ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคลองฉนวนวิทยา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคลองฉนวนวิทยา

โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ชื่อผู้วิจัย นางพรทิพย์ นุกูลกิจ

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561 - 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคลองฉนวนวิทยา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 4) ประเมินและปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มผู้เกี่ยวข้องในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาพื้นฐานและผู้ปกครอง ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 6 ขั้นตอน 3 รอบ คือ คือ R1D1, R2D2 และ R3D3 ดังนี้คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (R1) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (D1) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรอบที่ 1 (R2) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรอบที่ 1 (D2) ขั้นตอนที่ 5 การทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรอบที่ 2 (R3) และ ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผลและปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรอบที่ 2 (D3)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

จากการศึกษาสภาพปัจจุบันโดยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การพัฒนาระบบการประเมินเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน โดยมุ่งหวังว่าผู้เรียนจะเติบโตอย่างมีคุณภาพรอบด้าน ทั้งทางด้านสติปัญญา ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และด้านการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคม พร้อมด้วยสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โดยการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและความพร้อมของบุคลากรในโรงเรียน อีกทั้งจะต้องประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและหน่วยงานอื่นภายนอกอย่างใกล้ชิด เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามกรอบแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาศัยการจัดองค์ประกอบตามแนวคิดเชิงระบบในการมองภาพงานวิจัยให้ชัดเจนขึ้น โดยจัดในกรอบความคิดด้านปัจจัย (Input) ซึ่งได้แก่ แนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ตลอดจนบริบทของสถานศึกษา ด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ การพัฒนากระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามระบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แนวคิดการประเมินตามสภาพจริง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และมีการประเมินเชิงปฏิบัติการเป็นกลไกควบคุม (Control) ผลผลิต (Output) คือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้น ส่วนข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เป็นการตรวจสอบในแต่ละส่วน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาผลลัพธ์ (Outcomes) ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบด้วย ซึ่งได้แก่ ผลที่เกิดกับผู้เรียน ครู และผู้บริหาร รวมทั้งผู้ปกครอง โดยการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การพัฒนาระบบ การประเมินเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและบริบทของโรงเรียน

2 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม” (Participative Student Support System : PSSS) พัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของ ผู้บริหาร ครูทุกคน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนประกอบด้วยระบบย่อยซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นวงจร 4 ระบบ ได้แก่ ระบบวางแผน (Plan) ระบบปฏิบัติการ (Act) ระบบตรวจสอบ (Observe) และระบบสะท้อนผล (Reflect) โดยในแต่ละระบบจะมีระบบย่อยใน 4 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน ดังนี้

2.1 ระบบวางแผน มีขั้นตอนในการดำเนินการประกอบด้วย ขั้นวางแผน โดยการจัดประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ และร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานมีประสิทธิผล ขั้นปฏิบัติการ ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันศึกษาปัญหาของโรงเรียน กำหนดแนวทางปฏิบัติ การตรวจสอบ และการสะท้อนผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยยึดกรอบการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) การคัดกรอง (3) การส่งเสริมและพัฒนา (4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา และ (5) การส่งต่อ กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติ ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติ ตรวจสอบ สะท้อนผล และสรุปเป็นแผนปฏิบัติการ ขั้นตรวจสอบ ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบแผนปฏิบัติที่ร่วมกันสร้างขึ้น โดยการประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ขั้นสะท้อนผล ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันนำผลที่ได้จากขั้นตรวจสอบมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนขึ้น สามารถนำไปปฏิบัติได้

2.2 ระบบปฏิบัติการ มีขั้นตอนในการดำเนินงานประกอบด้วย ขั้นวางแผนดำเนินการโดยผู้บริหารและครูที่เกี่ยวข้อง ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียนในการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูทีมประสานและทีมทำร่วมกันวิเคราะห์มาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน ขั้นปฏิบัติการ ครูที่ปรึกษาปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้เรียนดูแลแก้ไขพัฒนาตนเองและเพื่อนนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนดูแลนักเรียนเมื่ออยู่ที่บ้านและในชุมชน พร้อมกับประสานความร่วมมือกับโรงเรียน เมื่อนักเรียน

มีปัญหา ขั้นตรวจสอบ ครูที่ปรึกษาตรวจสอบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ปฏิบัติว่าเป็นไปตามแนวทางที่ร่วมกันกำหนดขึ้นหรือไม่ โดยครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ขั้นสะท้อนผล ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษา

2.3 ระบบติดตามตรวจสอบ มีขั้นตอนในการดำเนินงานประกอบด้วย ขั้นวางแผนดำเนินการโดยจัดประชุมคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ขั้นปฏิบัติการ ดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติของครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ในขั้นปฏิบัติการใช้แบบประเมินที่สร้างขึ้น ในขั้นตรวจสอบ กรรมการประเมินทบทวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในขั้นสะท้อนผล ผู้เกี่ยวข้องนำผลในขั้นตรวจสอบ ทบทวนและปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบการปฏิบัติ

2.4 ระบบสะท้อนผล มีขั้นตอนในการดำเนินการประกอบด้วย ขั้นวางแผน โดยการจัดประชุม คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้จากระบบติดตามตรวจสอบมาร่วมกันวางแผนปรับปรุงแก้ไข ขั้นปฏิบัติการ ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อมูลที่ได้ แล้วจัดทำเอกสารรายงานผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ขั้นตรวจสอบ คณะกรรมการร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม ครบถ้วนในกระบวนการปรับปรุง และขั้นสะท้อนผล ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันทบทวน ปรับปรุงตามผลจากการตรวจสอบ

3. ผลการทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสรุปผลได้ ดังนี้

ในการทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในรอบที่ 1 พบว่า ผลการดำเนินงานของโรงเรียนผลของการวิจัยมีค่าสูงกว่าเกณฑ์เกือบทุกตัวชี้วัด และในการทดลองใช้ระบบในรอบที่ 2 พบว่า ผลการดำเนินงานมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด แสดงว่า ในการทดลองรอบที่ 2 ผลการดำเนินงานของโรงเรียนโดยภาพรวมพัฒนามากกว่าการทดลองใช้ระบบในรอบที่ 1 เมื่อพิจารณาผลการประเมินทบทวนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และประเมินประสิทธิผลของระบบสรุปได้ ดังนี้

3.1 ผลการประเมินทบทวนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งมี 3 มาตรฐาน และ 14 ตัวชี้วัด พบว่า ผลการประเมินในด้านนักเรียน ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัย ในรอบที่ 1 มีบางตัวชี้วัดไม่ผ่านเกณฑ์ ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องจึงได้พัฒนาในส่วนบกพร่อง ทำให้ผลจากการประเมินในรอบที่ 2 ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด

3.2 ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานซึ่งกำหนดโดย Stufflebeam และคณะ (1981 อ้างถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี. 2552 : 178-180) โดยพิจารณาจากด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานจริง ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ และด้านผลที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า ประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนคลองฉนวนวิทยา ผลการวิจัยจากการทดลองใช้รอบที่ 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการทดลองใช้ในรอบที่ 1 เกือบทุกตัวชี้วัด แสดงว่า ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น มีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นจากการดำเนินงานในรอบที่ 2

4. ผลการประเมินและปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ผลจากการประเมินและปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในรอบที่ 1 และ 2 แล้วดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

4.1 ด้านการใช้ประโยชน์ของระบบ ตอบสนองต่อการความต้องการใช้ระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียน ได้รูปแบบกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำไปพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ แล้วรายงานผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำผลไปใช้ประโยชน์

4.2 ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน ครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เป็นที่ยอมรับของผู้บริหาร ครูนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ผลการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความคุ้มค่า

4.3 ด้านความเหมาะสม สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยอาศัยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลัก ดำเนินการตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณ

4.4 ด้านความถูกต้องน่าเชื่อถือ สอดคล้องกับความสำคัญและจำเป็นของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน แสดงด้วยแผนภาพ ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย กำหนดตัวชี้วัดและเครื่องมือที่ใช้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในระบบการดุแลช่วยเหลือนักเรียนถูกต้อง หลากหลาย และครบถ้วน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไว้อย่างชัดเจน

4.5 ด้านผลที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง

4.5.1 ด้านความพึงพอใจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน ประเมินผู้เรียนในทิศทางเดียวกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านนักเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองและชุมชน

4.5.2 ด้านการดูแลนักเรียน นักเรียนได้รู้จักตนเอง สามารถปรับตัวมีทักษะทางสังคมและอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ครูผู้สอนนำผลการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารโรงเรียนนำข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนไปใช้ในการกำหนดแนวทางในการพัฒนานักเรียน หลักสูตร และคุณภาพการจัดการศึกษา นอกจากนี้ โรงเรียนได้รับการยอมรับ การสนับสนุน และการร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

โพสต์โดย KRU_GAS : [25 เม.ย. 2563 เวลา 13:00 น.]
อ่าน [3352] ไอพี : 171.6.226.53
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 112,231 ครั้ง
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการประเมินครูผู้ช่วย
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการประเมินครูผู้ช่วย

เปิดอ่าน 38,798 ครั้ง
การคิดเลขในใจ
การคิดเลขในใจ

เปิดอ่าน 29,303 ครั้ง
การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อการศึกษาคุณภาพ : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อการศึกษาคุณภาพ : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย

เปิดอ่าน 11,207 ครั้ง
ปลุกเด็กเขียนจดหมาย ลดใช้ facebook
ปลุกเด็กเขียนจดหมาย ลดใช้ facebook

เปิดอ่าน 23,618 ครั้ง
ตัวหนังสือไทย
ตัวหนังสือไทย

เปิดอ่าน 12,696 ครั้ง
12 เคล็ดลับที่ช่วยให้หนุ่ม ๆ ลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น
12 เคล็ดลับที่ช่วยให้หนุ่ม ๆ ลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น

เปิดอ่าน 10,855 ครั้ง
ชมคลิปที่ แอ๊ด คาราบาว จัดเอ็มวี "นาวารัฐบุรุษ" ให้บิ๊กตู่
ชมคลิปที่ แอ๊ด คาราบาว จัดเอ็มวี "นาวารัฐบุรุษ" ให้บิ๊กตู่

เปิดอ่าน 17,361 ครั้ง
แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน

เปิดอ่าน 26,626 ครั้ง
ระบบสี Subtractive
ระบบสี Subtractive

เปิดอ่าน 1,505 ครั้ง
"ขุนหลวงท้ายสระ" พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา
"ขุนหลวงท้ายสระ" พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา

เปิดอ่าน 81,811 ครั้ง
พยางค์ และ คำ
พยางค์ และ คำ

เปิดอ่าน 14,489 ครั้ง
รถไฮบริด (Hybrid) คืออะไร
รถไฮบริด (Hybrid) คืออะไร

เปิดอ่าน 19,884 ครั้ง
ความหมายของเครื่องในพิธี
ความหมายของเครื่องในพิธี

เปิดอ่าน 31,139 ครั้ง
สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้

เปิดอ่าน 12,501 ครั้ง
เทคนิค 6 ต. เพื่อสอบแอดมิชชั่นให้ "ติด"
เทคนิค 6 ต. เพื่อสอบแอดมิชชั่นให้ "ติด"

เปิดอ่าน 22,887 ครั้ง
ผักแว่น...ผักพื้นบ้านแต่มีคุณค่า
ผักแว่น...ผักพื้นบ้านแต่มีคุณค่า
เปิดอ่าน 24,140 ครั้ง
ไมยราบไร้หนาม
ไมยราบไร้หนาม
เปิดอ่าน 15,623 ครั้ง
เพลงประจำอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน
เปิดอ่าน 57,836 ครั้ง
สูตรคูณ
สูตรคูณ
เปิดอ่าน 18,856 ครั้ง
การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน
การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ