ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
บทความวิจัย เรื่อง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒

บทความวิจัย

การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒

ดร.;วินนารัชน์ ชัยวิทยนันต์*

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน เน้นการวิจัยและพัฒนา โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนทั้งด้านวิชาการและด้านส่งเสริมวิชาการ ได้แก่ ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องพยาบาล สนามกีฬาและนันทนาการ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม พบว่า มีการจัดแหล่งเรียนรู้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ แต่ยังไม่เกิดประสิทธิภาพ ขาดการดูแลเอาใจใส่ขาดสื่ออุปกรณ์ สถิติผู้เข้าใช้บริการน้อย สภาพห้องเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ไม่สะอาด แสงไม่พอวัสดุครุภัณฑ์ในห้องชำรุด ป้ายนิเทศไม่เป็นปัจจุบัน เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ส่วนแหล่งเรียนรู้สนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่ ห้องพยาบาล สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม และสนามกีฬาและนันทนาการ ครูที่รับผิดชอบไม่ใส่ใจ เช่น ห้องพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์บางอย่างหมดอายุ สวนสาธิตทฤษฎีใหม่ บางอย่างชำรุด ปัญหาคือ ขาดการบริหารจัดการที่ดี ทั้งด้านบุคลากรและด้านงบประมาณ รวมถึงการระดมทุนทรัพยากรทางการศึกษาขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน ครูไม่มีเวลาดูแลรับผิดชอบแหล่งเรียนรู้อย่างเต็มที่ ขาดการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมเพื่อกระตุ้นนักเรียนเข้าไปใช้แหล่งเรียนรู้ไม่ต่อเนื่องครูยึดติดกับการจัดการเรียนรู้แบบเดิม คือ เน้นสอนแต่ในห้องเรียน เน้นการเรียนแบบท่องจำ

* รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา ๒

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

2. แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา ๒ จากการร่วมประชุมของผู้ร่วมวิจัยมีมติให้พัฒนา 1)การพัฒนาบุคลากร โดยใช้การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2)การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 2 ด้าน คือ แหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการ คือ ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และแหล่งเรียนรู้สนับสนุนวิชาการ คือ ห้องพยาบาล สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม และสนามกีฬาและนันทนาการ 3) การติดตามผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยการนิเทศภายใน โดยเน้นครูจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนมากขึ้น ครูจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอนให้รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ วิชาการจัดตารางการเข้าใช้แหล่งเรียนรู้ในเวลาเรียนให้จัดเจนและบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อครูจะได้ใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึงไม่กระจุกตัวที่ห้องใดห้องหนึ่ง ผลการพัฒนาทั้งด้านวิชาการและด้านสนับสนุนวิชาการ ความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการแหล่งเรียนรู้ในวงรอบที่ 1 พบว่า หลังการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ที่มีการพัฒนามากที่สุด ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก เรียงลำดับที่ 1 - 3 คือ สนามกีฬาและนันทนาการ ห้องสมุดและห้องเรียน ส่วนห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องพยาบาล และสวนหย่อมและแปลงสาธิตการเกษตร ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยร่วมกันประชุมมีมติให้ดำเนินการพัฒนาใหม่ในวงรอบที่ 2 โดยใช้แนวทางการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และทำการพัฒนาโดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน ควบคู่กับการนิเทศภายใน หลังการพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่าแหล่งเรียนรู้ทุกแหล่งเรียนรู้มีการพัฒนาขึ้น ซึ่งได้เปรียบเทียบความพึงพอใจของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว ระหว่างวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ในภาพรวม มีการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 22.80

คำสำคัญ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Learning Resources Development to Support Learning Management in the 21st Century of the Nawaminthrachinuthit Satriwithaya 2 School

Dr.Winnarat chaiwittayanun*

Abstract

The learning resources developed to support learning management in the 21st Century of the Nawaminthrachinuthit Satriwithaya 2 School is a mixed methods research focusing the research and development (R&D) through participation in learning resource development. The sample used in this study includes administrators, teachers, students, and parents. The results showed as follows:

1. Conditions and problems on school learning resources both academic and academic support, including; classrooms, libraries, computer labs, science labs, nursing rooms, sports stadium and recreation, new theory agricultural gardens, and small parks were found that learning resources contributed, but ineffective and neglected to learn management, insufficient materials and equipment, a few numbers of users, disordered classroom and learning resources, insufficient light, defective classroom materials and equipment, obsolete supervisory labels in science labs and computer labs while learning sources in academic support, including; nursing rooms, new theory agricultural gardens, and small parks, sports stadium and recreation were found that they were neglected by teachers, for example, nursing rooms, some drugs, and medical supplies expired, new theory demonstration park were defective. Problems identified were

*Deputy Director, Senior Professional Level Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School

Doctor of Education (Educational Administration) Bangkokthonburi University

deficient management in both personnel and budget and educational resources funding, lacked the participation of the community and all sectors, teachers had inadequate time to take responsibility for resources, deficient public relation activities to encourage students to use continuous learning resources, teachers adhere to traditional learning management, conventional teaching in the classroom and rote learning.

2. Guidelines for the development of learning resources to support learning management in the 21st century for the Nawaminthrachinuthit Satriwithaya 2 School. The meeting of the research participants had the resolution for development as follows: 1) human resource development through a study visit to a protocol school in the learning resources development, 2) workshop - the development of learning resources to support learning management in the 21st century shall be executed in both aspects, namely; academic learning sources include classrooms, libraries, computer labs and science labs, and learning resources in academic support include nursing rooms, agricultural gardens, new theory and gardens, sports stadium and recreation, 3) monitoring the development of learning resources to support learning management in the 21st century through internal supervision where learning outside of the classroom and student-centered approach are more emphasized, teaching the students to think and analyze critically, more definite scheduling for access to the learning resources during the study time and integrate all subject areas so that teachers may use the learning resources in teaching and learning thoroughly, and not being concentrated in a particular room. On the development outcomes both academic and academic support, the user’s satisfaction in the first cycle was found that at post-development, the most developed learning source and the high level of user satisfaction proceeded from 1 to 3, including sports stadium and recreation, library, and classroom. However, computer labs, science labs, nursing rooms, and gardens and agricultural demonstration plot were put into the repeated development in the second cycle by the researcher and co-researcher’s resolution at the meeting, through the development approaches such as workshop and the development through student participation in all development stages, along with internal supervision. At post-development in the second cycle, it was found that all learning resources have been improved. The comparison in the user’s satisfaction between cycle 1 and cycle 2 was improved by 22.80%.

Keywords: Learning Resource Development, 21st Century Learning Management

บทนำ

การทำให้บุคคลสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จำเป็นต้องมีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติและแหล่งเรียนรู้ที่บุคคลสร้างขึ้น เนื่องจากสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่ง การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ก็มีความสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดกับผู้เรียนจากแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลายมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552 : 25-27) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนให้มีขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันบนเวทีโลก การขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาว่าการเรียนไม่ใช่เพื่อการสอบแต่เรียนให้ได้ทักษะชีวิตสามารถอยู่ในยุคโลกไร้พรมแดน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559, หน้า 68) และสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกนับเป็นตัวบ่งชี้ที่ีสำคัญประการหนึ่ง สำหรับความพร้อมในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ของแต่ละประเทศ แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้หลายประเทศในสังคมโลกต้องปฏิรูปการศึกษาก็คือ เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

จาก SWOT สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า นักเรียนขาดทักษะ ความรู้ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผลและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559, หน้า 83) และสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านวิชาการปรับปรุงเนื้อหาวิชาเรียนให้เหมาะสม มีการฝึกปฏิบัติลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความแตกแยกเน้นให้ผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พัฒนาทักษะชีวิตเพื่ออยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559, หน้า 86) ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ยุคศตวรรษที่ 21 ตั้งอยู่บนฐานคิดที่เชื่อ ว่า รูปแบบการศึกษาแบบดั้งเดิมในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งเน้นย้ำแต่การเรียนและท่องจำเนื้อหาในสาระวิชาหลัก อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศึกษา ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วในการดำรงชีวิตและการทำงานในโลกศตวรรษใหม่ภายใต้ความท้าทายใหม่ สำหรับแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นั้น ตั้งต้นจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างนักเรียนที่มี “คุณลักษณะ” อันพึงปรารถนาของโลกศตวรรษที่ 21 ได้ นั่นคือ รู้จักคิด รักการเรียนรู้มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหาปรับตัวและ สื่อสารพร้อมทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลตลอดชีวิต (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยทีดีอาร์ไอ, 2557, ออนไลน์)

แหล่งเรียนรู้ คือ แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางต่อเนื่องและสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในโรงเรียนและในชุมชนทีมีคุณค่าและประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ ห้องคอมพิวเตอร์ สนามกีฬา สวนเกษตรสวนหย่อม สวนสมุนไพร สภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล องค์กร องค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี อาชีพวิถีชีวิตที่สามารถนำมาใช้จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความสนใจใคร่รู้ และเป็นบุคคลที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีหลักการดำเนินงานเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแนวคิดที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนจากแหล่งเรียนรู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาที่หลากหลายในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นแหล่งในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลสำหรับผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้วิทยาการต่างๆ ดังนั้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนจึงเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ขาดไม่ได้ต้องส่งเสริมยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุกมิติเพื่อสอดรับกับสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ปรับปรุงพัฒนา ส่งเสริมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตครบตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของหลักหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา สืบเนื่องจากสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาปี 2550 มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับ 3.04 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาในอนาคตสถานศึกษาควรนำแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญใกล้สถานศึกษามาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2550, หน้า 3)

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พุทธศักราช 2535 โดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ทำการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โดยเป็นการนำแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ภายในโรงเรียนมาปรับใช้กับการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้จากสภาพจริงโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ครู เพื่อนในห้องเรียน เพื่อนต่างห้องเรียน บุคลากรภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ศูนย์อาหารนวมินทราชินูทิศ ห้องน้ำห้องเรียน เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งวิชาการ ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องศิลปะ ศูนย์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นต้นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ ใบไม้ ก้อนหิน ดิน เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สวนเกษตร สวนสมุนไพร สนาม สวนดอกไม้ สวนหย่อม สวนผักแนวตั้ง เป็นต้นจากการประเมินสถานศึกษาพอเพียงของคณะกรรมการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปีการศึกษา 2562 ณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ พบว่า ในด้านของผลการประเมินทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านผลลัพธ์ อยู่ในระดับ ดีมาก และนอกจากนี้คณะกรรมการจากสำนักงานเขตพื้นที่ ยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับในการประเมินรอบต่อไป คือมีด้านใดบ้างที่การพัฒนา สนับสนุนส่งเสริมมีคุณภาพมากขึ้น และจะมีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมในการประเมินสถานศึกษาพอเพียงในครั้งต่อไปอย่างไรโรงเรียนจึงได้กำหนดแผนปฏิบัติการประจำปีตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านวิชาการได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควบคู่กับการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการ ได้แก่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และแหล่งเรียนรู้ด้านส่งเสริมวิชาการ ได้แก่ ห้องพยาบาล สวนสมุนไพร แปลงสาธิตการเกษตร ซึ่งแต่ละวิชาจะมีครูผู้รับผิดชอบแต่ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากมีสภาพเสื่อมโทรม ขาดงบประมาณ และจากการประชุมครูเรื่องแผนด้านงบประมาณคณะครูได้เห็นร่วมกันจัดสรรงบประมาณการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และอาคารสถานที่เพิ่มขึ้น (จิตติพงษ์ ศรแผลง, 2562, หน้า 15)

ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาสภาพและปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงพอกับความต้องการของผู้เรียนผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ตามความต้องการ ความสนใจและความถนัดของตนเอง ก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒

2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒

3. เพื่อติดตามผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒

วิธีการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายการวิจัย

1. กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย เรื่อง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ แบ่งได้ ดังนี้

1.1 กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

1.2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน สภานักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย

การวิจัยได้จำแนกการใช้เครื่องมือตามลักษณะของกาดำเนินงานดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ประเภทของเครื่องมือ

เครื่องมือในการวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผน ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมครู แบบสัมภาษณ์สภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แบบสอบถามการศึกษาดูงาน แบบสอบถามการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนา แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของงนักเรียนในการพัฒนา แบบบันทึกการนิเทศภายใน

1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมและใช้ในการสะท้อนผล ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

2. ลักษณะของเครื่องมือ

2.1 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพ และปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

2.2 แบบบันทึกการประชุมครู เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพและปัญหาความจำเป็นในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

2.3 แบบสอบถามการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีลักษณะแบบปลายปิด

2.4 แบบประเมิน การศึกษาดูงาน มีลักษณะแบบปลายปิด

2.5 แบบสังเกต พฤติกรรมการพัฒนา มีลักษณะแบบปลายปิด

2.6 แบบสอบถามความพึงพอใจ มีลักษณะแบบปลายปิด

2.7 แบบบันทึกการนิเทศภายใน มีลักษณะแบบปลายเปิด

2.8 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของงนักเรียนในการพัฒนามีลักษณะแบบปลายปิด

3. การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือ เรียกว่าค่าสัมประสิทธิ์ของความเที่ยง (Reliability Coefficient)

3.1 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าอำนาจจำแนกจากผู้เชี่ยวชาญ วัดได้ที่ 4.80

3.2 แบบบันทึกการประชุมครู มีค่า อำนาจจำแนกจากผู้เชี่ยวชาญวัดได้ที่ 5.00

3.3 แบบสอบถามการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีค่าอำนาจจำแนกจากผู้เชี่ยวชาญวัดได้ที่ 14.00

3.4 แบบประเมิน การศึกษาดูงาน มีค่าอำนาจจำแนกจากผู้เชี่ยวชาญ วัดได้ที่ 10.00

3.5 แบบสังเกต พฤติกรรมการพัฒนา มีค่าอำนาจจำแนกจากผู้เชี่ยวชาญ วัดได้ที่ 9.00

3.6 แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกจากผู้เชี่ยวชาญ วัดได้ที่ 35.00

3.7 แบบบันทึกการนิเทศภายใน มีค่าอำนาจจำแนกจากผู้เชี่ยวชาญ วัดได้ที่ 2.00

3.8 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของงนักเรียนในการพัฒนามีค่าอำนาจจำแนกจากผู้เชี่ยวชาญ วัดได้ที่ 28.00

นำแบบสัมภาษณ์ที่ปรับปรุงแก้ไขเสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์และหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Consistecy : IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ซึ่งมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการสรุปผลการวิจัย ดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา ๒

1.1 พบว่าสภาพและปัญหาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนทั้งด้านวิชาการและด้านส่งเสริมวิชาการ ได้แก่ ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องพยาบาล สนามกีฬาและนันทนาการ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม พบว่า มีการจัดแหล่งเรียนรู้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ แต่ยังไม่เกิดประสิทธิภาพ ขาดการดูแลเอาใจใส่ขาดสื่ออุปกรณ์ สถิติผู้เข้าใช้บริการน้อย สภาพห้องเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ไม่สะอาด แสงไม่พอวัสดุครุภัณฑ์ในห้องชำรุด ป้ายนิเทศไม่เป็นปัจจุบัน เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ส่วนแหล่งเรียนรู้สนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่ ห้องพยาบาล สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม และสนามกีฬาและนันทนาการ ครูที่รับผิดชอบไม่ใส่ใจ เช่น ห้องพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์บางอย่างหมดอายุ สวนสาธิตทฤษฎีใหม่ บางอย่างชำรุด ปัญหาคือ ขาดการบริหารจัดการที่ดี ทั้งด้านบุคลากรและด้านงบประมาณ รวมถึงการระดมทุนทรัพยากรทางการศึกษาขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน ครูไม่มีเวลาดูแลรับผิดชอบแหล่งเรียนรู้อย่างเต็มที่ ขาดการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมเพื่อกระตุ้นนักเรียนเข้าไปใช้แหล่งเรียนรู้ไม่ต่อเนื่องครูยึดติดกับการจัดการเรียนรู้แบบเดิม คือ เน้นสอนแต่ในห้องเรียน เน้นการเรียนแบบท่องจำ

2. แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา ๒ จากการร่วมประชุมของผู้ร่วมวิจัยมีมติให้พัฒนา ดังนี้

2.1 การพัฒนาบุคลากร โดยใช้แนวทางดังนี้ 1) การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พบว่าโรงเรียนต้นแบบมีบริการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ดีและเป็นระบบ นักเรียนมีระเบียบวินัย เด็กมีคุณภาพจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี และมีผลงานทางวิชาการมากมาย ส่งผลให้ครูที่ร่วมศึกษาดูงานเกิดแรงบันดาลใจในการที่จะพัฒนางาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งวิทยากรทั้ง 2 ท่าน เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ ด้านการพัฒนาและการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ได้บรรยาย ทำให้ผู้เข้ารับการประชุมได้รับเทคนิควิธีการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมากกว่าการสอนในห้องเรียนอย่างเดียว

2.2 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 2 ด้าน คือ 1) แหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการ คือ ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) แหล่งเรียนรู้สนับสนุนวิชาการ คือ ห้องพยาบาล สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม และสนามกีฬาและนันทนาการ

3. การติดตามผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

3.1 การนิเทศภายใน เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน ดังนั้น ทุกคนมีส่วนสำคัญในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ซึ่งการนิเทศเน้นการชี้แนะเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันมิใช่การจับผิดหลังการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้และทักษะด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น ให้ความร่วมมือในการพัฒนา มุ่งมั่นในการทำงานมีความกระตือรือร้น โดยภาพรวมหลังการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ผู้ร่วมวิจัยมีพฤติกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.87) เปรียบเทียบร้อยละการพัฒนา ระหว่างการพัฒนากับหลังการพัฒนา มีการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 23.00 มีการจัดหาโสตทัศนวัสดุ อุปกรณ์เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับผลวิจัยด้านที่ได้รับการพัฒนาสูงสุด คือ การจัดหาโสตทัศนวัสดุ อุปกรณ์ในห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอ มีการพัฒนาร้อยละ 32.60 นักเรียนและครูเข้ามาใช้บริการแหล่งเรียนเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสถิติผู้เข้าใช้บริการแหล่งเรียนรู้หลังการพัฒนาเมื่อเทียบก่อนการพัฒนาเพิ่มขึ้นถึง 1,841 ครั้ง/ภาคเรียน แหล่งเรียนรู้มีผู้เข้าใช้บริการมากที่สุดในวงรอบที่ 1 คือ ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยที่สุด คือ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม หลังการพัฒนาในวงรอบที่ 2 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.90) เทียบระหว่างวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ในภาพรวม มีการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 22.80 และเมื่อเรียงลำดับผลการพัฒนาจากมากไปหาน้อย พบว่า ลำดับที่หนึ่ง ได้แก่ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม มีการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 34.40 ลำดับสุดท้าย ห้องพยาบาล มีการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 16.40 แสดงว่าหลังการพัฒนาทุกแหล่งเรียนรู้ผู้เข้าใช้บริการในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนเพิ่มขึ้น ครูจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนมากขึ้น ครูจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอนให้รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตและการทำงาน และทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริการจัดการแหล่งเรียนรู้ วิชาการจัดตารางการเข้าใช้แหล่งเรียนรู้ในเวลาเรียนให้จัดเจนและบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อครูจะได้ใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึงไม่กระจุกตัวที่ห้องใดห้องหนึ่ง ครูผู้รับผิดชอบห้องทำการแต่งตั้งนักเรียนช่วยงาน ในการทำความสะอาด ดูแลความเรียบร้อยภายในห้องหรือแหล่งเรียนรู้นั้น และบันทึกสถิติการเข้าใช้บริการเป็นปัจจุบันพร้อม ทาทะเบียนการใช้แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ครูแต่ละรายวิชาสามารถนานักเรียนเข้ามาใช้แหล่งเรียนรู้ได้ทั้งในตารางเรียนและนอกตารางเรียนพร้อมทั้งสามารถยืมสื่อการเรียนการสอนได้ โดยผู้รับผิดชอบแหล่งเรียนรู้ ทาทะเบียนยืมสื่อเพื่อสามารถนำกลับไปสอนในห้องเรียน หรือครู นักเรียนสามารถนำกลับบ้านได้ นอกจากนี้ครูที่จัดการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ควรจัดหาสื่อหรือใช้สื่อประกอบการเรียนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นความสนใจเด็กในการอยากรู้ อยากเรียนมากขึ้น ต้องจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรมุ่นเน้นการคิดวิเคราะห์และเน้นทักษะชีวิตและอาชีพควบคู่กับการสอนวิชาการมีการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์กับชุมชนด้านการดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนได้ดำเนินการแล้วให้แก่ชุมชน หรือ หมู่บ้านทราบ เช่น การประชาสมพันธ์ผ่านเสียงตามสายหมู่บ้าน การทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบเวลาประชุมผู้ปกครองนักเรียน

ซึ่งจากแหล่งเรียนรู้ ทั้งด้านวิชาการและด้านสนับสนุนวิชาการ ความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการแหล่งเรียนรู้ในวงรอบที่ 1 พบว่า หลังการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ที่มีการพัฒนามากที่สุด ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก เรียงลำดับที่ 1 - 3 คือ สนามกีฬาและนันทนาการ ห้องสมุดและห้องเรียน ส่วนห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องพยาบาล และสวนหย่อมและแปลงสาธิตการเกษตรผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยร่วมกันประชุมมีมติให้ดำเนินการพัฒนาใหม่ในวงรอบที่ 2 โดยใช้แนวทางการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และทำการพัฒนาโดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน ควบคู่กับการนิเทศภายใน หลังการพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่าแหล่งเรียนรู้ทุกแหล่งเรียนรู้มีการพัฒนาขึ้น ซึ่งได้เปรียบเทียบความพึงพอใจของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว ระหว่างวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ในภาพรวม มีการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 22.80

อภิปรายผลการวิจัย

1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา ๒ พบว่า

1.1 สภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้ ด้านวิชาการและด้านส่งเสริมวิชาการ ได้แก่ ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องพยาบาล สนามกีฬาและนันทนาการ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม มีสภาพการจัดแหล่งเรียนรู้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ แต่ยังไม่มีคุณภาพขาดการดูแลเอาใจใส่ สถิติผู้ใช้บริการน้อยทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนขาดการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับงานวิจัย เจนจิรา อุปัญญ์ (2558, บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษา เรื่อง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนแก้งโนนคาประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบว่า มีสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพราะมีศูนย์การเรียนรู้ที่ครบทุกกลุ่มสาระและยังมีห้องสมุด ห้องพยาบาล ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรี เป็นต้น โรงเรียนมีนโยบายแผนการดำเนินงานและโครงการในการจัดแหล่งเรียนรู้ แต่แหล่งเรียนรู้ยังไม่มีคุณภาพ และยังไม่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ผู้เรียนไม่มีโอกาสใช้อย่างทั่วถึง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดสื่อวัสดุอุปกรณ์ อีกทั้งครูที่รับผิดชอบไม่มีเวลา ขาดการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ทวีศักดิ์ ธินา (2558, บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านสันต้นหมื้อ อำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 พบว่า สภาพการจัดการระบบสารสนเทศของโรงเรียนบ้านสันต้นหม้อ มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลางเหตุและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดการระบบสารสนเทศในโรงเรียน ได้แก่ การไม่มีบุคลากรที่มีความชำนาญในการจัดการด้านสารสนเทศ และด้านแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนจัดหางบประมาณให้เพียงพอ การตรวจสอบการใช้แหล่งเรียนรู้ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ส่วนการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน สภาพห้องไม่สะอาด แสงไม่พอ วัสดุครุภัณฑ์ในห้องชำรุด ป้ายนิเทศไม่เป็นปัจจุบัน เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แหล่งเรียนรู้สนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่ ห้องพยาบาล สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม และสนามกีฬาและนันทนาการ ครูที่รับผิดชอบไม่ใส่ใจ เช่น ห้องพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์บางอย่างชำรุดหรือหมดอายุ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2550, หน้า 134 - 135) จะทำให้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสถานศึกษาต้องจัดแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทุกรูปแบบ เช่น ห้องสมุด และการจัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ดีภายในโรงเรียน จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้คุ้มค่า เช่น พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ ศูนย์กีฬาและวัด เป็นต้น

ปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้ ทั้งแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการและแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนด้านวิชาการ คือ ขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดงบประมาณ สภาพแหล่งเรียนรู้โดยรวมทรุดโทรม วัสดุครุภัณฑ์ชำรุด ขาดการดูแล ขาดสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย สอดคล้องกับงานวิจัยของ เกษมสันต์ ศรีคาแซง (2553, บทคัดย่อ) ได้วิจัยการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของโรงเรียนบ้านโคกก่องสหมิตรวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโคกก่องสหมิตรวิทยาคาร คือ มีแผนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนแต่ไม่ครอบคลุมทั้งระบบ การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผน ขาดการนิเทศติดตามผลอย่างจิงจัง การบริหารและการจัดการใช้แหล่งเรียนรู้ขาดประสิทธิภาพ การใช้แหล่งเรียนรู้ไม่เต็มศักยภาพใช้ประโยชน์ไม่ตรงตามความต้องการ การให้บริการสำหรับครูและนักเรียนส่วนใหญ่ยังมีน้อยขาดความต่อเนื่องสม่ำเสมอ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูยังใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้น้อย เนื่องจากครูยังยึดติดกับการสอนแบบท่องจำจากในบทเรียนไม่เน้นการสอนแบบให้เด็กลงมือทำเองและศึกษาต้นคว้าด้วยตนเองนักเรียนเองยังขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณ

1.2 แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยร่วมประชุมปรึกษามีมติให้พัฒนาบุคลากร ดังนี้

1.2.1 ศึกษาดูงาน ทำให้ผู้ร่วมวิจัยเกิดแรงบันดาลใจ มีความกระตือรือร้น แล้วนาสิ่งที่พบเห็นจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงมาประยุกต์ในการพัฒนาและปรับปรุงการพัฒนางานด้านแหล่งเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าหมายกิจกรรมในวงรอบที่หนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ นงค์ศรี ราชมณี (2553, หน้า 114 - 118) ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านจานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 พบว่า วิธีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยใช้กลยุทธ์การพัฒนา คือ การศึกษาดูงาน การแสวงหาความร่วมมือจากแหล่งเงินทุนภายนอก การสร้างทีมงานโดยให้มีกิจกรรมย่อย คือ การให้ความรู้แล้วมอบหมายงาน การนิเทศติดตามเพื่อปรับปรุงพัฒนา ผลการพัฒนาทั้งสองวงรอบพบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจและเกิดทักษะการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับผิดชอบได้ เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆ แหล่งเรียนรู้ให้น่าอยู่ปรับปรุงดูแลห้องเรียนและรักษาความสะอาด พร้อมตกแต่งบอร์ดความรู้ต่างๆ ให้เป็นปัจจุบัน

1.2.2 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ซึ่งมีเนื้อหาในการให้ความรู้แก่ผู้ร่วมวิจัย ดังนี้ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และด้านดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ซึ่งวิทยากรที่มาถ่ายทอดความรู้ล้วนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญโดยเฉพาะ นอกจากจะได้ความรู้ด้านทฤษฎีแล้วยังให้ลงมือฝึกปฏิบัติด้วยซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ประภาพร มีพรหม (2559, บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านข่าพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ผลการวิจัยพบว่า สภาพแหล่งเรียนรู้มีสภาพไม่เหมาะสม ขาดการดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการขาดประสิทธิภาพจึงใช้แนวทางการพัฒนาดังนี้ คือ

การศึกษาดูงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนทั้งด้านวิชาการและด้านสนับสนุนวิชาการผลการดำเนินการพัฒนาพบว่า การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและสภาพแวดล้อมแต่ละแหล่งเรียนรู้ดีขึ้นและยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธัญลักษณ์ ศรีสร้อย (2555, บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคาแหว ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ร่วมวิจัยให้ความร่วมมือ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการพัฒนาและสามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่รับผิดชอบให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ได้ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยทำการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้น่าดู น่าอยู่ สะอาด เพื่อดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนโดยใช้หลักการวิจัยตามแนวคิด Kemmis and McTaggart ดำเนินการสองวงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ การสะท้อนผลโดยใช้กลยุทธ์การพัฒนา คือ การศึกษาดูงาน การแสวงหาความร่วมมือจากแหล่งทุนภายนอก การสร้างทีมงาน การนิเทศติตามเพื่อพัฒนาปรับปรุง ซึ่งสอดคล้องกับ บุษบา ช่วยแสง (2553, บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนบ้านหนองอ้อน้อย อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเตรียมการและระยะพัฒนาผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการ โดยใช้เทคนิคการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ พบว่า ผู้ร่วมวิจัยไม่เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ขาดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ครูมุ่งสอนเฉพาะในห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่ ขาดการเชื่องโยงกับแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน การดำเนินการรักษาและซ่อมแซมอาคารเรียนน้อย ห้องสมุดไม่เป็นเอกเทศ คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อนักเรียน สภาพแวดล้อมสวนเกษตรหรือสวนหย่อมไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากไม่มีงบประมาณผู้ปกครองส่วนมากมีฐานะยากจนบุคลากรไม่พอ ห้องเรียนไม่เพียงพอ ระยะที่ 2 ขั้นการพัฒนา ประกอบด้วย การวางแผนร่วมกันปฏิบัติการ ร่วมกันสังเกตการณ์ และร่วมกันสะท้อนผลการพัฒนา ซึ่งจากการพัฒนาพบว่าระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

3. การติดตามประเมินผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา ๒ โดยใช้แนวทางดังนี้ 1) การพัฒนาบุคลากรโดยการศึกษาดูงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า หลังการศึกษาดูงานผู้ร่วมวิจัย เกิดแรงบันดาลใจกระตือรือร้นในการทำงาน นำแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาได้มีระดับความพึงพอใจในการศึกษาดูงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและ 2) หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการพบว่า ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย มีทักษะการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ได้ รวมถึงเทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากแบบประเมินการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยการร่วมประชุมครูและผู้เกี่ยวข้องตามแผนปฏิบัติการโรงเรียน วางแผนการทำงานและกิจกรรมการดำเนินงานโดยมีนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน พร้อมจัดสรรงบประมาณ ทำการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านวิชาการและด้านสนับสนุนวิชาการ คือ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องพยาบาล สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม และสนามกีฬาและนันทนาการ พฤติกรรมการพัฒนา ระหว่างการพัฒนาพบว่า โดยรวมการพัฒนาอยู่ในระดับมาก หลังการพัฒนาพบว่า โดยรวมการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด และเปรียบเทียบพฤติกรรมการพัฒนาของผู้ร่วมวิจัย ระหว่างการพัฒนากับหลังการพัฒนา ในภาพรรวม มีร้อยละการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 20.60 แล้วประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ทั้ง 7 แหล่งเรียนรู้ ในวงรอบที่ 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.00) เมื่อพิจารณาแหล่งเรียนรู้เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ห้องสมุด ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก สนามกีฬาและนันทนาการระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ห้องเรียน มีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ห้องพยาบาล ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากและแปลงสาธิตการเกษตรและสวนหย่อมระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับปานกลาง ผู้ร่วมวิจัยร่วมประชุมมีมติให้พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในวงรอบที่ 2 จำนวน 4 แหล่งเรียนรู้ คือ ห้องพยาบาล ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการพัฒนา และนิเทศภายใน ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่าระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกแหล่งเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แหล่งเรียนรู้ที่มีการพัฒนามากที่สุด คือ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่และสวนหย่อม แหล่งเรียนรู้ที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด คือ ห้องพยาบาลเปรียบเทียบระหว่าง วงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการวงรอบที่ 1 โดยรวมอยู่ที่ระดับมาก วงรอบที่ 2 ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.90) มีการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 28.00 3) การนิเทศภายใน ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่ายทำการนิเทศภายในโดยใช้การนิเทศแบบให้คำชี้แนะทั้งระหว่างการพัฒนาและหลังการพัฒนาแหล่งเรียนรู้พบว่า ผู้ร่วมวิจัยและนักเรียนมีการพัฒนางานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสังเกตจากพฤติกรรมการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การนิเทศภายในจึงถือเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของบุคลากรในโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน ขั้นการนิเทศแบบนี้แนะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้พัฒนาตนเอง โดยใช้กระบวนการชี้แนะที่หลากหลายเนื่องจากการชี้แนะมีลักษณะเฉพาะ ได้แก่การชี้แนะทางปัญญา การชี้แนะการสอน อย่างไรก็ตามกระบวนการชี้แนะโดยทั่วไปมีขั้นตอนตั้งแต่ก่อนดำเนินการชี้แนะมีการตกลงร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นหรือจุดเน้นที่ต้องการให้คาชี้แนะร่วมกันเนื่องจากการดำเนินการชี้แนะเน้นไปที่การเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงเป็นการทำงานเชิงลึก ซึ่งการนิเทศเป็นประจำจะช่วยให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดีโดยเฉพาะการนิเทศภายในวงรอบที่ 2

จากผลการวิจัยตามกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมพบว่าผู้ร่วมวิจัยสามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและด้านสนับสนุนวิชาการได้อย่างมีคุณภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เป็นระบบ รวมถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น การนิเทศภายในสม่ำเสมอและเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเข้าใช้บริการแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ก่อให้เกิดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะชีวิตและอาชีพหรือทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

บรรณานุกรม

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทาง

สาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์. (2557). รายงาน TDRI การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐและการต่อต้าน

คอร์รัปชันในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ.)

เกษมสันต์ ศรีคาแซง. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโรงเรียนบ้านโคกก่องสหมิตรวิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ คษ.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จิณณวัตร ปะโคทังและอมรรัตน์ พันธ์งาม สุดา หงษ์คำ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เจนจิรา อุปัญญ์. (2558). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนแก้งโนนคาประชาสรรค์สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ ค.ม.

สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทวีศักดิ์ ธิมา. (2558). ข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับการ

จัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสันต้นหมื้อ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ค.ม.เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธัญลักษณ์ ศรีสร้อย. (2555). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคาแหว . วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นงค์ศรี ราชมณี. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านจาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุษบา ช่วยแสง. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนบ้านหนองอ้อน้อยอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุดรธานี :มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ประภาภรณ์ มีพรหม. (2559). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านข่าพิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปาริฉัตร สาตราและศันสนีย์ จะสุวรรณ. (2557). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเขตมีนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีที่ 6

พลอยพัชชา อามาตย์ (2552). การพัฒนาบุคลากรในการจัดการการเรียนรู้แบบบูรณาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพ็ญพิไลลักษณ์ มณีภาค. (2550). การพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนหนองพอกวิทยา อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุธิชล พ่อครวงค์. (2555). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใน

โรงเรียนสหราษฏร์รังสฤษฏ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ :คุรุสภาลาดพร้าว.

โพสต์โดย ปริญญฉัษฎ์ ชัยวิทยนันต์ : [29 พ.ค. 2564 เวลา 21:14 น.]
อ่าน [3883] ไอพี : 110.169.30.114
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 18,217 ครั้ง
เอกสารประกอบการสอนเสริมเพื่อเตรียมสอบ O-NET
เอกสารประกอบการสอนเสริมเพื่อเตรียมสอบ O-NET

เปิดอ่าน 15,527 ครั้ง
ต้นกำเนิด "ร่ม"
ต้นกำเนิด "ร่ม"

เปิดอ่าน 11,681 ครั้ง
6 วิธี กินซูชิให้อร่อย
6 วิธี กินซูชิให้อร่อย

เปิดอ่าน 13,808 ครั้ง
ฮาร์วาร์ด : สุดยอดมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก
ฮาร์วาร์ด : สุดยอดมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก

เปิดอ่าน 880 ครั้ง
กรมอนามัย แนะ "4 ดี เสริม 4 ห้องหัวใจแข็งแรง"
กรมอนามัย แนะ "4 ดี เสริม 4 ห้องหัวใจแข็งแรง"

เปิดอ่าน 31,227 ครั้ง
ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด
ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด

เปิดอ่าน 13,957 ครั้ง
ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เปิดอ่าน 12,555 ครั้ง
เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์

เปิดอ่าน 14,944 ครั้ง
น้ำผึ้ง...หวานเป็นยา
น้ำผึ้ง...หวานเป็นยา

เปิดอ่าน 18,576 ครั้ง
โรคฉี่หนู...เชื้อร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน
โรคฉี่หนู...เชื้อร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน

เปิดอ่าน 9,216 ครั้ง
บททดสอบก่อนเกษียณ
บททดสอบก่อนเกษียณ

เปิดอ่าน 12,679 ครั้ง
คลิปอุกกาบาตตกถล่มเมืองรัสเซีย บาดเจ็บกว่า 400 คน
คลิปอุกกาบาตตกถล่มเมืองรัสเซีย บาดเจ็บกว่า 400 คน

เปิดอ่าน 63,724 ครั้ง
"ละครซิทคอม" คืออะไร
"ละครซิทคอม" คืออะไร

เปิดอ่าน 236,604 ครั้ง
เรื่องที่ควรรู้ ก่อนคิดจะเลี้ยง "ไซบีเรียน ฮัสกี้"
เรื่องที่ควรรู้ ก่อนคิดจะเลี้ยง "ไซบีเรียน ฮัสกี้"

เปิดอ่าน 15,724 ครั้ง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง

เปิดอ่าน 18,193 ครั้ง
ประกาศ เรื่องรายชื่อหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครู ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เพิ่มเติม)
ประกาศ เรื่องรายชื่อหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครู ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เพิ่มเติม)
เปิดอ่าน 3,350 ครั้ง
จัดอาหารกลางวันมีคุณภาพ กระตุ้นพัฒนาการเด็กวัยเรียน
จัดอาหารกลางวันมีคุณภาพ กระตุ้นพัฒนาการเด็กวัยเรียน
เปิดอ่าน 13,204 ครั้ง
qr code คืออะไร
qr code คืออะไร
เปิดอ่าน 401,258 ครั้ง
การวิ่งระยะต่าง ๆ (พลศึกษา)
การวิ่งระยะต่าง ๆ (พลศึกษา)
เปิดอ่าน 8,957 ครั้ง
เดนมาร์ก แชมป์โลกความสุข
เดนมาร์ก แชมป์โลกความสุข

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ