ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 The development of online teaching and learning integrated wit

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

The development of online teaching and learning integrated with scenario-based teaching of English courses for Grade 4 students.

ผู้วิจัย นางนงคราญ แมร์โรว์

ผู้วิจัยร่วม -

ปีที่ทำวิจัยเสร็จ พ.ศ.2563

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) สังกัดกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน 1 ห้องเรียน คัดเลือกด้วยวิธีการจับสลากหน่วยห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การเรียนการสอนออนไลน์ www.krunongkran.com และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2=81.97/82.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) ผลการวิเคราะห์การตรวจสอบนัยสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยอาศัย การแจกแจงของ t-test พบว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ที่มาความสำคัญและปัญหาการวิจัย

ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ แต่ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษก็ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในหลายๆ ปีการศึกษาที่ผ่านมาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่ว่าจะเป็นผลสอบ O-NET หรือ GAT พบว่ามีคะแนนผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับต่ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่น ๆ พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษแทบจะอยู่ในระดับต่ำสุด ชัชรีย์ บุนนาค (2018) ได้นำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 2 : 2018 เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568 โดยสรุปไว้ว่า 1) การเรียนการสอนภาษาอังกฤษยังไม่บูรณาการทั้ง 4 ทักษะ การฝึกปฏิบัติยังไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่เน้นการสอนไวยากรณ์และท่องศัพท์ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษแบบการสื่อสารได้ ถึงแม้จะมีความพยายามในการจ้างครูต่างชาติ (ทั้งที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษา) มาเป็นครูผู้สอนในโรงเรียน แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ที่สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร English Program ได้ มักเป็นโรงเรียนใหญ่ ๆ ประจำจังหวัด การแข่งขันสูง และค่าเทอมสูง นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะปานกลางหรือด้อยกว่า จึงมีโอกาสจำกัดในการเข้าศึกษา ในสถานศึกษาที่มีครูต่างชาติสอนสนทนา 2) วิธีจัดการเรียนการสอนยังไม่หลากหลายและไม่สอดคล้องกับพื้นฐานของนักเรียน 3) จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถดูแลหรือจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง โรงเรียนอบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) สังกัดกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานักเรียนยังมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดเช่นกันซึ่งปัญหาที่สอดคล้องกันทำให้สะท้อนให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต้องเร่งแก้ไขปรับปรุง จากกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน อาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียน และทำให้ประสบปัญหาต่อการเรียนในที่สุดก็เป็นได้

ดังนั้นการที่จะแก้ปัญหาที่กล่าวมาการจัดกระบวนการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับสถานการณ์จริง ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจและผ่อนคลาย โดยกิจกรรมเหล่านี้ต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกทักษะทางภาษาเสริมสร้างความมั่นใจและรู้วิธีการเรียนภาษาต่างประเทศ (วรางคณา เค้าอ้น, 2560) วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมอาจได้แก่ การเรียนแบบกระบวนการกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานภายในแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน โดยจะมีการแสดงความคิดเห็นและการสนทนาร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานกลุ่ม มีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งส่วนตนเองและสมาชิกในกลุ่มจะทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ แนวคิดนี้จึงสอดคล้องกับ Thousand (2002 อ้างถึงใน ณมน จีรังสุวรรณ, 2555) กล่าวว่าแนวคิดของการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มยังช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ภายในกลุ่ม มีการคิดสิ่งใหม่ ๆ มีกลยุทธ์และวิธีการแก้ปัญหามากกว่าการทำงานรายบุคคล จากที่กล่าวมาทำให้ผู้วิจัยทำการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ (Situation Based Learning) มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื่องจากเป็นการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงที่ผู้เรียนอาจประสบในภายหลังการเรียนด้วยสถานการณ์ จะช่วยให้เกิดการถ่ายโยงความรู้ ผู้เรียนจะได้คิดแก้ปัญหาจากสถานการณ์ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการสื่อสารภาษาอังกฤษจากสถานการณ์ที่จำลองขึ้น สถานการณ์จะทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ในสถานการณ์และใช้ข้อมูลที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริงในการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยมีหลักการและการตัดสินใจในสถานการณ์จะส่งผลร่วมกับ ผู้ร่วมกิจกรรมหรือสมาชิกภายในกลุ่มเหมือน ในสถานการณ์จริง และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ทักษะทั้ง 4 ทักษะคือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ประเทศไทยเองก็เผชิญกับการระบาดนี้เช่นกัน ทำให้ประชาชนทุกคนต่างต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตการทำงาน โดยให้ทำงานอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่กระจายผลกระทบต่าง ๆ ส่งผลให้วงการศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ยน จะเห็นได้ว่าการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยรอบแรกส่งผลให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถานศึกษา ปิดการเรียนการสอนชั่วคราวตั้งแต่วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2563 เป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ และให้สถานศึกษาดำเนินการป้องกันโรคตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยวิธีการรับมือกับการระบาดคือ Social distancing หรือการเพิ่มระยะห่างระหว่างกันในสังคม เพื่อป้องกันการระบาดจากคนสู่คน โดยมาตรการนี้ส่งผลดีกับทุกวงการทุกภาคส่วนแต่สำหรับวงการการศึกษาเองแล้วเกิดปัญหาการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากมีประกาศงด และการปรับเปลี่ยนระยะเวลาการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นจึงมีการนำระบบการเรียนการสอนออนไลน์เข้ามาปรับใช้เพื่อดำเนินการเรียนการสอนต่อไป ซึ่งภายใต้วิกฤตินี้การสอนสดคือการสอนในเวลาและการถ่ายทอดการสอนให้ผู้เรียนในห้องเรียนนั้นจำเป็นต้องลดน้อยลง ต้องปรับมาใช้การสอนออนไลน์เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทสำคัญ

ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ผนวกหรือบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ จึงเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ (สุธาศินี สีนวนแก้ว และกานดา ศรอินทร์, 2552) นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย (ICT 2020) จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการนำพาคนไทยสู่ความรู้และปัญญา (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2554) และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการที่จะพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและผลการศึกษาจะทำให้เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อหาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น

หลักการหรือแนวคิดเชิงทฤษฎีที่สนับสนุน

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์

การเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) จัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิม ๆ ให้เป็นการเรียนใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำการสอน นอกจากนี้ความหมายอีกในหนึ่งยังหมายถึง การเรียนทางไกล การเรียนผ่านเว็บไซต์ อีกด้วยการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning) จะเป็นเรียนทางผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ บวกเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์คุณภาพสูง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง เกิดความสะดวกและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการสร้างการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร

การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความชอบของตนเอง ในส่วนของเนื้อหาของเรียน ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง VDO และMultimedia อื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะถูกส่งตรงไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser ทั้งผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นทุกคนสามารถติดต่อ สื่อสาร ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนทั่วไปโดยการใช้ E-mail, Chat, Social Network เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้แบบออนไลน์ จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับทุกคนเรียนได้ทุกเวลา

ลักษณะสำคัญของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning) ผู้เรียนเป็นใครก็ได้อยู่ที่ใดก็ได้ เรียนเวลาก็ใด เอาตามความสะดวกของผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากโรงเรียนออนไลน์ได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง มีสื่อทุกประเภทที่นำเสนอในเว็บไซต์ ไม่ว่าจะทั้ง ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง VDO ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำให้เหตุภาพของเนื้อหาต่าง ๆ ง่ายดายมากขึ้นผู้เรียนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความต้องการเอกสารบนเว็บไซต์ที่มีการเชื่อมโยง (Links) ต่อไปยังแหล่งความรู้อื่นๆทำให้ขอบเขตการเรียนรู้ กว้างออกไปและเรียนอย่างรู้ลึกมากขึ้น

แนวคิดเกี่ยวกับสถานการเป็นฐานการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานเกิดขึ้นจากการผสมผสานแนวคิดการจัดการการเรียนรู้ 3 แนวคิดเข้าด้วยกัน คือ การเรียนรู้โดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐาน การปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อย และการเสริมต่อการเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนเข้าสู่การทำงานจริง หลักการสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานอยู่ที่การออกแบบสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการทำงานร่วมกันในการแสวงหาแนวทางแก้ปัญหา ฝึกทักษะการคิด การเลือกสรรข้อมูล การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ

ลักษณะของการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานมีความแตกต่างจากการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional approach) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานและเรียนรู้ร่วมกัน คิดแก้ปัญหาที่ไม่มีคำตอบตายตัวล่วงหน้า ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่ม การเรียนรู้จึงเป็นไปอย่างมีพลวัตร และเกิดการเรียนรู้เชิงลึก การเรียนรู้โดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานมีความท้าทายผู้เรียนและสอดคล้องกับความสนใจและความต้องการทั้งของผู้เรียน (Kindley, 2002)

ระเบียบวิธีการวิจัยและแผนการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) สังกัดกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวน 4 ห้องเรียน 95 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) สังกัดกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน 1 ห้องเรียน คัดเลือกด้วยวิธีการจับสลากหน่วยห้องเรียน แต่ละห้องเรียนประกอบด้วยนักเรียนที่คละความสามารถนักเรียนแต่ละห้องจึงมีคุณสมบัติไม่แตกต่างกัน

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรม และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

แบบแผนการทดลอง

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลอง (pre-experimental design) ใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม One Group Pre test – Post test Design (Fitz-Gibbon, 1987 : 113)

กลุ่มทดลอง Pretest Treatment Posttest

N T1 X T2

เมื่อ N แทน กลุ่มทดลอง

T1 แทน การทดสอบก่อนการทดลอง (Pre-test)

X แทน การเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ

T2 แทน การทดสอบหลังการทดลอง (Post-test)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. การเรียนการสอนออนไลน์ www.krunongkran.com

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) โดยได้ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองตามขั้นตอนดังนี้

1. ผู้วิจัยได้อธิบายชี้แจงทำความเข้าใจและข้อตกลงกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการเรียน เวลาเรียน และวิธีการในการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการจริยธรรมวิจัย

2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และเก็บคะแนนการสอบไปเปรียบเทียบกับผลหลังเรียน

3. อธิบายและชี้แจงกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจ

4. ดำเนินการสอนโดยใช้การเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น

5. หลังจากทำการทดลองครบตามแผนการจัดการเรียนรู้แล้วผู้วิจัยได้ทำการทดสอบหลังเรียน (Post-test) โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกับก่อนเรียน (Pre-test)

6. นำคะแนนที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

2. เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการหาค่าทางสถิติ (Paired t-test) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

สถิติที่ใช้ในการวิจัย

1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ 1) หาค่าความสอดคล้อง (IOC) แบบทดสอบมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตั้งแต่ 0.66 – 1.00 ขึ้นไปจำนวน 40 ข้อ 2) หาค่าความยากง่าย (p) ขอบแบบทดสอบโดยมีค่าระดับความยากตั้งแต่ 0.36 – 0.76 และค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบโดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.43 – 0.51 และ 3) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบมีค่าเท่ากับ 0.73

2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ 80/80 (E1/E2) และทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกันด้วยสูตร t-test (Dependent sample)

ผลการวิจัย

ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย

ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

จำนวนนักเรียน ประสิทธิภาพของกระบวนการ(E1) ประสิทธิภาพของผลลัพธ์(E2)

25 81.97 82.70

ประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.97/82.70

จากตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 =81.97/82.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยก่อนการทดลองได้ทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังการทดลองทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน หลังจากนั้นนำคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าการแจกแจงของ t-test ผลการวิเคราะห์แสดงไว้ในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์การตรวจสอบนัยสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน

กลุ่ม n

t

คะแนนก่อนเรียน 25 25.16 210 2742 4.10*

คะแนนหลังเรียน 25 33.56

* p < .05

จากตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 25.16 และคะแนนการทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย 33.56 แสดงว่าคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการทดสอบก่อนเรียน ผลการวิเคราะห์การตรวจสอบนัยสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยอาศัยการแจกแจงของ t-test พบว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การอภิปราย

ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 =81.97/82.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับนพรัตน์ ทองมาก (2558) ได้ทำการศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเรื่องภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้รูปแบบปฏิบัติเป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเรื่องภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้รูปแบบปฏิบัติเป็นฐานการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ทิศนา แขมมณี (2552) ได้กล่าวว่า วิธีสอนโดยการใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ โดยใช้ข้อมูลที่มี สภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง โดยนักเรียนซึ่งเรียกว่าผู้ร่วมสถานการณ์ (participants) จะมีปฏิสัมพันธ์ กับเหตุการณ์และบุคคลต่าง ๆ ผู้เรียนจะใช้ภาษาในการสื่อสารของตัวเองในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถ ตัดสินใจได้โดยอิสระอย่างเหมาะสมกับบทบาทของตัวเอง และบทบาทของผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย

ผลการวิเคราะห์การตรวจสอบนัยสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยอาศัยการแจกแจงของ t- test พบว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับวารี โรจนดิษฐ์ (2560) ได้ทำการศึกษาพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์ฯพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะด้าน การสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่าง โดยหลังเรียนได้ค่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับ วรางคณา เค้าอ้น (2560) ได้ทำการศึกษาการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้พบว่า ผลการศึกษาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโกวิทธำรงพบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะ

1. การเรียนการสอนออนไลน์บูรณาการร่วมกับการสอนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ควรนำไปใช้ในห้องเรียนให้มากขึ้นโดยเลือกใช้ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนเน้นให้นักเรียนได้เป็นผู้ปฏิบัติและเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ จะทำให้นักเรียนเกิดทัศนคติที่ดี

2. การจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ก่อนที่จะทำการทดสอบวัดทักษะ ผู้สอนควรจะสร้างบรรยากาศในการส่งเสริมให้นักเรียนไม่เกิดแรงกดดันมากเกินไปซึ่งจะทำให้นักเรียนวิตกกังวลก่อนการทดสอบ หรือในขณะที่ทำการทดสอบก็ตาม ดังนั้นการสร้างบรรยากาศอาจทำได้โดยไม่มีกรรมการสอบแบบต่อหน้าอาจจะใช้วิธีการบันทึกการสอบเป็นวิดิทัศน์เป็นต้น

โพสต์โดย นง : [28 เม.ย. 2565 เวลา 08:01 น.]
อ่าน [2332] ไอพี : 118.173.203.188
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 19,412 ครั้ง
ดูหรือยัง NameWee หนุ่มจีน-มาเลย์ ร้องเพลงจีบสาวไทย ที่ยอดวิวถล่มทลาย
ดูหรือยัง NameWee หนุ่มจีน-มาเลย์ ร้องเพลงจีบสาวไทย ที่ยอดวิวถล่มทลาย

เปิดอ่าน 14,096 ครั้ง
ค้นพบล่าสุด...พบน้ำแข็งบนดาวอังคาร
ค้นพบล่าสุด...พบน้ำแข็งบนดาวอังคาร

เปิดอ่าน 18,605 ครั้ง
เรื่องที่แม่ควรอ่าน "20 คำถามคำตอบ" ความจริง "นมแม่-นมผง"
เรื่องที่แม่ควรอ่าน "20 คำถามคำตอบ" ความจริง "นมแม่-นมผง"

เปิดอ่าน 7,813 ครั้ง
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร

เปิดอ่าน 2,288 ครั้ง
สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน
สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน

เปิดอ่าน 74,642 ครั้ง
กลอนปีใหม่ SMSปีใหม่ กลอนน่ารักๆ
กลอนปีใหม่ SMSปีใหม่ กลอนน่ารักๆ

เปิดอ่าน 35,105 ครั้ง
กลยุทธ์ในการเรียนภาษาให้ดี
กลยุทธ์ในการเรียนภาษาให้ดี

เปิดอ่าน 11,258 ครั้ง
"หนี้ครู" ปัญหาอมตะคู่แม่พิมพ์ของชาติ
"หนี้ครู" ปัญหาอมตะคู่แม่พิมพ์ของชาติ

เปิดอ่าน 25,260 ครั้ง
ฝึกอ่านภาษาอังกฤษง่ายๆตามแบบเรียนมานี มานะ ปิติ ชูใจ
ฝึกอ่านภาษาอังกฤษง่ายๆตามแบบเรียนมานี มานะ ปิติ ชูใจ

เปิดอ่าน 21,243 ครั้ง
รวยๆ เฮงๆ กับของมงคลรับวันตรุษจีน
รวยๆ เฮงๆ กับของมงคลรับวันตรุษจีน

เปิดอ่าน 13,341 ครั้ง
เคล็ดลับคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก
เคล็ดลับคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก

เปิดอ่าน 5,525 ครั้ง
จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย เผยมุมมองผู้หางานและนายจ้างกับภาวะการจ้างงาน เปรียบเทียบประเทศไทยกับอาเซียน
จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย เผยมุมมองผู้หางานและนายจ้างกับภาวะการจ้างงาน เปรียบเทียบประเทศไทยกับอาเซียน

เปิดอ่าน 12,829 ครั้ง
"เสาวรส"
"เสาวรส"

เปิดอ่าน 443,836 ครั้ง
     กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘  พร้อมตัวอย่าง ง่ายต่อการจดจำ
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ พร้อมตัวอย่าง ง่ายต่อการจดจำ

เปิดอ่าน 16,948 ครั้ง
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น

เปิดอ่าน 175,466 ครั้ง
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
เปิดอ่าน 77,041 ครั้ง
Parts of Speech    Sentence   Phrase   Clause
Parts of Speech Sentence Phrase Clause
เปิดอ่าน 15,116 ครั้ง
ประโยชน์ของ "ตะไคร้หอม"
ประโยชน์ของ "ตะไคร้หอม"
เปิดอ่าน 9,828 ครั้ง
นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ
นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ
เปิดอ่าน 15,326 ครั้ง
5 สิ่งที่ควรทำก่อนจะอายุ 30
5 สิ่งที่ควรทำก่อนจะอายุ 30

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ