บานเย็น ศรีรงไชย. 2560. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ
STAD เรื่อง ความปลอดภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง ปลอดภัยไว้ก่อน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD 2) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ปลอดภัย
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหินฮาวลำวังชู อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 13 คน ซึ่งเลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนการเรียน 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการทดลอง ได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสังเกตกระบวนการกลุ่ม แบบฝึกทักษะท้ายแผนการเรียนรู้ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษา
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 20.62 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 5.30 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 35.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.34 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ STAD มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และเมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนพบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 80 (30 คะแนนขึ้นไป) พบว่านักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 89.62