ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้
แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน
โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาววชิราภรณ์ จุลราลัย
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองเพชรบุรี
ปีการศึกษา : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพใน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อ ส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิด เชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) กลุ่มเป้าหมายใน การวิจัย ได้แก่ ครู และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) ในปีการศึกษา 2562 จำนวนรวม 480 คน จำแนกเป็นครูแกนนำ จำนวน 9 คน ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 จำนวน 25 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 446 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลวิจัยพบว่า
1) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) ได้รูปแบบการบริหารมีชื่อว่า ไอพีดีโออาร์ (IPDOR Model) มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการ คือ การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการสร้างเจตคติ การสร้างครูแกนนำและการสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ครูมีความตั้งใจในการปฏิบัติงานและปฏิบัติงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูและยกระดับทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน กระบวนการบริหาร มี 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เสริมสร้างความตั้งใจในการปฏิบัติงาน (Intention to Act) ขั้นที่ 2 การวางแผนการดำเนินการพัฒนา (Planning) ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการพัฒนา (Doing) ขั้นที่ 4 การสังเกตและประเมินผล (Observation and Evaluating) ขั้นที่ 5 การสะท้อนผลและการปรับปรุงพัฒนา (Reflection and Development)โดยมีเงื่อนไขการนำ รูปแบบไปใช้ ได้แก่ 1) ครูมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวศตวรรษที่ 21 ในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน 2) ครูแกนนำเป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะใน
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนและเป็นบุคคลที่ครูมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน 3) ครูมีความเชื่อว่าตนมีความรู้และความสามารถที่จะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนได้ 4) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวศตวรรษที่ 21 และมีความเชื่อว่าเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน 5) ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสนับสนุนส่งเสริมและกำกับติดตามการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน
2) ผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ครูมีสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลัง การใช้รูปแบบการบริหารอยู่ในระดับสูงมาก ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูพัฒนาขึ้นทุกระดับชั้น และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู ในระดับมากที่สุด