ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์
เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสุปรียา สาริโก
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียน วีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้คือ 1) ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 2) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 3) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 4) ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) การดำเนินการวิจัยพบว่ามี 4 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยดำเนินการในปีการศึกษา 2559 2) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐาน ทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยดำเนินการในปีการศึกษา 2559 3) การศึกษา ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยดำเนินการใน ปีการศึกษา 2560 4) การประเมินผลรูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยดำเนินการในปีการศึกษา 2560 จากผลการวิจัยเป็นดังนี้
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่าระดับการปฏิบัติของครูในการจัดกิจกรรมเพื่อทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.01, S.D = 0.69) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด 3 ลำดับ ลำดับแรก คือ ครูมีสื่อและนวัตกรรมการจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยอย่างหลากหลาย ( = 3.29 , S.D. = 0.29) อยู่ในระดับปานกลาง ลำดับที่ 2 คือครูมีวิธีการสอนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยอย่างหลากหลาย ( =3.43, S.D. = 0.53) อยู่ในระดับปานกลาง และลำดับที่ 3 คือ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย ( = 3.57 , S.D.= 0.53) อยู่ในระดับมาก ซึ่งจากผลการสอบถามครูพบว่าครูยังจัดกิจกรรม ที่พัฒนาทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยโดยมีวิธีการ สื่อและนวัตกรรมการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลางซึ่งเป็นที่ไม่น่าพอใจ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีขั้นตอน 7 ขั้น คือ 1) ขั้นรับรู้ 2) ขั้นเตรียมความพร้อม 3) ขั้นสนองตอบภายใต้การควบคุม 4) ขั้นลงมือกระทำ 5) ขั้นกระทำอย่างชำนาญ 6) ขั้นปรับปรุงและประยุกต์ใช้ และ 7) ขั้นคิดริเริ่ม และรูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา (E1 / E2) มีค่าเท่ากับ 81.13/82.67
3. การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีคะแนนประเมินทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 6.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85 และคะแนนประเมินทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 10.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 และ ค่า t test เท่ากับ 25.76 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินผลรูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้บทเรียนวีดีทัศน์ เรื่อง หนองคายบ้านเรา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก