ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 21,809 ครั้ง
Advertisement

กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)

Advertisement

กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS) โดย นาวาอากาศเอก อมร แสงสุพรรณ และนาวากาศเอก ธีระภาพ เสนะวงษ์

          ปัญหาด้านสรีรวิทยาการบินที่สำคัญ มักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของความกดบรรยากาศ ปริมาตรของก๊าซ และอุณหภูมิ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้ และเข้าใจถึงธรรมชาติของก๊าซในเรื่องต่างๆ ซึ่งก็คือ กฎของก๊าซ นั่นเอง

         
กฎของบอยล์ (Boyle's Law)
          "ปริมาตรของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิภาคกลับกับความกดดันของก๊าซนั้น เมื่ออุณหภูมิคงที่"  
         
นั่นคือ : P1          V2
                      P2
   V1
          เมื่อ P1  = ความกดดันของก๊าซครั้งแรก
                 P2  = ความกดดันของก๊าซครั้งหลัง
                 V1  = ปริมาตรของก๊าซครั้งแรก
                 V2  = ปริมาตรของก๊าซครั้งหลัง
          ตัวอย่าง : บัลลูนลูกหนึ่งบรรจุก๊าซไว้ ๑,๐๐๐ ลบ.ซม. ที่ระดับน้ำทะเล ซึ่งมีความกดบรรยากาศ ๗๖๐ มม.ปรอท ครั้นเมื่อบัลลูน ลูกนี้ขึ้นไปอยู่ที่ระยะสูง ๑๘,๐๐๐ ฟุตจากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีความกดดันของบรรยากาศ ๓๘๐ มม.ปรอท ก๊าซซึ่งบรรจุไว้จะกลายเป็น ๒,๐๐๐ ลบ.ซม. หากอุณหภูมิคงที่ตลอดเวลา
          กฎของบอยล์ นำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่ก๊าซในโพรงต่างๆ ของร่างกาย เช่น หูชั้นกลาง โพรงไซนัส ปอด ทางเดินอาหารเกิดการขยายตัวขึ้นเมื่อทำการบินสู่ระยะสูงทำให้เกิดอาการปวดหู ปวดไซนัส หรือปวดท้องได้

         
กฎของดาลตัน (Dalton's Law)
          "ความกดดันของก๊าซผสม ย่อมเท่ากับผลบวกของความกดดันของก๊าซแต่ละอย่างที่เป็นส่วนประกอบของก๊าซผสมนั้น"
          นั่นคือ : Pt = P1+P2+...Pn
          เมื่อ  : Pt  = ความกดดันของก๊าซผสม
          P1,P2...,Pn = ความกดดันของก๊าซแต่ละอย่าง
         ตัวอย่าง : บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซที่สำคัญคือ ออกซิเจน และไนโตรเจน ที่ระดับน้ำทะเลมีความกดดันบรรยากาศ ๗๖๐ มม.ปรอท โดยเป็นความกดดันของออกซิเจน ๑๕๒ มม. ปรอท และของไนโตรเจน ๖๐๘ มม.ปรอท เป็นต้น
          กฎของดาลตัน ใช้อธิบายปรากฏการณ์ของการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ถึงแม้ว่าปริมาตรของออกซิเจนจะมีค่าคงที่ประมาณร้อยละ ๒๑ ในบรรยากาศก็ตาม แต่เมื่อขึ้นไปที่ระยะสูงความกดบรรยากาศลดลง ทำให้ความกดดันของออกซิเจนลดลงเป็นสัดส่วนกัน จึงทำให้มีความกดดันของออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

          
กฎของเฮนรี (Henry's Law)
         
"ปริมาณของก๊าซที่ละลายอยู่ในของเหลวจะเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความกดดันของก๊าซที่กระทำเหนือของเหลว"

          นั่นคือ : P1              A1
                      P2 
 =      A2
          เมื่อ P1 = ความกดดันของก๊าซครั้งแรก
          P2 = ความกดดันของก๊าซครั้งหลัง
          A1 = ปริมาตรของก๊าซที่ละลายอยู่ในของเหลวครั้งแรก
          A2 = ปริมาตรของก๊าซที่ละลายอยู่ในของเหลวครั้งหลัง
          ตัวอย่าง : หากคนๆ หนึ่งมีก๊าซละลายอยู่ในเลือด ๑,๐๐๐ ลบ.ซม. ที่ระดับน้ำทะเล เมื่อคนผู้นั้นขึ้นไปอยู่ที่ระยะสูง ๑๘,๐๐๐ ฟุต จากระดับน้ำทะเลซึ่งมีความกดของบรรยากาศลดลงเหลือ ๓๘๐ มม.ปรอท ทำให้ปริมาณของก๊าซที่สามารถละลายอยู่ในเลือดลดลงเหลือเพียง ๕๐๐ ลบ.ซม. ส่วนก๊าซที่เหลืออีก ๕๐๐ ลบ.ซม. จะแยกตัวออกจากเลือดแล้วหลุดลอยออกไปเป็นฟองก๊าซ
          กฎของเฮนรี ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่ก๊าซซึ่งละลายอยู่ในของเหลวในร่างกาย แยกตัวออกมาเป็นฟองก๊าซไปรบกวนการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆ
   
          
กฎของชาร์ลส (Charle's Law)
         
"ความกดดันของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิภาคโดยตรงกับอุณหภูมิของก๊าซนั้น เมื่อปริมาตรคงที่"

           นั่นคือ : P1               T1
                       P2  
 =     T2
          เมื่อ P1 = ความกดดันของก๊าซครั้งแรก
          P2 = ความกดดันของก๊าซครั้งหลัง
          T1 = อุณหภูมิของก๊าซครั้งแรก
          T2 = อุณหภูมิของก๊าซครั้งหลัง
          ตัวอย่าง : ออกซิเจนในถังประจำเครื่องบินมีความกดดัน ๔๕๐ ปอนด์ต่อ ตร.นิ้ว เมื่อทำการบินที่ระยะสูง ๑๘,๐๐๐ ฟุต ที่มีอุณหภูมิ ๒๑ องศาเซลเซียส (อุณหภูมิมาตรฐานที่ระดับน้ำทะเล คือ ๑๕ องศาเซลเซียส ตามตารางแสดงความกดบรรยากาศและอุณหภูมิที่ระยะสูงต่างๆ และในการคำนวณตามกฎนี้ ใช้ค่าอุณหภูมิเป็นองศา K ซึ่ง ๑ องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ ๒๗๓ องศา K) ความกดดันของออกซิเจนในถังจะเหลือเพียง ๓๙๖ ปอนด์ต่อตร.นิ้ว
          กฎนี้ไม่มีความสำคัญต่อสรีรวิทยาของมนุษย์เนื่องจากร่างกายคนเรามีอุณหภูมิคงที่อยู่เสมอแต่ใช้อธิบายถึงการที่ความกดดันของออกซิเจน ในถังลดลงเมื่อขึ้นไปสู่ระยะสูง ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการเปิดใช้เลยก็ตาม

         
กฎการแพร่กระจายของก๊าซ (Law of Gaseous Diffusion)

          "ก๊าซอย่างเดียวกันเมื่อถูกกั้นด้วยเยื่อที่ซึมผ่านได้ (Permeable Membrane) จะกระจายออกจากบริเวณที่มีความกดดันสูงไปสู่บริเวณที่มีความกดดันต่ำ จนกระทั่งความกดดันเท่ากัน"
          กฎข้อนี้ใช้อธิบายให้ทราบถึงการแลกเปลี่ยนของก๊าซ ระหว่างอากาศที่หายใจเข้าไปในปอดกับก๊าซในกระแสโลหิตที่ไหลเวียนมาฟอกที่ปอด และระหว่างก๊าซในกระแสโลหิตกับเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ในการนำเอาออกซิเจนไปใช้ประโยชน์



แสดงการขยายตัวของก๊าซตามกฎของบอยล์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
นาวาอากาศเอก ธีระภาพ เสนะวงษ์
นาวาอากาศเอก อมร แสงสุพรรณ


กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)กฎของก๊าซ(THEGASLAWS)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ลมบกและลมทะเล

ลมบกและลมทะเล


เปิดอ่าน 45,946 ครั้ง
สายตาสั้น

สายตาสั้น


เปิดอ่าน 17,081 ครั้ง
ระบบหายใจ (respiration)

ระบบหายใจ (respiration)


เปิดอ่าน 3,787 ครั้ง
ฝนดาวตกสิงโต

ฝนดาวตกสิงโต


เปิดอ่าน 21,206 ครั้ง
มาดามคูรี : เคมี

มาดามคูรี : เคมี


เปิดอ่าน 14,027 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การวัดความกดอากาศ

การวัดความกดอากาศ

เปิดอ่าน 24,330 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
วงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า
เปิดอ่าน 67,617 ☕ คลิกอ่านเลย

"รศ.ดร.สุธีร์" ไอน์สไตน์ เมืองไทย ผู้สร้าง "สายอากาศสุธี" ที่ในหลวงรับสั่งว่า &q
"รศ.ดร.สุธีร์" ไอน์สไตน์ เมืองไทย ผู้สร้าง "สายอากาศสุธี" ที่ในหลวงรับสั่งว่า &q
เปิดอ่าน 34,376 ☕ คลิกอ่านเลย

การวัดอุณหภูมิของอากาศ
การวัดอุณหภูมิของอากาศ
เปิดอ่าน 24,317 ☕ คลิกอ่านเลย

Supernova : ซูเปอร์โนวา, มหานวดารา
Supernova : ซูเปอร์โนวา, มหานวดารา
เปิดอ่าน 19,245 ☕ คลิกอ่านเลย

สสวท. จุดประกายเรียนรู้บูรณาการด้วยวีดิทัศน์  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
สสวท. จุดประกายเรียนรู้บูรณาการด้วยวีดิทัศน์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
เปิดอ่าน 4,260 ☕ คลิกอ่านเลย

7 สัญลักษณ์ในขวดพลาสติก มีความหมายอย่างไร อันไหนรีไซเคิลได้ ที่นี่มีคำตอบ
7 สัญลักษณ์ในขวดพลาสติก มีความหมายอย่างไร อันไหนรีไซเคิลได้ ที่นี่มีคำตอบ
เปิดอ่าน 49,639 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

8 วิธีถนอมหลังห่างไกลอาการปวด
8 วิธีถนอมหลังห่างไกลอาการปวด
เปิดอ่าน 15,039 ครั้ง

กบข.เผยขั้นตอนการบันทึกไฟล์ e-Statement เพื่อยื่นภาษีอากรออนไลน์
กบข.เผยขั้นตอนการบันทึกไฟล์ e-Statement เพื่อยื่นภาษีอากรออนไลน์
เปิดอ่าน 51,822 ครั้ง

หักลดหย่อนบุตร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
หักลดหย่อนบุตร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 15,346 ครั้ง

26 มิถุนายน "วันสุนทรภู่"
26 มิถุนายน "วันสุนทรภู่"
เปิดอ่าน 77,483 ครั้ง

เช็ดตัวลดไข้ ใช้ "น้ำอุ่น" หรือ"น้ำเย็น"?
เช็ดตัวลดไข้ ใช้ "น้ำอุ่น" หรือ"น้ำเย็น"?
เปิดอ่าน 46,843 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ