ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง
ผู้รายงาน : นายวิทยา แสนแป้ รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context) ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ที่ใช้ในโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ในการดำเนินการจัดกิจกรรมของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง ดำเนินการในระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 ประชากรที่ใช้ในการประเมิน คือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 563 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 260 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 260 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 353 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 155 คน โดยสุ่มจากจำนวนประชากรด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เทียบจากตารางการกำหนดค่าของ Krejcie and Morgan และผู้ปกครองจำนวน 155 คนโดยสุ่มแบบ เจาะจงจากผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ คือ ระดับความคิดเห็น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 4 ฉบับ หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ประกอบด้วยฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านบริบทของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean: x̄ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.74, S.D. = 0.18)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.45, S.D. = 0.20)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.44, S.D. = 0.14)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฝาง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.21 , S.D. = 0.16)