บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ
ของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้ (ชุมชนสันช้างหิน) อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
ชื่อผู้รายงาน นายธงชัย จันแย้
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2561
การรายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยใช้แบบจำลองเคาน์ทิแนนซ์ของสเตค ประเมินในด้านความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังและความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ประเมินความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และการตัดสินใจ ในด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินผลความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังของโครงการระหว่างด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน)
2. เพื่อประเมินผลความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการระหว่างด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน)
3. เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในด้านสิ่งนำด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน)
4. เพื่อประเมินการตัดสินใจในด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ
5. เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน)
โดยใช้เกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน ผู้ปกครอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 รวม 112 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 4 ฉบับ แล้วสัมภาษณ์นักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 11 คน เพื่อให้คำตอบของการประเมินชัดเจนขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินความสัมพันธ์เชิงตรรกะของสิ่งที่คาดหวังจากโครงการ ระหว่างด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ในด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติและด้านผลที่ตามมา ของโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) อยู่ในระดับมาก
3. ความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) สอดคล้องกัน ทั้งด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมา ในความเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความสอดคล้องกันทุกด้าน ส่วนความเห็นของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) เห็นว่าผลที่ตามมามีความสอดคล้องกันระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
4. การตัดสินใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าในด้านสิ่งนำ และด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์ ตามเกณฑ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดไว้ที่ร้อยละ 72 ขึ้นไป และผลจากการสัมภาษณ์นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) เกี่ยวกับด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมา พบว่าความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม
5. ความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) ด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมา ในความเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนความเห็นของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน) เห็นว่า ด้านผลที่ตามมามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
สรุปว่า โครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลดอกคำใต้(ชุมชนสันช้างหิน)เป็นโครงการที่บรรลุวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ จึงถือว่าเป็นโครงการที่ดี เพราะมีคุณค่าที่ผ่านเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และความพึงพอใจ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์