การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ 4) ศึกษาพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียน
ที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนภูเขียว อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำนวน 49 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง
การทำงานของคอมพิวเตอร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยบทเรียน
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เวลาที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 12 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.19/82.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6548 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.48
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อเนื้อหาของบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่เหลือพบว่านักเรียนมี
ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 1) ส่วนของรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว 2) ส่วนของตัวอักษร 3) ส่วนของโปรแกรม และ 4) ส่วนของระบบการจัดการเนื้อหา และมีความพึงพอใจเป็นรายข้อในระดับมากที่สุด 4 ข้อ ส่วนอีก 28 ข้ออยู่ในระดับมาก