ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์โดยใช้
ข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางชาลิสา สุทธิกุล
สังกัด โรงเรียนบ้านน้ำฉา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านน้ำฉา อำเภอสวี จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนประจำชั้น
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด มีค่าเฉลี่ยรายชุดที่ 1-5 เท่ากับ 15.90, 16.10, 16.15, 15.80 และ 15.90 อยู่ในระดับดีมากทุกชุด แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 16 ของดีเมืองสวีบ้านเรา ซึ่งมีจำนวน 22 แผนใช้เวลาสอน 20 ชั่วโมง (ไม่รวมแผนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ก่อนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 1 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.57 อยู่ในระดับมากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)