้งระดับกลุ่มงานย่อย และกลุ่มงานหลักของโรงเรียน ควรใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มาใช้ในการดำเนินโครงการทุกโครงการ
2. ควรส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการทุกขั้นตอน
ข้อเสนอแนะในการวิจัย/รายงานครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับกลุ่มงานของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
2. ควรมีการศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนให้มีความแปลกใหม่ หลากหลาย และน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง