ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา โดยวิธีการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนหนองบัวพิทยาคม
ผู้วิจัย นายยศวัฒน์ เชื้อจันอัด
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคม โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาสุขศึกษาด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา 3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาสุขศึกษา โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 83.35/82.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิชาสุขศึกษา โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาสุขศึกษาด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด