ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision)
ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
ผู้วิจัย นายสุเมธ มัดธนู
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย ปี พ.ศ. 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงาน
วิชาการ และศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนา ศักยภาพครู ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครู ในการจัด การเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งตามขั้นตอนของการวิจัย และวิธีวิจัยดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานวิชาการ การจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 7 คน การวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 161 คน ขั้นที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครู ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนารูปแบบนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครู ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน กลุ่มเป้าหมาย ที่ทำการตรวจสอบคุณภาพและความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครู ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรในโรงเรียนดีประจำตำบล จำนวน 3 โรงเรียน ซึ่งกำหนดให้ครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทุกคนเป็นกลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 4 การประเมินผล การใช้รูปแบบนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อ การพัฒนาศักยภาพครู ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 220 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 55 คน ครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 165 คน ซึ่งอยู่ในโรงเรียนเดียวกันทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน 2) แบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ 4) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ตามจุดมุ่งหมายและกรอบแนวคิดในการพัฒนาโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
1.1 ผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่เปิดสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบว่า มีคุณภาพโดยรวม อยู่ในระดับดี
1.2 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้
1.3 สภาพปัญหาการบริหารจัดการ พบว่า สาเหตุที่การจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นั้น เป็นเพราะพฤติกรรมการสอนของครู เช่น ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ได้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ไม่ติดตามดูแลเด็ก ไม่ทุ่มเท กิจกรรมการเรียนรู้ไม่หลากหลาย ครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงเอก ไม่ชอบใช้สื่อ ไม่มีนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาการเรียนรู้ ของผู้เรียน ผู้บริหารส่วนหนึ่งขาด การสนับสนุนการใช้สื่อ ขาดความต่อเนื่องและวิธีการนิเทศที่หลากหลายในการนิเทศของศึกษานิเทศก์
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1ประกอบด้วย
2.1 ผลการตรวจสอบโครงร่างของรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development
Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาเห็นว่า รูปแบบการนิเทศที่แบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 มีความสอดคล้องกันในทุกประเด็นโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับสูง คือตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ กระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ร่วมวางแผนการนิเทศ เป็นขั้นตอนที่ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติโดยใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้นิเทศ เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างจิตใจให้ผู้รับการนิเทศมีความพร้อม ร่วมกันศึกษาปัญหาความต้องการในการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้และการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ความเข้าใจด้านทักษะการจัดการเรียนรู้งานอาชีพ ช่วยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ช่วยคลี่ปมบางประการให้เกิดผลในการปฏิบัติได้จริง ขั้นที่ 2 ร่วมทำ ร่วมพัฒนา เป็นการดูแลเพื่อให้บรรลุผลตัวชี้วัดตามความต้องการเสริมสร้างศักยภาพและปรับปรุงแก้ไขวิธีการจัดการเรียนรู้ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพ ขั้นที่ 3 ร่วมเรียนรู้สู่การแก้ปัญหา เพื่อให้การนิเทศแบบร่วมพัฒนามีประสิทธิผลนั้นจะต้องมีการติดตามผลเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าและประเมินผลสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย โดยการติดตามผล ขั้นที่ 4 ร่วมสะท้อนและสรุปผล เป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศเปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศได้นำความรู้ ทักษะและเจตคติที่เกิดขึ้นใหม่จากการร่วมกันสะท้อนและสรุป เพื่อให้ได้หลักการสำคัญไปประยุกต์ใช้ในการปรับการเรียนการสอนของตนเองต่อไป มีการวางแผนที่จะกลับมาปรึกษาร่วมกันอีกครั้งว่าความรู้ความเข้าใจอันใหม่ที่ได้รับการชี้แนะครั้งนี้จะเกิดผลในทางปฏิบัติเพียงใด รวมไปถึงการตกลงร่วมกันเรื่องให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เช่น หาเอกสารมาให้ศึกษาประสานงานกับบุคคลอื่นๆ แนะนำแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นต้น การร่วมสะท้อนและสรุปผล
2.2 ผู้ทรงคุณวุฒิ มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรูปแบบการนิเทศ
แบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครู ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ในประเด็นของหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบและกระบวนการนิเทศตามรูปแบบ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบว่า
3.1 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนก่อนพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ หลังพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
3.2 การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ก่อนพัฒนาตามรูปแบบ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ หลังพัฒนาตามรูปแบบฯ การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี
3.3 ความพึงพอใจของครูและผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบว่า ครูและผู้บริหารโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบนิเทศ โดยรวมระดับมากที่สุด
4 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบว่า
4.1 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่เปิดสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 หลังพัฒนาตามรูปแบบ การนิเทศ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี
4.2 การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน หลังพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี
4.3 ความพึงพอใจของครูและผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อรูปแบบนิเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
กล่าวโดยสรุป รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนา (Cooperative Development Supervision) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ที่ผู้วิจัยสร้างและมีประสิทธิภาพเพียงพอ เหมาะสมกับการนำไปใช้ในการพัฒนาตามบริบทของแต่ละโรงเรียน