ผู้วิจัย นางเฉลิมพร เอิกเกริก
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนราษีไศล องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิด Active 2.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 2.3)ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอน ดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนาโดยระเบียบการวิจัยแบบผสมผสานวิธีซึ่งมีลักษะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานรองรับภายใน ( The Embedded Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4/1โรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษตามแนวคิด Active Learning จำนวน 8 แผน 2) และแบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษจำนวน 1 ฉบับ 3)แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 1 ฉบับ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอนจำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมารตฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการจัดเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาความสามารถ
ในการแก้ปัญหาและทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีชื่อว่า OCMRXL หลักการคือ ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ผ่านการทำกิจกรรมที่ได้ได้ทำผ่านกระบวนการกลุ่มและกระบวนการคิด ทำให้สามารถพัฒนามนุษย์ได้ทั้งความคิดและความรู้สึก โดยมีวัตถุประสงค์ 6 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นเปิดประสบการณ์ของผู้เรียน ( Opening) 2. ขั้นเสริมสร้างประสบการณ์ ( Creating New Thing) 2.1 ขั้นนำ (Introduction) 2.2 ขั้นให้ข้อมูลทางไวยากรณ์ (Giving Grammar) 2.3 ขั้นฝึกพูดแบบมีกรอบ (Dependent Situation) 3.ขั้นปฏิบัติกิจกรรม ( Making Activity Together) 3.1 ขั้นฝึกพูดแบบอิสระ ( Independent Situation) 4.ขั้นสรุปความคิดเห็น ( Result) 5. ขั้นสะท้อนความคิด ( Exchanging New Idea) 6.การเรียนรู้ที่ยั่งยืน ( Life Long Learning)
2. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) หลังใช้รูปแบบนักเรียน มีพัฒนาการทางด้านทักษะการพูดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.2) หลังใช้รูปแบบนักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.3) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด