ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
สาวไส้ความง่อยเปลี้ยระบบศึกษาไทย ใครอยู่เบื้องหลังความเหวอะหวะซ้ำซาก?
บทความการศึกษา 16 ก.พ. 2559 เปิดอ่าน : 18,175 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

สาวไส้ความง่อยเปลี้ยระบบศึกษาไทย ใครอยู่เบื้องหลังความเหวอะหวะซ้ำซาก?
Advertisement

ข้อสอบโหด คะแนนโอเน็ตตกต่ำ เด็กบ้าระห่ำเรียนพิเศษ ผลเฉลี่ยของประเทศต่ำกว่านานาชาติ นักเรียนไทย ครูไทย และหลักสูตรการศึกษาไทยกลายเป็นจำเลยที่ถูกตบหน้าฉาดใหญ่ว่า "ตัวปัญหา" แต่ในมุมของ "ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์" คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กลับเห็นต่าง

...นี่ไม่ใช่ความผิดของครู นักเรียน โรงเรียน แต่เป็นบทสะท้อนหนึ่งของระบบการศึกษาไทยที่ล้มเหลวจากอดีตผู้กุมนโยบายการศึกษาทั้งหลาย

ข้อสอบระดับชาติ ปัญหาระดับชาติ

คำกล่าวที่ว่า "ยิ่งโต ยิ่งเรียน ยิ่งไม่มั่นใจในระบบ" ดูจะเป็นภาพที่ชัดขึ้นจนใครหลายคนต้องหันกลับมาตั้งคำถาม และทวงถามถึงการเรียนรู้ที่แท้จริงของมนุษย์มากขึ้น แม้จะมีความหวังที่ผุดพรายขึ้นจากการตื่นตัวของผู้ใหญ่หลายๆ ฝ่าย แต่ก็ยังดูคลุมเคลือ และหลงทางอยู่มาก

ประเด็นนี้ ดร.โกศล ในฐานะคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชี้ให้เห็นจุดอ่อนของระบบการศึกษาไทย เริ่มตั้งแต่ตัว "ข้อสอบระดับชาติ" โดยเฉพาะมาตรฐานของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับการวัดมาตรฐานความรู้ของเด็ก

ดร.โกศล บอกว่า ที่ผ่านมาการออกข้อสอบจะมาจากหลักสูตรแกนกลาง แต่ปัญหาคือ หลักสูตรแกนกลางกับหลักสูตรที่สอนมันไม่สอดคล้องกัน

"เวลาออกข้อสอบไม่ใช่วัดว่าเด็กโง่ หรือฉลาด แต่ต้องวัดว่าครูสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ เด็กสอบได้หรือไม่ได้มันอยู่ที่ความสามารถของครูว่าสอนเด็กได้ดีมากน้อยแค่ไหน ส่วนเรื่องข้อสอบ พอถูกพูดถึงมากขึ้นว่ายาก เด็กทำกันไม่ได้ ก็ออกมายอมรับ ขอโทษ ส่วนตัวมองว่า ออกมาโทษได้อย่างไร ฉะนั้นหลักการมันผิดไปหมด" ผู้ทรงคุณวุฒิท่านนี้บอกด้วยความละเหี่ยใจ ก่อนจะเสนอว่า "ต้องปฏิรูปวิธีการสอนด้วยโดยให้เด็กนักเรียนได้หัดคิด หัดวิเคราะห์ ครูควรจะพูด 5-10 นาที ทีเหลือ 40-50 นาทีควรให้เด็กเป็นคนคิด หรือนำเสนอ"

ส่วนเรื่องข้อสอบ ถ้าเด็กยังเคยชินกับข้อสอบแบบปรนัยในระบบโรงเรียน แม้จะเปลี่ยนเป็นข้อสอบอัตนัยในการสอบระดับชาติมันก็ยิ่งยากเข้าไปอีก นอกจากนั้นยังกระทบไปถึงผลการประเมินคุณภาพการศึกษาด้วยวิธีการของ PISA (Programme for International Student Assessment) ของประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) ที่ใช้ทดสอบนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่ง PISA เป็นข้อสอบแบบอัตนัยก็ยังคงออกมาไม่ดี เพราะเด็กไทยไม่คุ้นเคย ไม่แปลกที่การศึกษาไทยจะออกมาดูด้อยกว่าประเทศอื่น นี่คือสิ่งที่ต้องเฉลียวใจกันได้แล้ว

"ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาด้วยวิธีการของ PISA ธนาคารโลก สถาบัน IMD มักจะเอาตัวนี้ไปอ้าง หรือใครๆ ก็เอาตัวนี้ไปอ้าง ในที่สุดก็มาบอกว่า ประเทศไทย เด็กไทยคุณภาพด้อยกว่าประเทศอื่น ซึ่งน่าสงสารมากที่ผู้ใหญ่เอามาพูดโดยที่ผู้ใหญ่เองเป็นผู้วางนโยบายต่างๆ ไม่เข้าใจ แต่กลับไปเอาครู เด็กไปเป็นจำเลยของสังคม แต่ถ้าคุณบอกเข้าใจ คุณต้องเข้าใจมันจริงๆ โดยต้องเริ่มปฏิรูปวิธีการเรียนการสอนให้เด็กคุ้นเคยกับการสอบแบบอัตนัยเสียก่อน

ผมเคยไปกระทู้ถามท่านดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แล้วท่านก็มาสั่งให้สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) บอกว่า ต่อไปเวลาการสอบให้เน้นข้อสอบแบบอัตนัย หลังจากนั้นก็มีข่าวออกมาว่าสพฐ.ตอบรับแล้ว ต่อไป 30 เปอร์เซ็นต์ของการสอนภาษาไทยจะเป็นแบบอัตนัย ซึ่งผมก็ตกใจ สอบภาษาไทยมันต้องเป็นแบบอัตนัยมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ที่อยากชี้ให้เห็นก็คือ วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ท่องจำมาแล้วขีดถูกขีดผิด เพราะวิธีขีดถูกขีดผิดมันก็เลยทำให้โรงเรียนกวดวิชายิ่งเจริญรุ่งเรือง

พอเด็กเข้าไปกวดวิชาก็จำมาให้รู้เทคนิคของการคิดขีดถูกขีดผิด ไม่ได้ใช้เหตุผล ไม่ได้ใช้การคิดวิเคราะห์ หรืออย่างคะแนนโอเน็ต ต่างประเทศเขาไม่ได้สนใจเลย มันเป็นเรื่องภายในทั้งสิ้น มันไม่ได้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างแท้จริงด้วยซ้ำ เมื่อคะแนนตกต่ำแทนที่จะเฉลียวใจได้แล้ว ทำไมต้องไปเอาครู หรือนักเรียนมาเป็นจำเลยด้วย ทำไมไม่คิดถึงตัวข้อสอบเองล่ะว่า ออกข้อสอบไปทำอะไร"

การศึกษาชาติล้มเหลว ผิดที่ใคร?

ดังนั้น การจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดี และคุ้นเคยกับวิธีการประเมินแบบอัตนัยของประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องหันกลับมามองที่ตัวการใหญ่คือ "ผู้กุมนโยบายการศึกษา" โดยมุ่งเน้นการสอบแบบอัตนัย โดยเฉพาะการสอน การสอบในรั้วมหาวิทยาลัย ตลอดจนการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เพราะถ้าเริ่มเปลี่ยนจากจุดนี้ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการทดสอบระดับชาติ หรือโอเน็ตก็จะเปลี่ยนตาม

"คุณภาพการศึกษาไทยที่ว่าด้อยไม่ได้มาจากครูเป็นหนี้ เพราะท่านดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณเคยเอาเรื่องหนี้ของครูมาให้ดู แล้วพบว่า ในครูจำนวน 4 แสนกว่าคน มีครูที่วิกฤตเรื่องหนี้อยู่ไม่ถึง 2,000 คน แต่คุณภาพการศึกษามันอยู่ที่ผู้วางนโยบาย เอาไปพูดต่อโดยไม่เข้าใจ ดังนั้นส่วนตัวมองว่าหลักสูตรของเรามันไม่ได้ด้อยหรอก ครูผู้สอนก็ไม่ได้ด้อยกันไปหมด นักเรียนไทยก็ไม่ด้อยไปกว่าประเทศอื่น เพียงแต่วิธีการประเมินผลของ PISA เด็กไทยเราไม่คุ้นเคยกัน กระทรวงศึกษาก็ไม่ได้สนใจ ภาพการศึกษาไทยก็เลยออกมาเป็นแบบนี้"

ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากการปฏิรูปตัวชี้วัด และวิธีการเรียนการสอนโดยเน้นข้อสอบแบบอัตนัยแทนปรนัย คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ท่านนี้เสนอว่า ควรหันมาใช้ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดเล็ก สร้างเครือข่ายในแต่ละเขตพื้นที่เพื่อยกค่าเฉลี่ยระดับจังหวัด

"ก่อนที่คสช.จะเข้ามา ผู้กำหนดนโยบายการศึกษาคือ นักการเมืองที่ไปบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พอเข้าไปก็เก่งหมด ทำโน่น ทำนี่ กลายเป็นโครงการโน้น โครงการนี้ แต่ตัวเองก็อยู่ได้ไม่นาน แถมไม่มีใครสานต่อ หรือประเมินผลกัน ส่วนตัวกล้าพูดได้เลยว่า การศึกษาที่บอกว่าตกต่ำ ไม่ได้มาจากครู นักเรียน แต่ที่ตกต่ำเพราะอดีตผู้กำหนด หรือผู้กุมนโยบายการศึกษาที่ไม่เข้าใจปัญหา และเกาไม่ถูกที่คัน

ถ้าอยากจะให้พัฒนาในทางที่ดี ส่วนตัวเสนอให้อำนาจเป็นพื้นที่ๆ หรือเป็นจังหวัดๆ ไป จากนั้นเอาทรัพยากรทางด้านครูในจังหวัดมาพิจารณาร่วมกันว่าครูคนนี้ต้องไปสอนโรงเรียนนั้น ครูคนนี้ต้องไปสอนโรงเรียนนี้ ผิดกับทุกวันนี้ที่ในจังหวัดมีโรงเรียนประจำจังหวัด และเด็กมักจะแห่ไปเข้าเรียนกัน ส่วนโรงเรียนในพื้นที่ชนบทแทบจะไม่ได้รับอะไรเลย เมื่อได้ครู ได้ความเข้าใจที่ตรงกันแล้ว มีการจัดห้องเรียนอย่างเหมาะสม เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ คุณภาพของนักเรียนไทย ครูไทย และหลักสูตรการศึกษาของไทยจะไม่ด้อยไปกว่าประเทศอื่น"


"ผอ." กับการได้มาที่น่าห่วง

ส่วนอีกหนึ่งปัญหาที่น่าเป็นห่วงก็คือ การได้มาของผู้บริหารสถานศึกษา หรือครูใหญ่ รวมไปถึงผู้ช่วยครูใหญ่ที่ต้องกลับมาทบทวน และแก้ไข

"การได้มาล้วนแล้วแต่ได้มาจากการสอบ และข้อสอบส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของระเบียบราชการแทบทั้งนั้น ทำให้ส่งผลต่อการบริหารการศึกษาที่เน้นการสั่ง การใช้อำนาจ แทนที่จะให้ความสำคัญกับงานวิชาการ นอจากนั้นยังเข้ามาจัดการเรื่องการก่อสร้างเสียเป็นส่วนใหญ่ มีครูใหญ่น้อยคนนักที่สนใจเรื่องวิชาการ

เช่นเดียวกับตัวครูผู้สอน ไม่ใช่ให้ครอบงำโดยครูที่ผ่านกระบวนการผลิตครูเท่านั้น ส่วนตัวมองว่าเรื่องมาตรฐานวิชาชีพครู ใบประกอบวิชาชีพครูจะต้องสังคายนากันครั้งใหญ่" ก่อนจะทิ้งท้ายว่า "เด็กไทยไม่โง่ครับ นอกจากครูไปสอนให้เด็กโง่ ส่วนระบบครู ผมมองว่าก็ยังดีอยู่นะ มีจำนวนมากเลยที่ยังดีอยู่ ที่ไม่ดีก็คือผู้กำหนดนโยบายการศึกษา และการได้มาของครูใหญ่ที่ผมมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ในตอนนี้" 

 

 

ที่มา ผู้จัดการรายวัน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)
เปิดอ่าน 6,939 ครั้ง
ตามไปดูการศึกษานอกหลักสูตร : ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ คำตอบสุดท้ายจะออกมาอย่างไร

ตามไปดูการศึกษานอกหลักสูตร : ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ คำตอบสุดท้ายจะออกมาอย่างไร
เปิดอ่าน 10,615 ครั้ง
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น

การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
เปิดอ่าน 16,373 ครั้ง
โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (จบ)

โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (จบ)
เปิดอ่าน 9,235 ครั้ง
"โรงเรียนนิติบุคคล" ปฏิรูปการศึกษา...เกิดขึ้นจริง

"โรงเรียนนิติบุคคล" ปฏิรูปการศึกษา...เกิดขึ้นจริง
เปิดอ่าน 9,460 ครั้ง
อวสาน อ.ก.ค.ศ. โดย อดิศร เนาวนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อวสาน อ.ก.ค.ศ. โดย อดิศร เนาวนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เปิดอ่าน 19,113 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?

ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 7,517 ครั้ง
ภาษาอังกฤษไม่แข็ง

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง
เปิดอ่าน 9,654 ครั้ง
บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
เปิดอ่าน 17,882 ครั้ง
มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)

มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)
เปิดอ่าน 9,454 ครั้ง
แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด

แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด
เปิดอ่าน 27,168 ครั้ง
เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 7,830 ครั้ง
ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน

ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน
เปิดอ่าน 9,026 ครั้ง
อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน

อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน
เปิดอ่าน 10,545 ครั้ง
"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์

"แก่"…อย่างมีคุณค่า โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
เปิดอ่าน 10,546 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
เปิดอ่าน 22,251 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)
ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)
เปิดอ่าน 6,939 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 20,159 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา ?
ปฏิรูปการศึกษา ?
เปิดอ่าน 8,065 ☕ คลิกอ่านเลย

เด็กรุ่นใหม่... เขาทำ (อาชีพ) อะไร
เด็กรุ่นใหม่... เขาทำ (อาชีพ) อะไร
เปิดอ่าน 8,200 ☕ คลิกอ่านเลย

โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
เปิดอ่าน 16,771 ☕ คลิกอ่านเลย

การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?
การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?
เปิดอ่าน 5,460 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คลิปสุดซึ้ง รับวันครู 2559 สร้างจากเรื่องจริงของครูใหญ่ กับเงิน 1,000 ล้าน (Full Version)
คลิปสุดซึ้ง รับวันครู 2559 สร้างจากเรื่องจริงของครูใหญ่ กับเงิน 1,000 ล้าน (Full Version)
เปิดอ่าน 19,640 ครั้ง

การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
เปิดอ่าน 47,174 ครั้ง

ตูนส์ศึกษา : เด็กจะกระตือรือร้นและมีความสุขในการเรียนเมื่อใด......ภาพนี้มีคำตอบ
ตูนส์ศึกษา : เด็กจะกระตือรือร้นและมีความสุขในการเรียนเมื่อใด......ภาพนี้มีคำตอบ
เปิดอ่าน 11,267 ครั้ง

มารู้จักปุ่ม F บนคีย์บอร์ดกันดีกว่า
มารู้จักปุ่ม F บนคีย์บอร์ดกันดีกว่า
เปิดอ่าน 103,861 ครั้ง

"ผักปลัง" ผักพื้นบ้าน ปลูกง่าย มีประโยชน์
"ผักปลัง" ผักพื้นบ้าน ปลูกง่าย มีประโยชน์
เปิดอ่าน 5,126 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ