บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินผลการดำเนินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินผลด้านบริบท โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ 2) เพื่อประเมินผลด้านปัจจัยเบื้องต้น โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ 3) เพื่อประเมินผลด้านกระบวนการ โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ 4) เพื่อประเมินผลด้านผลผลิต โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร และครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 6 และนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ด้วย ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ ใช้แบบประเมินที่ผู้รายงานสร้างขึ้นตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ นำมาพิจารณาค่าความสอดคล้อง IOC และนำมาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น เมื่อได้แบบข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ นำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งสรุปผลการประเมินและอภิปรายผลดังนี้ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผลผลิต ด้านบริบท ด้านกระบวนการ และ ด้านปัจจัยเบื้องต้น
2. ผลการประเมินด้านบริบท โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ พบว่า ระดับผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ด้านบริบท โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ รองลงมา คือ โครงการสามารถพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และเป็นไปตามความคาดหวังของสังคมและชุมชน และต่ำสุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนและจุดหมายของหลักสูตร พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น โครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ พบว่า ระดับผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ ความเหมาะสมของสถานที่ ที่ใช้ดำเนินโครงการ รองลงมาคือ โรงเรียนจัดทำแผนปฏิบัติงานไว้แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานที่จะต้องดำเนินการครอบคลุมและชัดเจน และค่ามัชฌิมเลขคณิตต่ำสุด คือ โรงเรียนจัดสรรงบประมาณและวางแผนการใช้งบประมาณทำให้เกิดประสิทธิภาพและเพียงพอ
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ พบว่า ระดับผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ โรงเรียนส่งเสริมให้ชุมชน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน รองลงมาคือ รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยส่งเสริมนักเรียนให้กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม และ ค่ามัชฌิมเลขคณิตต่ำสุด คือ กิจกรรมที่จัดมีความเหมาะสมกับผู้เรียน มีการวางแผน การนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล ออกแบบการเรียนรู้ปลูกฝังคุณธรรมสอดแทรกในการจัดการเรียนการสอน
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต โครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ พบว่า ระดับผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้นักเรียนครบตามที่แจ้งไว้ รองลงมา คือ นักเรียนมีพฤติกรรมเชิงบวกที่สอดคล้องกับคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน และค่ามัชฌิมเลขคณิตต่ำสุด คือ นักเรียนมีระเบียบวินัย มีความขยันหมั่นเพียร ส่งงานตรงเวลาที่ครูกำหนด
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1. ผู้บริหารต้องเสริมสร้างกำลังใจ เป็นต้นแบบที่ดี มุ่งให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม
1.2. ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม เพื่อความยั่งยืน
1.3. ควรมีการจัดกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณธรรมทั้งระดับนักเรียน และโดยภาพรวม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไป
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
2.1. การประเมินเพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการอื่น ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม เพื่อเพิ่มทางเลือกที่เข้ากับสภาพบริบทที่แตกต่างกันไป
2.2. การประเมินเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกับการส่งเสริมคุณธรรมภายในโรงเรียน
2.3. การประเมินเพื่อสร้างนวัตกรรมเทคนิควิธีการที่ใช้ในการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาอื่นได้
2.4. การประเมินเพื่อศึกษาการใช้นวัตกรรมหรือรูปแบบการดำเนินการวิธีอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม