การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนและนักเรียน โรงเรียนส้มป่อย
พิทยาคม อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร ครูผู้สอนและนักเรียน เพื่อนำใช้ในการพัฒนาโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคมอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหารและครูผู้สอน ผู้วิจัยเลือกใช้จากประชากร 2) นักเรียนโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม อำเภอราษีไศลจังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 229 คน ซึ่งได้มาโดยใช้เกณฑ์ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์การบริหารงานที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร 2) แบบสอบถามการบริหารงานที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และ 3) แบบสอบถามการบริหารงานที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลกำรวิจัยพบว่ำ ผู้บริหารมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดังนี้ด้านการจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้โรงเรียนมีการประชุม วางแผน กำหนดขอบข่ายของงานในแต่ละด้านให้แก่บุคลากรและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นคำสั่งโรงเรียนเพื่อมอบหมายงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ ตาม 5 องค์ประกอบ 3 สาระ โดยอ้างอิงจากคู่มืองานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปี 2560 ในส่วนของการสำรวจชื่อพื้นเมืองของพรรณไม้ การจัดทำทะเบียนพรรณไม้ และการจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ที่สมบูรณ์ ดำเนินการโดยให้นักเรียนสำรวจชื่อพื้นเมืองของพรรณไม้รอบๆ บริเวณโรงเรียน และสืบค้นจากเอกสาร หรือสื่ออินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งให้นักเรียนจัดทำป้ายชื่อประจำต้นไม้ ในขั้นแรก ชื่อพื้นเมือง ชื่อท้องถิ่น เป็นป้ายชั่วคราว จากนั้นจึงจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ที่สมบูรณ์ การศึกษาโครงสร้าง ส่วนประกอบและการจำแนกชนิดพืช ดำเนินการโดยแจกเอกสารพรรณไม้ ก7-003 ให้นักเรียนห้องละ 1 ชุด ไว้เป็นคู่มือ และร่วมกับครูที่ปรึกษา นักเรียนแกนนำช่วยกันจ าแนกชนิดของพืช โดยมีครูเป็นผู้ติดตามงานเป็นระยะ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงานการจัดท าตัวอย่างพรรณไม้แห้ง โรงเรียนได้มอบหมายให้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นแกนน าการวาดภาพทางพฤกษศาสตร์มอบหมายให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นแกนน า และการจัดท าผังพรรณไม้มอบหมายให้กลุ่มงานอาคารสถานที่เป็นแกนน า ในการด าเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมนักเรียนจะเป็นผู้ปฏิบัติโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา ส าหรับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอ านวยความสะดวกในการด าเนินงานโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนได้ก าหนดให้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
เป็นงานนโยบาย และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา ดำเนินโครงการเพื่อสนอง
พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และเป็นการสร้างจิตสำนึกในอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านการรวบรวมพรรณไม้เข้ามาปลูกในโรงเรียนโรงเรียนด าเนินการรวบรวมข้อมูลและภูมิปัญญาท้องถิ่น พืชพรรณไม้ท้องถิ่นและพืชในกลุ่มที่สนใจ โดยวิเคราะห์สภาพพื้นที่ความเหมาะสมพรรณไม้ที่ปลูกในเขตพื้นที่ แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละห้อง และขอความร่วมมือชุมชน วิทยากรท้องถิ่นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น พืชสมุนไพร มาให้ความรู้แก่นักเรียน และมอบหมายให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ จัดทำข้อมูลพรรณไม้ของตนเองคนละ 1 ต้น จากนั้นรวบรวมพืชในกลุ่มที่สนใจมาปลูกในเขตพื้นที่รับผิดชอบในวันสำคัญต่างๆ เช่นวันสถาปนาโรงเรียน วันแม่แห่งชาติ ในส่วนของการประสานงานและทำงานร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนได้จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ขอความร่วมมือจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้และต้นกล้าไม้ เพื่อนำมาปลูกในโรงเรียน สำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอของบประมาณของสถานศึกษา เพื่อใช้ในโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนได้ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์องค์กร (SWOT) จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อเสนอของบประมาณในการดำเนินงานโครงการ และโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้อย่างพอเพียง ทันสมัย ตรงตามความต้องการศึกษาค้นคว้าของบุคลากรและนักเรียน เพื่อใช้ศึกษา รวบรวมข้อมูล ในการด าเนินงานตามโครงการ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนด้านการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโรงเรียนจัดการอบรม ประชุม สัมมนา บุคลากร และเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายในเรื่องงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอย่างสม่ าเสมอ และเชิญผู้ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มาให้ความรู้กับบุคลากร นักเรียนแกนนำและขยายผลให้กับนักเรียนทุกคน และได้นำบุคลากรไปศึกษาดูงานนิทรรศการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่ได้จัดขึ้นตามจังหวัดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงาน โรงเรียนมีการศึกษาประโยชน์ของพรรณไม้ โดยบรูณาการกับการเรียนการสอนในสาระต่างๆ และนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบการจัดนิทรรศการให้ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับทราบ และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนด้านเขียนรายงานโรงเรียนมีการกำหนดแผนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประจำปี แต่งตั้งค าสั่งการปฏิบัติงาน มีการกำกับ ติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และรายงานหน่วยงานต้นสังกัดและโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด าริฯ (อพ.สธ.) ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง โรงเรียนมีการยกย่อง ชมเชย หรือประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานของครูในการใช้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในการจัดการเรียนการสอน จากการบรูณาการสู่การเรียนการสอนส่งผลให้ครู บุคลากร นักเรียน ได้รับรางวัลด้านต่างๆ และโรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารในการด าเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สู่การปฏิบัติงานในโรงเรียน ผ่านวารสารโรงเรียนในการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและการประชุมผู้ปกครองนักเรียนครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีผลต่อความส าเร็จของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดังนี้ความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีผลต่อความส าเร็จของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ4.64 รองลงมาคือ ด้านการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.63 และด้านการรวบรวมพรรณไม้เข้ามาปลูกในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดังนี้ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 4.58 รองลงมาคือ ด้านการจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49