|
|
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนราชวินิต มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนก่อน (Pre-test) และหลัง (Post-test) โดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ๒) เพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความที่สร้างขึ้นในการช่วยส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความของผู้เรียน รวมทั้งแนวทางปรับปรุง และพัฒนาแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยมีเป้าหมายคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียน ราชวินิต จำนวน ๒๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความวัดผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านจับใจความ และแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ จำนวน ๖ ชุด โดยมีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนราชวินิต มีผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนหลังใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ (Post-test) สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนก่อนใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ (Pre-test) ซึ่งความสามารถในด้านการอ่านจับใจความของผู้เรียนยังสอดคล้องกับความสามารถในการเรียนด้านวิชาการต่าง ๆ ของผู้เรียน กล่าวคือ ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการต่าง ๆ ในระดับสูงจะมีความสามารถในด้านการอ่านจับใจความสูงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพัฒนาการทางภาษาด้านอื่น ๆ ที่ดีขึ้นตามมาจากการสังเกตของผู้วิจัย เช่น ผู้เรียนสามารถอ่านออกเสียงสะกดคำได้ถูกต้องและคล่องแคล่วมากขึ้น ผู้เรียนสามารถเขียนสะกดคำได้ถูกต้องมากขึ้นจากการฝึกเขียนคำตอบให้รูปแบบอัตนัย ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องราวที่อ่านอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้นสังเกตจากการให้เหตุผลในการตอบคำถาม เป็นต้น
ข้อเสนอแนะหากผู้เรียนได้รับการฝึกฝนความสามารถในด้านการอ่านจับใจความอย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสูงขึ้น ซึ่งหากแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความมีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น เช่น มีเนื้อหาประเภทข่าว สารคดี บทเพลง โฆษณา ฉลากผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ย่อมจะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนความสามารถในการอ่านจับใจความในรูปแบบที่หลากหลายแปลกใหม่ ช่วยดึงดูดความสนใจในการอ่านของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น การสร้างประสบการณ์ในการอ่านจึงเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ผู้เรียน และถ้าหากมีการใช้รูปแบบคำถามท้ายในแบบฝึกที่หลากหลายทั้งแบบอัตนัย และปรนัย ย่อมสามารถช่วยกระตุ้นความคิดวิเคราะห์ และคิดสังเคราะห์ให้ผู้เรียนรู้จักใช้วิจารณญาณในการอ่านมากขึ้น ซึ่งส่งให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกรับข่าวสารต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความแก่ผู้เรียนโดยใช้แบบฝึกควรมีการกำหนดระยะเวลาอย่างชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวในการอ่าน และกระตุ้นความเร็วในการอ่านของผู้เรียนมากขึ้น โดยหลังจากผู้เรียนทำแบบฝึกหัดเรียบร้อยแล้วควรดำเนินการเฉลยทันที เพื่อย้ำความเข้าใจ ขยายความรู้ และให้ผู้เรียนมีโอกาสสรุปเรื่องที่อ่านเรียบเรียงเป็นภาษาของตนเองสั้น ๆ เพื่อทบทวน นอกจากนี้ผู้สอนอาจมีการตั้งคำถามถามผู้เรียนเพิ่มเติมนอกเหนือจากคำถามในแบบฝึกให้ผู้เรียนได้คิดต่อขณะเฉลย ซึ่งควรเป็นคำถามปลายเปิดให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการอ่านจับใจความของผู้เรียนให้สูงขึ้น
การวิจัยดังกล่าวจึงทำให้ผู้วิจัยได้ข้อมูลและแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความให้สอดคล้องเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ซึ่งยังทำให้ตระหนักถึงความสำคัญในการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนด้านการอ่าน เพื่อที่จะสามารถช่วยส่งเสริมและพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนแต่ละบุคคลเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสมตรงตามศักยภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ได้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยควบคู่กับการส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความแก่ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ในชั้นเรียนอีกด้วย ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้สามารถช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในการอ่านจับใจความไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากการสร้างประสบการณ์ในการอ่านแก่นักเรียนผ่านแบบฝึก จนทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสรุปใจความสำคัญ และคิดวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณ ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากการตอบคำถาม ทั้งนี้ยังสามารถช่วยปรับพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น ข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ครู นักวิชาการการศึกษา และผู้วิจัยในการทำวิจัยครั้งต่อไป
|
โพสต์โดย Nooknick : [12 มิ.ย. 2565 เวลา 16:21 น.] อ่าน [787] ไอพี : 49.229.121.117
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 18,214 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 11,727 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 15,055 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 18,436 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 13,748 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 123,983 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 12,146 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 14,112 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 14,908 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 20,356 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 22,761 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 21,169 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 100,080 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 32,264 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 14,079 ครั้ง 
| |
|
เปิดอ่าน 7,405 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 11,042 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 11,183 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 9,178 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 7,887 ครั้ง 
|
|

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|