ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์


บทความการศึกษา 24 ก.พ. 2559 เวลา 08:11 น. เปิดอ่าน : 12,977 ครั้ง
"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์

Advertisement

คอลัมน์สิงคโปร์หลากมิติ โดย นันทนุช อุดมละมุล

หากจะพูดถึงความสำเร็จในการจัดการด้านการศึกษาและระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แน่นอนว่าชื่อประเทศสิงคโปร์จะต้องขึ้นแท่นเป็นอันดับแรก ๆ ที่ถูกกล่าวถึงเพราะหลักฐานความสำเร็จของระบบการศึกษาสิงคโปร์นั้นมีให้เห็นได้ในระดับสากล เช่น สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Top 50 ของโลก และ Top 10 ของทวีปเอเชีย จากสถาบันการจัดอันดับหลายแห่ง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สิงคโปร์ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแบบอย่างในด้านการจัดระบบการศึกษา ในงานวิจัยไทยหรือสื่อสิ่งพิมพ์ไทยอยู่บ่อยครั้ง

แต่กว่าที่สิงคโปร์จะผงาดขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศจากภูมิภาคเอเชีย ที่เข้าจับจองพื้นที่ในตารางการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาระดับโลกได้อย่างในปัจจุบันนั้น ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ต้องผ่านกระบวนการวางกลยุทธ์นโยบายของรัฐบาล เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ นับตั้งแต่การประกาศเอกราชและแยกตัวจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965

เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านพื้นที่และทรัพยากรของสิงคโปร์ รวมไปถึงความยากลำบากในอดีตของประเทศที่ต้องล้มลุกคลุกคลานในการ "ตั้งไข่" ทำให้ไอเดียเรื่องการเผชิญหน้ากับวิกฤตและการเอาตัวรอดกลายเป็นมายาคติของคนสิงคโปร์ และนำไปสู่บทบาทของรัฐในการจัดสรรนโยบาย ทรัพยากร และสร้างเครื่องมือกลไกในการสร้างอุดมการณ์ของรัฐ เช่น โรงเรียน และหน่วยงานรัฐบาล เพื่อพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

ในบทบรรณาธิการของวารสาร Discourse : Studies in the Cultural Politics of Education ฉบับพิเศษ ว่าด้วยระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2557 ผู้เขียนคือ แอรอน โก๊ะ และเทอเรนซ์ ชอง ได้พูดถึงแนวคิดเรื่อง "การผลิต" ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการศึกษาสิงคโปร์ไว้อย่างน่าสนใจ โดยเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษาและการพัฒนาประเทศโดยองค์รวมที่มีพื้นฐานร่วมกันบนแนวคิดเรื่อง "การผลิต"หรือเรียกได้ว่าแนวคิดเรื่องการผลิตนั้นเป็นอุดมการณ์หลักของชาติเลยทีเดียว

หลังจากแยกตัวจากมาเลเซีย สิงคโปร์ในยุค "แรกเริ่ม" เดิมทีมีสถานะเป็นรัฐเปราะบาง กระบวนการสร้างชาติจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเป็นลำดับแรก รัฐบาลของพรรค PAP (People"s Action Party) จึงมุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ รวมไปถึงการผลิตประชากร หรือการผลิต "ทุนมนุษย์" เพื่อตอบสนองการขยายตัวของการผลิตในเชิงเศรษฐกิจ เห็นได้จากนโยบายการให้โบนัสตอบแทนสำหรับการมีบุตร และนโยบายเปิดรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการผลิตภายในประเทศ เป็นต้น

ในด้านการศึกษาสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ บทบาทของการศึกษาในฐานะเครื่องมือกลไกในการสร้างชาติของสิงคโปร์ นอกจากการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเป็นชาตินิยมเพื่อตอบสนองต่ออุดมการณ์ของรัฐแล้ว การศึกษายังเป็นการผลิตทุนมนุษย์เพื่อตอบสนองในด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วย เห็นได้จากการสนับสนุนสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะสำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และต่อมาคือการสนับสนุนแรงงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลสิงคโปร์จึงทุ่มเม็ดเงินลงทุนด้านการศึกษาเป็นหลัก โดยเห็นได้จากงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้นถึง 40% ในปี 2012 เมื่อเทียบกับงบประมาณในหมวดเดียวกันในปี 2007 โดยรัฐบาลมีเป้าหมายทั้งเพิ่มความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจ และการผลักดันให้สิงคโปร์มีสถานะเป็นเมืองหลักของโลก (Global City) และประชากรสิงคโปร์มีความเป็นพลเมืองโลก (Cosmopolitanism)

เรียกได้ว่า "การผลิต" ในทางเศรษฐกิจ และ "การผลิต" ในด้านการศึกษาของสิงคโปร์นั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันชนิดที่แยกออกจากกันไม่ได้ และแม้ว่านักเรียนสิงคโปร์นั้นจะสามารถเลือกเส้นทางการศึกษาของตนเองได้ตามความถนัดและระดับความสามารถ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสิงคโปร์ในเรื่องระบบการพัฒนาบุคคลตามความสามารถ (Meritocracy) แต่ในท้ายที่สุดแล้วทุกคนก็ล้วนถูก "ผลิต" ในฐานะ "ทุนมนุษย์" ที่มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมสำหรับการเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ระบบการศึกษาและโรงเรียนจึงทำหน้าที่เหมือนเครื่องจักรหล่อหลอมความคิดและสร้างทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการส่งต่อทุนมนุษย์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของสิงคโปร์นั่นเอง

แต่อย่างไรก็ดี กระบวนการผลิตทุนมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์นั้น ไม่ใช่เส้นทางที่ปลอดโปร่งโล่งสบายเหมือนถนนวิภาวดีรังสิตในช่วงวันหยุดยาว หากแต่ยังต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคความท้าทาย ทั้งในด้านความขัดแย้งในเชิงนโยบายที่สะท้อนอุดมการณ์ของรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ หรือปัญหาที่เกิดจากระบบการพัฒนาบุคคลตามความสามารถและอุดมการณ์ของชนชั้นกลาง ที่ไปกันได้ไม่ดีนักกับนโยบายในการสร้างแรงงานเพื่อการพัฒนาประเทศ เป็นต้น ซึ่งประเด็นปัญหาเหล่านี้จะได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันในตอนต่อ ๆ ไปของ "สิงคโปร์หลากมิติ"  

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559


"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์การผลิตกับการศึกษาประเทศสิงคโปร์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน


เปิดอ่าน 16,620 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

8 โรงเรียนนวัตกรรมโลกตามหลัก Education 4.0 : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.3

8 โรงเรียนนวัตกรรมโลกตามหลัก Education 4.0 : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.3

เปิดอ่าน 3,925 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
เปิดอ่าน 31,251 ☕ คลิกอ่านเลย

การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล
การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล
เปิดอ่าน 29,602 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
เปิดอ่าน 105,004 ☕ คลิกอ่านเลย

อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
เปิดอ่าน 19,356 ☕ คลิกอ่านเลย

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
เปิดอ่าน 8,333 ☕ คลิกอ่านเลย

สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
เปิดอ่าน 11,173 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ?
ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ?
เปิดอ่าน 28,927 ครั้ง

วิธีเลือกสกินแคร์ให้เหมาะกับผิว
วิธีเลือกสกินแคร์ให้เหมาะกับผิว
เปิดอ่าน 5,453 ครั้ง

ตูนส์ศึกษา "นโยบายไปทาง..ปฏิบัติไปทาง..สุดท้ายปฏิวัติเสียของ"
ตูนส์ศึกษา "นโยบายไปทาง..ปฏิบัติไปทาง..สุดท้ายปฏิวัติเสียของ"
เปิดอ่าน 13,071 ครั้ง

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
เปิดอ่าน 155,976 ครั้ง

ชมคลิป เด็ก ป.5 ท่องบทอาขยานไพเราะสุด ๆ ฟังแล้วทึ่ง
ชมคลิป เด็ก ป.5 ท่องบทอาขยานไพเราะสุด ๆ ฟังแล้วทึ่ง
เปิดอ่าน 17,395 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ