Advertisement
การแกะสลักไม ้ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่
สมัยมนุษย์ ดึกดำบรรพ์ รู้จักใช้เครื่องมือตัดหินขุดเจาะและถากไม้ให้มีรูปทรงตามที่ต้อง
การ ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม ในยุคเหล็ก คือประมาณ 1,000 ปีก่อน
คริสตศักราช เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก การแยกโลหะจากแร่และนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ
เครื่องใช้นานาชนิด รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักด้วย งานแกะสลักก็ได้เริ่ม
ต้นและมีการพัฒนาต่อมา จนถึงปัจจุบันและทำกันไปทั่วโลก

สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทยนั้นแต่เดิมส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ ์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก
ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจง
ปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้าง
สรรค์ผลงานขึ้น มาเป็นจำนวนมาก
ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนา เป็นงานศิลปที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่า
ควรแก่การภาคภูมิใจสำหรับชาวล้านนาเอง ด้วยเหตุที่ในท้องถิ่นมีไม้สักอุดมสมบูรณ์
สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักได้สะดวก งานแกะสลัก จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
วัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน
ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาต ิ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็น
กันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้
สอยในชีวิตประจำวัน
ประเภทของงานแกะสลักไม้
การแกะสลักไม้สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ
1. การแกะสลักรูปลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอด
ทั้งแผ่น มักใช้ในการแกะแม่พิมพ์ไม้
2. การแกะสลักรูปนูนต่ำ เป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นจากแผ่นพื้นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่
แบนราบเหมือนภาพลายเส้นใช้แกะสลักลวดลายทั่วไป ส่วนมากเป็นลวดลายประกอบอาคาร
สถาปัตยกรรมต่างๆ โบสถ์ วิหาร เครื่องเรือน หรือประกอบรูปแบบลอยตัว



3. การแกะสลักรูปนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นมาเกือบเต็มตัวมีความละเอียดของรูป
มากกว่าแบบนูนต่ำ ใช้แกะลวดลายประกอบงานทั่วไป เหมือนรูปนูนต่ำ
4. การแกะสลักรูปลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ที่มองเห็นได้รอบด้าน มักแกะเป็นพระพุทธรูป
รูปคน สัตว์ หรือรูปตามคตินิยม ฯลฯ
เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก
ไม้ ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในงานแกะสลัก ได้แก่ ไม้สัก เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป มีลายไม้สวยงาม
สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก
มอดและแมลง ไม้ที่นิยมรองลงมาคือ ไม้โมก ไม้สน ที่สำคัญคือ ไม้ที่นำมาทำการแกะสลักจะ
ต้องไม่มีตำหนิ เพราะจะทำให้งานชิ้นนั้นขาดความสวยงาม
ค้อนไม้ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน
ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย
สิ่ว เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด
สิ่วเล็บมือ สิ่วทำ จากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ



มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง
เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูป
หรือขึ้นโครงของงาน
บุ้งหรือตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว
กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว
กบไสไม้
ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง
สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้
แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้
เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ
กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ
วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด
ทินเนอร์ หรือสีทาไม้

ขั้นตอนการแกะสลักไม้
1. เตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม
2. ออกแบบลวดลายลงบนกระดาษแข็งเพื่อใช้เป็นแบบทาบ
3. ใช้แบบทาบแล้วลอกลายลงบนแผ่นไม้
4. ใช้เลื่อยเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกเสียก่อนเพื่อเป็นการ
ขึ้นรูปหรือโครงลาย


5. ใช้สิ่วขนาดใหญ่สกัดลวดลาย เป็นการคัดลายให้ทราบว่า
ส่วนใดเป็นลาย ส่วนใดเป็นพื้น
6. ทำการขุดพื้น โดยขุดเพียงตื้นๆก่อนแล้วตรวดดูความถูกต้อง
แล้วจึงลงมือขุดพื้นให้ลึกตามความต้องการ
7. แกะตัวลายหรือโกลนลายด้วยการใช้สิ่วฉากปาดตัวลายโดยให้ตั้งฉากด้านหนึ่ง
เอียงด้านหนึ่ง เป็นการคัดลายให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น
8. เก็บรายละเอียดของลวดลายให้เรียบร้อย สมบูรณ์ ด้วยสิ่วแบบต่างๆเช่น
สิ่วเล็บมือ สิ่วขมวด
9. ขัดกระดาษทรายและทาดินสอพองเพื่ออุดร่องเนื้อไม้
10.ทาน้ำมันเคลือบเนื้อไม้ หรือทาน้ำมันชักเงา หรือย้อมสีไม ้ หรือทาสีทับ
หรือลงรักปิดทอง ตามชนิดของงาน

ที่มา http://www.prc.ac.th