ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
ซุปเปอร์บอร์ดจะเป็นอัศวินม้าขาว ทางการศึกษาไทยได้หรือ
บทความการศึกษา 27 เม.ย. 2558 เปิดอ่าน : 9,943 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

ซุปเปอร์บอร์ดจะเป็นอัศวินม้าขาว ทางการศึกษาไทยได้หรือ
Advertisement

ณรงค์ ขุ้มทอง
ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายการคืนความสุขให้คนไทย โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงปัญหาการศึกษาของไทย และมีแนวคิดจะตั้งซุปเปอร์บอร์ดมาเป็นผู้ขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาที่หมักหมมเรื้อรังมายาวนาน โดยเบื้องต้นได้วางเป้าหมายไว้ 6 ยุทธศาสตร์ใหญ่ๆ ด้วยกัน และ 6 ยุทธศาสตร์ดังกล่าวตรงกับปัญหาทางการศึกษาของไทยจริงๆ

ผู้เขียนหวังว่า ซุปเปอร์บอร์ดดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ เพราะปัญหาทางการศึกษาของไทยมีมากมาย เช่น ปัญหาการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษาที่มีพื้นที่รับผิดชอบกว้างขวางเกินไป (ดูแลหลายจังหวัด) ปัญหาการขาดเอกภาพของเขตพื้นที่ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ต่างคิด ต่างทำ ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในระดับจังหวัดด้านการศึกษาที่สามารถควบคุมนโยบายและสั่งการให้ผู้บริหารระดับเขตเป็นหนึ่งเดียวควรจะมีหรือไม่ รวมถึงระดับกระทรวงควรมีตำแหน่งที่สามารถบริหารจัดการ 5 แท่งทางการศึกษาของไทย ที่ต่างคิดต่างทำเช่นกัน

และปัญหาร้อนๆ ล่าสุด คือปัญหาผลคะแนน O-net ในภาพรวมยังไม่ดีขึ้น แต่ก็พอมีความหวังอยู่บ้างคือ ผล O-net ของโรงเรียนขนาดเล็ก ส่วนหนึ่งที่อยู่ในโครงการดาวเทียม DLTV มีผล O-net สูงขึ้นอย่างน่าทึ่ง และ 6 ยุทธศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีน่าจะเป็นแรงหนุนให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ฉุดรั้งในการพัฒนาและคุณภาพการศึกษาของไทย ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะปัญหาและแนวทางพัฒนาดังนี้

1.ยุทธศาสตร์ระดับประถมศึกษา นักเรียนต้องอ่านออกเขียนได้ และให้มีการประเมินติดตามอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน และเข้มข้น ซึ่งตรงกับปัญหามากที่สุด เพราะถ้านักเรียนยังเขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก ไม่พร้อมที่จะเลื่อนชั้นเรียนไปในชั้นที่สูงขึ้นได้ การเรียนซ้ำชั้นของผู้เรียนมีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในปัจจุบันจำนวนนักเรียนต่อห้องก็มีน้อย และจำนวนนักเรียนในโรงเรียนบางโรงไม่ถึง 100 คน โรงเรียนดังกล่าวมีครูค่อนข้างพร้อม แต่ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ยังมีอยู่ ฉะนั้นผู้บริหารในระดับเขต ระดับโรงเรียน และครูอาจารย์จะต้องมีส่วนรับผิดชอบหรือไม่

2.ยุทธศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ให้มีการเลือกวิชาชีพ ประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่ง ซึ่งปัจจุบันในโรงเรียนจัดอยู่แล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของโรงเรียน แต่โรงเรียนมักจะจัดเป็นวิชาเลือกหรือวิชาเพิ่มเติม ปัญหาสำคัญคือนักเรียนไม่เลือกในรายวิชาที่เป็นวิชาชีพ เพราะนักเรียนถูกฝึกให้สบายไม่ต้องรับผิดชอบ เรียนแล้วเหนื่อยต้องออกแรงฝึกปฏิบัติ และกระแสด้านวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมไม่เป็นที่นิยมของผู้เรียน นักเรียนมุ่งที่จะเรียนแต่สายสามัญทั้งๆ ที่ตัวเองไม่พร้อมที่จะเรียน เกรดเฉลี่ย 1.50 ก็อยากเรียนสายวิทย์-คณิต นักเรียนเลือกตามเพื่อนหรือตามกระแส

ผู้เขียนใคร่ขอเสนอว่าควรรื้อฟื้นโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมขึ้นมาใหม่ โดยสอนวิชาสามัญและวิชาชีพในระดับ ม.ต้น ผลดีคือนักเรียนจะมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ/นักเรียนสามารถประเมินตนเองได้ว่าเมื่อจบชั้น ม.3 อย่างเช่นเด็กในประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เป็นต้น ซึ่งนักเรียนสามารถนำเอาความรู้ด้านเทคนิค/ด้านวิชาชีพที่เรียนมาปรับมาใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ซ่อมไฟฟ้า/ซ่อมรถจักรยานยนต์/จักรยาน เบื้องต้นได้ และที่สำคัญกระทรวงศึกษาธิการจะได้ลดภาระในการรณรงค์ให้นักเรียนเข้าเรียนสายอาชีพลงได้ไม่มากก็น้อย และไม่ต้องเสียงบประมาณของรัฐมาจ้าง (ให้ทุน) ให้นักเรียนเข้าเรียนในสายอาชีพที่กำลังคิดกันอยู่ในขณะนี้

ในประเทศสิงคโปร์ได้พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งพัฒนาทางวิชาชีพ ซึ่งได้บรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปประเทศชาติ มีการจัดตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) ทั้งนี้เพื่อวางรากฐานวิชาชีพให้กับประเทศและมีนโยบายให้โรงเรียนตั้งชุมชนวิชาชีพขึ้นในโรงเรียนนำร่องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ แต่ผู้เขียนเป็นห่วงว่าเมื่อเดินหน้าโครงการใดแล้วอย่าเปลี่ยน อย่าทิ้งโครงการเสียเฉยๆ เหมือนที่ผ่านมา ดังเช่นโครงการโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง หรือโครงการผู้นำอาเซียนที่ดูซบเซาลง

ประเด็นนี้น่าจะเป็นโอกาสดีของประเทศไทย จะได้มีแรงงานทั้งในระดับล่าง กลาง สูง รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และพร้อมที่จะแข่งขันในระดับอาเซียนและนานาชาติได้ และที่สำคัญสามารถลดการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านได้ไม่มากก็น้อย มีผลให้แรงงานไทยช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยตนเองโดยไม่พึ่งพาแรงงานจากต่างชาติ ดังเช่นปัจจุบัน

3.ยุทธศาสตร์ให้มีการเชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับการส่งเสริมวิชาชีพและอาชีพ ให้ตรงกับตลาดแรงงานและความต้องการของตลาดแรงงาน ประเด็นนี้สำคัญเช่นกันและขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์อีกเช่นเคย สิงคโปร์วางพื้นฐานของการศึกษาเยาวชนไว้ 4 เป้าหมายคือ 1.เพื่อชาติ 2.เพื่อการศึกษาและพัฒนา 3.เพื่อการปฏิบัติและฝึกทักษะ 4.เพื่อการมีส่วนร่วมสู่วิชาชีพ ทั้ง 4 ภารกิจนี้ให้ถือยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสิงคโปร์โดยให้กระทรวงศึกษาธิการนำไปขยายผลและปฏิบัติ คิดการวัดและประเมินผลควบคุมอย่างเคร่งครัด โดยเน้นสร้างและส่งเสริมการคิด การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา สร้างเจตคติ การทำงานร่วมกัน ความสนใจใฝ่รู้สร้างนิสัย ความอดทน ความเพียรพยายาม และปลูกฝัง การค้นคิดนวัตกรรมใหม่ (New Inonvation) และการค้นหาสิ่งใหม่ๆ มาสร้างประเทศ

ผู้เขียนจึงเสนอว่าควรเพิ่มและตัดรายวิชาที่เป็นขยะในการเรียนของเด็กลงและควรเพิ่มรายวิชาที่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน เช่น วิชา โลจิสติกส์ (Logistics) วิชาการค้าระหว่างประเทศ วิชาการเงินและการคลัง เป็นพื้นฐานให้กับนักเรียน ตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงระดับอุดมศึกษา เป็นการเตรียมคนเข้าสู่วิชาชีพ จึงถึงเวลาแล้วที่กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับสังคมโลกในศตวรรษที่ 21

4.ยุทธศาสตร์ระดับอุดมศึกษา เน้นการวิจัยและเชื่อมกับภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม
ด้านการวิจัยเป็นเรื่องควรเร่งและส่งเสริมโดยด่วนเพราะเป็นพื้นฐานในเชิงพัฒนาประเทศทุกๆ ด้าน แต่ถ้าดูผลการประเมินประจำปี 2014 ของ World Economic Forum พบว่าด้านการวิจัยและบริการ ระดับกลุ่มอาเซียนประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 5 (1.สิงคโปร์ 2.มาเลเซีย 3.อินโดนีเซีย 4.ฟิลิปปินส์ 5.ไทย) และอยู่ในลำดับ 61 ของโลก

ผู้เขียนจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งด้วยแนวทางของท่านนายกรัฐมนตรี เพราะงานวิจัยเป็นพื้นฐานเชิงข้อมูลที่สำคัญนำไปสู่การค้นคิดนวัตกรรมใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ ผู้เขียนอยากฝากผู้เกี่ยวข้องว่าทำอย่างไร สอนให้น้อยลงแต่เรียนรู้และปฏิบัติให้มากขึ้น สอนด้วยโครงงาน จัดการศึกษาโดยมองพื้นฐานการตลาดและความต้องการของประเทศและของโลก การศึกษาเพื่อประกอบอาชีพเป็นสำคัญ มุ่งผลิตบุคลากรให้สอดคล้องตามความต้องการกับตลาดแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการของไทยเราควรวางเป้าหมายการผลิตบุคลากรในระดับ Polytechnic ให้มากกว่าการผลิตบุคลากรทางวิชาการหรือเป้าหมายงานราชการหรือมนุษย์เงินเดือน ในประเทศสิงคโปร์มีมุมมองในการตั้งสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพหรือธุรกิจให้อยู่ในย่านอุตสาหกรรม ย่านเคหกิจ

ทั้งนี้ให้ผู้เรียนได้เห็นและสัมผัส เห็นการแข่งขันเชิงธุรกิจ และสิงคโปร์ยังนำห้องสมุดแห่งชาติ (National Library) ไปอยู่ในห้างสรรพสินค้า เพราะสถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่งรวมของเยาวชน ทั้งนี้เพื่อเอื้อให้เยาวชนเข้าถึงได้สะดวกและง่ายมากขึ้นในการศึกษาค้นคว้า ในประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง ไทเป นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 90-95% จะเรียนและทำงานไปด้วย โดยไม่พึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง ซึ่งตรงกันข้ามกับเด็กนักศึกษาไทยที่ผู้ปกครองจะต้องดูแลเกือบตลอดชีวิต

5.ยุทธศาสตร์ยกระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษการยกระดับความสามารถทางภาษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเราได้ตื่นตัวมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่พอตรวจสอบวัดหรือประเมินผลออกมาก็ยังไม่ดี ยังไม่เป็นที่พอใจ ถ้าเทียบเคียงในระดับอาเซียนแล้วไทยอยู่ลำดับที่ 4 ที่ 5 ทั้งๆ ที่เด็กไทยเริ่มเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อนุบาล จนถึงมหาวิทยาลัย ร่วมๆ 10 ปี แต่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ภาษาอังกฤษจึงเป็นยาขมหม้อใหญ่ของเด็กไทย ในประเทศมาเลเซียจะจัดทำแผ่นซีดีแจกให้โรงเรียนนำไปฝึกไปสอนเหมือนกันทั้งประเทศ ฝึกอ่านฝึกออกเสียง เป้าหมายคือ อ่านออก พูดได้ มาเลเซียจึงเป็นของดีราคาถูก ยิ่งตอนนี้มีกระแสข่าวว่าจะนำโมเดลประเทศฟินแลนด์มาใช้พัฒนาการศึกษาของไทย ฟินแลนด์กับไทยต่างกันมากๆ ในบริบทของประเทศเกือบทุกด้าน

ผู้เขียนคิดว่าอย่าเลย เพราะตัวอย่างใกล้บ้านเรามีดีๆ ให้ดู ให้เห็น และนำมาเป็นตัวอย่างได้ และที่มันแย่ๆ ในขณะนี้ก็เอามาจากยุโรป อเมริกา ไม่ใช่หรือ (ไม่ได้แย่ทั้งหมด) ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษในไทยเป็นปัญหาเดิมๆ ทั้งๆ ที่หลายโรงเรียนพยายามดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ยังมีโรงเรียนอีกเกินครึ่งของไทยที่ยังไม่พร้อม ไม่มีทั้งครูเจ้าของภาษา ไม่มีงบประมาณที่จะว่าจ้างครูชำนาญการทางภาษามาฝึกมาสอน ครูด้านภาษาที่มีอยู่แล้วก็ไม่พร้อมที่จะสอนภาษาได้ในระดับมาตรฐานสากล ครูไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องตรงข้ามกับประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ครูจะถูกฝึกอย่างเข้ม 300-500 ชั่วโมง ทุก 3 ปี เป็นต้น และถ้านำมุมมองจากต่างประเทศในมิติทางภาษาของไทยแล้ว พบกับความเจ็บปวด เพราะคนไทยรู้แต่ภาษาของตัวเองคือภาษาไทย การศึกษาของไทยไม่ทันและสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก คนไทยไม่พร้อมในเวทีโลก คนไทยมองอนาคตไม่เป็น เป็นต้น

ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมด้านภาษาอังกฤษโดยใช้ยุทธศาสตร์โรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง โดยคัดเลือกโรงเรียนขนาดใหญ่ประจำจังหวัด ประจำอำเภอ ทั้งมัธยมและประถมศึกษา รวมภาครัฐและเอกชนที่มีความพร้อมด้านการบริหารจัดการ/ด้านบุคลากร ให้เป็นศูนย์พัฒนาทางภาษาอังกฤษ โดยใช้ศูนย์ภาษาในโรงเรียนมัธยมในแต่ละภาคเป็นศูนย์ (ERIC-English Resource Intruction Center) บริหารจัดการที่ผ่านมา ทำแต่ไม่เต็มที่ไม่ต่อเนื่อง และที่สำคัญขาดการติดตามและประเมินที่ชัดเจนและเข้มข้น ขาดงบประมาณ

ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ทางภาษา เพราะนโยบายโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องมีอยู่แล้ว ศูนย์ภาษาในแต่ละภาคมีอยู่แล้วเพียงแต่นำมาบริหารจัดการใหม่ โรงเรียนหลักๆ ข้างต้นทั่วประเทศเกือบ 5,000 โรงเรียน โดยสร้างเครือข่ายทางภาษาอังกฤษ โรงเรียนละ 3-5 โรงเรียน เราก็สามารถมีโรงเรียนที่ได้รับการฝึกและพัฒนาทางภาษาทั้งครูและนักเรียนทั้งประเทศได้เกือบ 20,000-30,000 โรง จึงขอฝากไปยังซุปเปอร์บอร์ดลองพิจารณาดู

6.ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตครูประเด็นการผลิตครูผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูเป็นวิศวกรที่ผลิตคน สร้างคน และคนเป็นครูไม่ใช่สอนหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่ควรสอนนักเรียนด้วย (สอนคุณธรรม-จริยธรรม) แต่ปัจจุบันเรามีครูสอนหนังสือมากกว่าครูสอนคุณธรรม-จริยธรรม สายใยและความรักระหว่างครูกับนักเรียนมีน้อยลง ความผูกพันระหว่างครูและนักเรียนมีระยะห่างมากขึ้น การที่ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญด้านนี้ และผู้เขียนในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นหรือแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และผู้เขียนได้ไปศึกษาดูงานการผลิตครูในประเทศเกาหลีใต้เมื่อหลายปี พบว่ามี 2 ระบบคือ วิทยาลัยครู ผลิตครูเพื่อสอนระดับประถมศึกษา นักศึกษาครูจะได้รับทุนยกเว้นค่าลงทะเบียนและอื่นๆ เมื่อจบแล้วต้องไปเป็นครูในโรงเรียนประถมศึกษาอย่างน้อย 4 ปี

อีกระบบคือวิทยาลัยวิชาการศึกษาหลักสูตร 4 ปี ผลิตครูสอนระดับมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยอื่นๆ ผลิตครูจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลและต้องรับรองคุณภาพเท่านั้น นอกจากนั้นเกาหลีใต้ได้วางแผนสร้างระบบการศึกษาใหม่ (New Education System) โดยตั้งมหาวิทยาลัยทางการศึกษา Korea National University of Education เพื่อผลิตครูชั้นนำที่สามารถสอนและวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา รวมทั้งผลิตครูให้เป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษา มีบทบาทในการฝึกอบรมและวิจัยทางการ เกาหลีใต้เจริญก้าวหน้ามาได้ทุกวันนี้

การผลิตครูโครงการคุรุทายาทจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมา เพราะโครงการคุรุทายาทเป็นโครงการที่ดี ควรนำมาปัดฝุ่นใหม่ แต่ควรเพิ่มความเข้มของความเป็นครูในขั้นสูงสุด ฝึกความรักในวิชาชีพครูให้เขาเป็นครูมืออาชีพ อย่าให้เขาเป็นครูที่มีอาชีพครู ดังที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยกล่าวไว้ การผลิตครูโดยคัดผู้เรียนที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม/มีคุณธรรม-จริยธรรมที่ดี เคารพในสถาบันชาติ/ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นสูงสุด ใฝ่ในระบอบประชาธิปไตย และเมื่อจบหลักสูตรแล้วรัฐรองรับบรรจุในการทำงาน พร้อมให้ค่าตอบแทนขั้นต่ำที่สูงพอเทียบเท่ากับอาชีพหมอและวิศวกร และควรกำหนดสถาบันที่ผลิตครูเป็นการเฉพาะ ภาคละ 1 แห่ง และส่วนกลาง 1-2 แห่งเท่านั้น ใช้หลักสูตรเดียวกัน การฝึกปฏิบัติเดียวกัน (เทียบเท่าโรงเรียนเตรียมทหาร) และห้ามไม่ให้สถาบันที่ไม่พร้อมผลิตครูโดย เด็ดขาด

การผลิตครูยุคใหม่ ต้องเป็นครูพร้อมที่จะสอนฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิด/การสื่อสาร/การแก้ปัญหา/การมีส่วนร่วม/และจิตสาธารณะ และครูยุคใหม่ไม่ใช่ครูที่สอน ที่บอกความรู้อีกต่อไป ครูต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด รู้จักค้นคว้า รู้จักวิเคราะห์และแยกแยะต่างหากที่สำคัญที่สุด เพราะความรู้ยุคใหม่ที่มีในโลกมาอยู่ใกล้ตัวเด็ก หรืออยู่ปลายนิ้วผู้เรียนแล้ว ปรัชญาทางการศึกษายุคใหม่เปลี่ยนไปแล้ว อย่างเช่น ฮ่องกงได้นำหลักคิดอริสโตเติล บิดาการคิดและวิเคราะห์ มาเป็นโมเดลปฏิรูปการศึกษาของฮ่องกงในปี 2000 และฮ่องกงใช้เวลา 10 ปีเศษก็สามารถเปลี่ยนโฉมและคุณภาพทางการศึกษาสู่แนวหน้าของโลกได้ในเวลาอันสั้น

6 ประเด็นที่ท่านนายกรัฐมนตรีคิดและวางเป้าหมายนับว่าน่าจะเป็นอีกยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาทางการศึกษาของไทย และผู้เขียนหวังว่า 6 ประเด็นข้างต้นจะส่งผลต่อผู้เรียน ต่อคุณภาพการศึกษาในอนาคตข้างหน้า และอย่าลืมว่า ถ้าคิดอย่างไทย ทำอย่างไทย บริหารแบบไทยๆ น่าจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการปฏิรูปการศึกษาของไทย

และอยากฝากไปยัง คสช.ว่า ลี กวนยิว สร้างประเทศสิงคโปร์ด้วยการปฏิรูปการศึกษา ปี 2000 ฮ่องกงก็ปฏิรูปการศึกษา ส่งผลให้ฮ่องกงเจริญก้าวหน้าระดับต้นๆ ของโลก 2 ประเทศนี้เราไม่สนใจจะเอามาเป็นต้นแบบบ้างหรือ หรือรอให้ท่านนายกรัฐมนตรีนำเอา ม.44 มาแก้ไข ขับเคลื่อน และเยียวยา


ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 28 เม.ย. 2558 (กรอบบ่าย)


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน

ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน
เปิดอ่าน 9,343 ครั้ง
ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา

ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา
เปิดอ่าน 6,754 ครั้ง
ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่

ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่
เปิดอ่าน 8,246 ครั้ง
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
เปิดอ่าน 100,119 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)
เปิดอ่าน 7,647 ครั้ง
การศึกษาไทย เราโง่อย่างมีหลักการ

การศึกษาไทย เราโง่อย่างมีหลักการ
เปิดอ่าน 28,075 ครั้ง
ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย

ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย
เปิดอ่าน 6,938 ครั้ง
แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม

แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม
เปิดอ่าน 9,442 ครั้ง
คลอด ‘เกณฑ์ย้ายเฉพาะกิจ’ แก้ปม..ร้างผู้บริหาร 7 พันตำแหน่ง ทางออกสุดท้าย..ของ ก.ค.ศ.?

คลอด ‘เกณฑ์ย้ายเฉพาะกิจ’ แก้ปม..ร้างผู้บริหาร 7 พันตำแหน่ง ทางออกสุดท้าย..ของ ก.ค.ศ.?
เปิดอ่าน 16,710 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์

ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
เปิดอ่าน 9,043 ครั้ง
ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.

ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
เปิดอ่าน 15,073 ครั้ง
กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2

กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2
เปิดอ่าน 3,264 ครั้ง
การปฏิรูปการศึกษาที่ไม่ได้หัวใจครู

การปฏิรูปการศึกษาที่ไม่ได้หัวใจครู
เปิดอ่าน 20,586 ครั้ง
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา

ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
เปิดอ่าน 31,841 ครั้ง
คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้

คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้
เปิดอ่าน 5,649 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

"พ่อแม่รังแกฉัน"(ใครกันจะรังแกลูกได้เท่าพ่อแม่)
"พ่อแม่รังแกฉัน"(ใครกันจะรังแกลูกได้เท่าพ่อแม่)
เปิดอ่าน 13,362 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล ต้องตั้งต้นจากผลการประเมิน
ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล ต้องตั้งต้นจากผลการประเมิน
เปิดอ่าน 7,344 ☕ คลิกอ่านเลย

เลิกโทษเด็กนักเรียนได้ไหม? คอลัมน์สุจิตต์ วงษ์เทศ
เลิกโทษเด็กนักเรียนได้ไหม? คอลัมน์สุจิตต์ วงษ์เทศ
เปิดอ่าน 28,331 ☕ คลิกอ่านเลย

อ่านกันชัดๆ ที่นี่ "อยากเป็นครู ทำอย่างไร?"
อ่านกันชัดๆ ที่นี่ "อยากเป็นครู ทำอย่างไร?"
เปิดอ่าน 22,373 ☕ คลิกอ่านเลย

คลอด ‘เกณฑ์ย้ายเฉพาะกิจ’ แก้ปม..ร้างผู้บริหาร 7 พันตำแหน่ง ทางออกสุดท้าย..ของ ก.ค.ศ.?
คลอด ‘เกณฑ์ย้ายเฉพาะกิจ’ แก้ปม..ร้างผู้บริหาร 7 พันตำแหน่ง ทางออกสุดท้าย..ของ ก.ค.ศ.?
เปิดอ่าน 16,710 ☕ คลิกอ่านเลย

ม.44 "มาสเตอร์คีย์ผ่าทางตัน"ปฏิรูปการศึกษา??
ม.44 "มาสเตอร์คีย์ผ่าทางตัน"ปฏิรูปการศึกษา??
เปิดอ่าน 14,299 ☕ คลิกอ่านเลย

8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
เปิดอ่าน 15,063 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เมฆสีรุ้ง
เมฆสีรุ้ง
เปิดอ่าน 24,034 ครั้ง

สูตรสำเร็จการเป็นข้าราชการ โดย ดร.จรวยพร ปลัดกระทรวง
สูตรสำเร็จการเป็นข้าราชการ โดย ดร.จรวยพร ปลัดกระทรวง
เปิดอ่าน 31,086 ครั้ง

เขย่าขวดก่อนรินยา คุณทำแล้วหรือยัง?
เขย่าขวดก่อนรินยา คุณทำแล้วหรือยัง?
เปิดอ่าน 15,569 ครั้ง

ถาม - ตอบ เพื่อสุขภาพ
ถาม - ตอบ เพื่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 18,258 ครั้ง

คู่มือการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปีและแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษา สังกัด สพฐ.
คู่มือการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปีและแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษา สังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 32,536 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ