ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ไข้กาฬหลังแอ่น


สุขศึกษาและพลศึกษา เปิดอ่าน : 16,267 ครั้ง
ไข้กาฬหลังแอ่น

Advertisement

โรคไข้กาฬหลังแอ่น คือ อะไร เกิดจากอะไร เป็นโรคที่เพิ่งพบใหม่หรือไม่ ชื่อโรคมีความเป็นมาอย่างไร

โรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่รู้จักกันมานาน มีชื่อทางการแพทย์ว่า Meningococcemia (การติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในเลือด) หรือ Meningococcal meningitis (เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitidis ซึ่งเป็นเชื้อกรัมลบรูปทรงกลมจำพวกเดียวกับเชื้อหนองในแท้ หรือ Neisseria gonorrheae แต่ไม่ทำให้เกิดกามโรคและมีความรุนแรงในการก่อโรคมากกว่า มีอัตราการตายสูงกว่า ชื่อโรคไข้กาฬมีเหตุจากความรุนแรงของโรค ซึ่งทำให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ในเวลาอันสั้น และ ชื่อหลังแอ่น เนื่องจากลักษณะของผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการชักเกร็ง หลังแข็งแอ่น ชื่อโรคไม่เกี่ยวข้องกับนกนางแอ่นแต่อย่างใด

โรคนี้ปรากฏในประเทศไทยมานานเท่าใด มีการระบาดมาก่อนหรือไม่ มีผู้ป่วยจำนวนมากน้อยเพียงใด มีฤดูกาลระบาดหรือไม่ หากพบผู้ป่วยจะต้องรายงานทางการหรือไม่

มีการรายงานโรคนี้ในประเทศไทยมานานหลายปีแล้ว ไม่ค่อยเกิดการระบาดเหมือนโรคระบาด (Epidemic) อื่นๆ เช่น อหิวาตกโรค ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นกับประชาชนจำวนมากนับร้อยหรือพันราย และแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ แม้ผู้ป่วยรายใหม่จะไม่ได้สัมผัสโรคกับผู้ป่วยรายเก่ามาก่อน กรณีของโรคไข้กาฬหลังแอ่น มักเป็นการระบาดเฉพาะพื้นที่ (Endemic) กล่าวคือ เกิดการติดต่อกันในหมู่ประชาชนจำนวนหนึ่ง ในชุมชนเดียวกัน โดยจะเกิดกับผู้สัมผัสโรคหรือผู้ที่มีปัจจัยบางประการที่เกื้อหนุนให้เกิดโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กหรือคนอายุน้อย

เชื้อโรคไข้กาฬหลังแอ่นนี้ สามารถพบอยู่ในลำคอของคนปกติส่วนน้อยได้ โดยไม่เกิดโรคขึ้น เรียกว่า การเป็นพาหะของเชื้อ เชื้อสามารถถ่ายทอดได้โดยทางเดินหายใจ การไอ, จาม, น้ำลายไปสู่ผู้ใกล้ชิด ผู้ที่มีปัจจัยภายในตนเองผิดปกติบางอย่าง เช่น ร่างกายไม่สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคนี้ หรือ เชื้อสามารถเล็ดรอดเข้าสู่กระแสโลหิต หรือระบบประสาทส่วนกลางได้ จึงก่อให้เกิดโรคขึ้น ด้วยเหตุนี้ การพบโรคนี้จึงมีเป็นระยะๆ (Sporadic) ไม่สัมพันธ์กับฤดูกาลแต่อย่างใด เนื่องจากเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในร่างกายผู้ป่วยเอง

เมื่อพบผู้ป่วยโรคนี้จะต้องรายงานต่อกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากจัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง

โรคนี้มีลักษณะอาการอย่างไร เมื่อใดควรสงสัยว่า อาจเป็นโรคนี้ ควรไปรับการตรวจวินิจฉัยอย่างไร หากเป็นโรคนี้จะมีอาการแทรกซ้อนหรือไม่ การรักษาได้ผลหรือไม่ อย่างไร

โรคไข้กาฬหลังแอ่นมีลักษณะที่สำคัญ 3 อย่าง คือ ไข้, ผื่น, และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตามลำดับที่พบมากไปน้อย ผู้ป่วยอาจมีอาการครบทั้ง 3 อย่าง หรือ 2 จาก 3 อย่างนี้ ความรุนแรงของโรคแตกต่างกันได้มาก อาจมีอาการค่อยเป็นค่อยไป จนถึงรุนแรงรวดเร็ว ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาสั้นๆ ลักษณะที่พบบ่อย คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้มาก่อนประมาณ 2-3 วัน มีผื่นขึ้น ลักษณะเป็นจ้ำเลือดเหมือนฟกช้ำ ผื่นอาจมีรูปร่างคล้ายดาวกระจายซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ มักเป็นบริเวณลำตัวส่วนล่าง, ขา, เท้า และบริเวณที่มีแรงกดบ่อยๆ เช่น ขอบกางเกง, ขอบถุงเท้า อาจเป็นที่เยื่อบุตา, หรือ มือ ได้ มีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คือ ปวดศีรษะรุนแรง, อาเจียน, คอแข็ง อาจไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือสับสนได้ ไม่ค่อยมีชักหรืออัมพาตบ่อยเท่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอื่น

อัตราการเสียชีวิตขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในรายที่รุนแรง มีโรคแทรกซ้อน ได้แก่ การติดเชื้อในเลือด มีภาวะช็อค ความดันโลหิตต่ำร่วมด้วย จะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว อัตราตายสูงถึง 70-80% ของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนในรายที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อในเลือด อัตราตายต่ำกว่ามาก ประมาณ 2-10% ของผู้ป่วยทั้งหมด การรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีก็มีส่วนช่วยลดอัตราการตายลงได้ด้วย

หากเด็กหรือผู้ใหญ่อายุน้อยที่มีอาการของไข้เฉียบพลัน มีผื่นที่เป็นจ้ำเลือดคล้ายรูปดาวกระจาย หรือมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบข้างต้น จะต้องนึกถึงโรคไข้กาฬหลังแอ่นไว้ด้วยเสมอ ควรไปรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ในโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากล่าช้าเกินไป ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ แพทย์จะทำการสอบถามประวัติความเจ็บป่วย ตรวจร่างกายผู้ป่วย ควรแจ้งแก่แพทย์ด้วยว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวใดหรือไม่ แพ้ยาใดหรือไม่ เนื่องจากแพทย์จะต้องพิจารณาให้ยาต้านจุลชีพโดยเร็ว แพทย์จะทำการเพาะเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลัง จากนั้นจะเริ่มให้ยาต้านจุลชีพโดยการฉีด ยาที่มักจะเลือกใช้ คือ ยา กลุ่ม penicillin หรือ cepharosporins ร่วมกับการรักษาประคับประคอง เช่น ให้น้ำเกลือแก้ไขภาวะขาดน้ำเกลือแร่ กรดด่างไม่สมดุล

มีวิธีการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น เช่น ฉีดวัคซีน หรือไม่ อย่างไร ประชาชนทั่วไป สมควรได้รับการป้องกันหรือไม่

การป้องกันโรคมี 2 วิธีหลัก คือ การกินยาต้านจุลชีพ และ ฉีดวัคซีน ผู้ที่สมควรได้รับการป้องกัน ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสโรคใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นเวลานาน เช่น สมาชิกในครัวเรือนเดียวกัน ร่วมห้องนอนเดียวกัน เด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็ก, ห้องเรียนเดียวกับผู้ป่วย ทหารในค่ายเดียวกัน

การกินยาต้านจุลชีพ ใช้กับผู้สัมผัสโรคตามข้อบ่งชี้ข้างต้น โดยแพทย์มักจะเลือกกลุ่ม rifampicin หรือ ciprofloxacin

ประชาชนทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับการป้องกัน นอกจากจะเดินทางเข้าไปในเขตที่มีการระบาดเป็นประจำ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องโรคไข้กาฬหลังแอ่น

การฉีดวัคซีน ใช้ในกรณีที่คนที่จะเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเป็นประจำ เช่น ประเทศแถบ Africa บางประเทศ หรือ ให้วัคซีนแก่ประชาชนที่อยู่เขตระบาดซึ่งทราบสายพันธุ์ (serogroup) ของเชื้อซึ่งระบาดอยู่ก่อน เพราะวัคซีนจะป้องกันได้เพียงบางสายพันธุ์เท่านั้น ดังนั้น การใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น จะได้ผลในบางพื้นที่ที่ทราบถึงสายพันธุ์ของเชื้อแล้วเท่านั้น ผู้ที่จะเดินทางเข้าไปในเขตที่มีโรคชุกชุม อาจติดต่อขอรับวัคซีนได้ที่หน่วยงานของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

จะเห็นได้ว่า การป้องกันที่สำคัญและได้ผลดีกว่า คือ ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย และผู้สัมผัสใกล้ชิดในชุมชนสมควรได้รับยาเพ่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกัน โดยไม่ขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อ อย่างไรก็ตาม แพทย์จะสามารถให้คำปรึกษาแนะนำได้ว่า ผู้สัมผัสโรคสมควรได้รับยาป้องกันหรือไม่ จะเป็นชนิดใด ได้เป็นอย่างดี

ที่มา อ.นพ.ยงค์ รงค์รุ่งเรือง
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=5

ภาพจาก
http://www.nkphospital.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=19


ไข้กาฬหลังแอ่น

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เห็ดหลินจือ มีดีเช่นไร?

เห็ดหลินจือ มีดีเช่นไร?


เปิดอ่าน 12,000 ครั้ง
ประโยชน์ต้นอ่อนทานตะวัน

ประโยชน์ต้นอ่อนทานตะวัน


เปิดอ่าน 19,365 ครั้ง
การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล


เปิดอ่าน 45,990 ครั้ง
ยาจำพวกซัลฟา

ยาจำพวกซัลฟา


เปิดอ่าน 50,410 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล

เปิดอ่าน 45,990 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 2 ลูกบอล (The Ball)
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 2 ลูกบอล (The Ball)
เปิดอ่าน 44,923 ☕ คลิกอ่านเลย

สารพัดคุณประโยชน์จาก"ผักบุ้ง" เสริมสุขภาพ-กันโรคยิ่งทานยิ่งดี
สารพัดคุณประโยชน์จาก"ผักบุ้ง" เสริมสุขภาพ-กันโรคยิ่งทานยิ่งดี
เปิดอ่าน 22,871 ☕ คลิกอ่านเลย

วัคซีนที่ผู้ใหญ่ควรฉีด
วัคซีนที่ผู้ใหญ่ควรฉีด
เปิดอ่าน 22,789 ☕ คลิกอ่านเลย

เส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยที่ขาแตก มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน
เส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยที่ขาแตก มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน
เปิดอ่าน 31,998 ☕ คลิกอ่านเลย

งูพิษกัด
งูพิษกัด
เปิดอ่าน 27,148 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติลูกเสือไทย
ประวัติลูกเสือไทย
เปิดอ่าน 3,884 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สะเทือนอารมณ์...พ่อร้องเพลงกล่อมลูก ก่อนเด็กน้อยลาโลกตามแม่
สะเทือนอารมณ์...พ่อร้องเพลงกล่อมลูก ก่อนเด็กน้อยลาโลกตามแม่
เปิดอ่าน 27,084 ครั้ง

ทำไมอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นผู้เล่นใหญ่ในเศรษฐกิจของหลายประเทศ
ทำไมอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นผู้เล่นใหญ่ในเศรษฐกิจของหลายประเทศ
เปิดอ่าน 3,922 ครั้ง

ตักขี้ควายขายรายได้เดือนละ 2 หมื่น
ตักขี้ควายขายรายได้เดือนละ 2 หมื่น
เปิดอ่าน 14,897 ครั้ง

น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร
น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร
เปิดอ่าน 128,357 ครั้ง

วิธีแบกเป้ไปโรงเรียนอย่างปลอดภัย
วิธีแบกเป้ไปโรงเรียนอย่างปลอดภัย
เปิดอ่าน 9,791 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ