Advertisement
Advertisement
สัปดาห์ที่แล้วทราบสาเหตุของกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม (CVS) กันไปแล้ว คราวนี้มาว่ากันต่อถึงวิธีการแก้ไข
ในเรื่องนี้ คุณอมรรัตน์ ขยันการนาวี บอกในจดหมายข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา พอสรุปหลักใหญ่ใจความได้ว่า ในเมื่ออาการคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ก็จะต้องจัดรูปแบบการทำงานกับมันให้เหมาะสม นั่นก็คือ
• ถ้าจะต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกินไป ให้กะพริบตาบ่อยขึ้น หรือพักสายตาจากคอมพิวเตอร์เป็นระยะๆ เช่น หากทำงานหน้าจอ 20-30 นาที ควรหยุดพักสายตา 2-4 นาที แล้วค่อยลืมตาขึ้นมาทำงานใหม่
• ควรจัดสิ่งแวดล้อม จัดแสงไฟและตำแหน่งจอภาพให้เหมาะสม อย่าให้แสงปะทะกับจอภาพและตาผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยวางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตาประมาณ 45-50 เซนติเมตร และวางในระดับที่ต่ำกว่าสายตาประมาณ 10-20 องศา เพื่อจะได้ไม่ต้องเหลือบตาสูง
• การปรับคลื่นแสงที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะปรับอยู่ที่ 60 Hz ระดับความถี่นี้จะทำให้เกิดแสงกะพริบ ทำให้ภาพบนจอเต้น ทำให้เราต้องปรับตาเพื่อโฟกัสใหม่ อยู่เรื่อย ทำให้เมื่อยล้าตา ทางที่ดีควรปรับความถี่ให้อยู่ระดับ 70-80 Hz จะทำให้จอภาพเต้นน้อยลง จะได้รู้สึกสบายตาขึ้น
กลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม นั้น เกิดขึ้นได้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกเพศทุกวัย อาการที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรง แต่อาจทำให้ประสิทธิภาพของงานลดลงได้ หากได้แก้ไขและจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมก็จะช่วยให้ ทำงานได้มีประสิทธิภาพ และทำงานอย่างมีความสุขได้ด้วย.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
Advertisement
|
เปิดอ่าน 19,142 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,397 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,898 ครั้ง |
เปิดอ่าน 60,358 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,597 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,559 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,701 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,621 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,309 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,780 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,362 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,738 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,462 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,292 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 16,199 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 10,990 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 19,412 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 23,255 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 28,280 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,338 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 37,636 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 18,323 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 21,609 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,561 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 7,779 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,050 ครั้ง |
|
|