ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

อหิวาตกโรค (Cholera)


สุขศึกษาและพลศึกษา เปิดอ่าน : 18,712 ครั้ง
Advertisement

อหิวาตกโรค (Cholera)

Advertisement

ลักษณะโรค

        เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักพบการติดเชื้อเฉียบพลันในลำไส้ เริ่มด้วยอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ และบางครั้งมีอาเจียนร่วมด้วยภาวะการขาดน้ำอาจพบรุนแรงในเด็กทารก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้ เบื่ออาหาร และท้องเดิน ซึ่งมักจะคงอยู่หลายวัน กลไกการติดเชื้อจะเริ่มจากการอักเสบของลำไส้เฉียบพลัน และตามด้วยโลหิตเป็นพิษ หรือการติดเชื้อเฉพาะที่ทำให้เกิดฝี ข้ออักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม ไตและกรวยไตอักเสบ เป็นต้น โดยปกติมักไม่พบผู้ป่วยตาย ยกเว้นในรายที่เป็นเด็กหรือคนสูงอายุที่สุขภาพอ่อนแอ

        ในกรณีมีอาการโลหิตเป็นพิษ สามารถแยกเชื้อจากอุจจาระและเลือดในระยะอาการเฉียบพลัน ส่วนในกรณีมีการติดเชื้อที่ลำไส้ จะตรวจพบเชื้อในอุจจาระอยู่หลายวันถึงเป็นสัปดาห์หลังเริ่มป่วย การให้ยาปฏิชีวนะอาจเพิ่มระยะเวลาในการแพร่เชื้อจากอุจจาระ สำหรับการตรวจหาเชื้อในผู้ที่ไม่มีอาการ ควรใช้อุจจาระ 3-10 กรัม แทนการทำ rectal swab และควรตรวจซ้ำหลายๆ วัน เพราะเชื้ออาจออกมาเป็นระยะ ๆ อนึ่ง การทดสอบทาง ซีโรโลยี ไม่ใคร่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค

เชื้อก่อโรค

        เชื้อ Salmonella มีหลาย serotypes ที่ก่อให้เกิดโรคทั้งในสัตว์และในคน พบว่า ในแต่ละประเทศเกิดจาก serotype ต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็น S. typhimurium และ S. enteritidis ปัจจุบันสามารถแยกเชื้อได้ประมาณ 2000 serotypes ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 200 serotypes

การเกิดโรค

        พบได้ทั่วโลก มีรายงานผู้ป่วยมากในอเมริกาเหนือและยุโรป โดยรายงานอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางอาหาร เนื่องจากการติดต่อของเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการปนเปื้อนมากับอาหาร แต่มีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่สามารถวินิจฉัยจากอาการได้ และมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย ที่มีการรายงาน อุบัติการของโรคพบมากในเด็กเล็กและทารก ในทางระบาดวิทยาเชื้อ Salmonella ที่ก่อโรคในลำไส้ มักก่อให้เกิดการระบาดย่อย ๆ ในชุมชน การระบาดใหญ่มักพบในโรงพยาบาล ภัตตาคาร สถานเลี้ยงเด็ก และสถานสงเคราะห์คนชรา ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจากแหล่งผลิต หรือบางครั้งพบว่ามาจากมือของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะซึ่งสัมผัสอาหาร การแพร่โดยตรงจากคนถึงคนก็อาจเกิดขึ้นได้ ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 5 ล้านคน

แหล่งรังโรค

        สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ได้แก่ เป็ด ไก่ สุกร วัว ควาย สัตว์แทะ และสัตว์เลี้ยง เช่นเต่า ตะพาบ ลูกไก่ สุนัข และแมว สามารถเป็นแหล่งรังโรคได้ รวมทั้งคน ซึ่งได้แก่ ผู้เป็นพาหะ และผู้ติดเชื้อที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย การเป็นพาหะเรื้อรังพบน้อยมากในคน แต่พบมากในสัตว์และนก

การติดต่อของโรค

        เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีเชื้อ หรือปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วยหรือสัตว์ที่เป็นโรค โดยที่อาหารนั้นไม่มีการปรุงให้สุก เช่น ไข่ นมดิบ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเป็ดไก่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าว คนอาจได้รัรบเชื้อจากการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่นเต่า ลูกไก่ หรือผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตจากสัตว์ ซึ่งไม่ผ่านการสเตอริไรซ์ การติดเชื้อในสัตว์อาจเกิดจากกาหารสัตว์หรือปุ๋ย ซึ่งผลิตจากเนื้อสัตว์ กระดูกสัตว์

        โดยสรุปแล้วการติดต่อที่สำคัญคือการติดต่อโดยผ่านทางการกินและการขับถ่าย (fecal-oral) จากคนไปคนโดยเฉพาะเมื่อมีอาการอุจจาระร่วง จำนวนของเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดโรคโดยปกติต้องมากกว่า 100-1,000 ตัว โดยทั่วไปแล้วเชื้อสามารถจะเจริญเพิ่มจำนวนในอาหารโดยเฉพาะนมได้อย่างรวดเร็ว การระบาดของโรคที่พบในโรงพยาบาลมักเริ่มต้นด้วยการปนเปื้อนเชื้อในอาหาร และตามด้วยการแพร่กระจายเชื้อจากคนไปคน โดยผ่านทางมือหรือภาชนะที่มีเชื้อปนเปื้อนโดยเฉพาะในแผนกเด็กอ่อนและแม่หลังคลอด นอกจากนี้การปนเปื้อนของอุจจาระในระบบการจัดจ่ายน้ำโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การระบาดของโรคกระจายอย่างรวดเร็ว

ระยะฟักตัว

        6 - 72 ชั่วโมง โดยทั่วไปประมาณ 12 - 36 ชั่วโมง

ระยะติดต่อของโรค

        เชื้อนี้มีระยะติดต่อได้หลายวันถึงหลายสัปดาห์ และผู้ที่เป็นพาหะของโรคชั่วคราว (temporary carriers) มีโอกาสแพร่เชื้อหลายเดือน โดยเฉพาะในเด็กทารก ประมาณ 1เปอร์เซ็นต์ ของผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ และ 5 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กอายุต่ำกว่า5 ปี สามารถแพร่เชื้อได้นานกว่า 1 ปี การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น จะส่งผลให้ระยะติดต่อยาวนานขึ้น

        ความไวและความต้านทานต่อการรับเชื้อ คนทั่วไปมีความไวต่อการรับเชื้อ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาลดกรด การผ่าตัดในระบบทางเดินอาหาร การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์กว้างขวาง ผู้ป่วยโรคเนื้องอก ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิต้านทาน และผู้ที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ หรือมีภาวะทุพโภชนาการ อนึ่ง ความรุนแรงของโรคจะสัมพันธ์กับ serotype จำนวนเชื้อ และสภาพร่างกายผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโลหิตเป็นพิษจากเชื้อนี้ซ้ำ และผู้ป่วยโรค sickle cell ที่มีอาการโลหิตเป็นพิษ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น osteomyelitis

วิธีการควบคุมโรค

มาตรการป้องกัน

  • เน้นการรับประทานอาหารที่สุก โดยเฉพาะเป็ด ไก่ หมู ไข่ เนื้อ และนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อภายหลังการปรุงอาหารสุกแล้ว และควรเก็บถนอมอาหารในตู้เย็น และตรวจสอบว่าอุณหภูมิเย็นเพียงพอ
  • ให้สุขศึกษาแก่ผู้ประกอบอาหาร พนักงานเสริฟ โดยเน้นการล้างมือก่อน ระหว่างและหลังการเตรียมอาหาร การรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล การเก็บอาหารในตู้เย็น การดูแลความสะอาดของห้องครัว และการป้องกันอาหารจากแมลงและหนู
  • ผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วง ควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหาร หรือดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล เด็ก หรือคนสูงอายุ
  • ให้ความรู้แก่ผู้ที่เป็นพาหะ โดยเน้นการล้างมือหลังการขับถ่าย และก่อนการรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงการปรุงหรือเสริฟอาหาร จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อ
  • สำรวจป้องกันและควบคุมการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella ในฟาร์มและในสัตว์เลี้ยง เช่น ลูกเป็ด ลูกไก่ และเต่า ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก
  • ตรวจแนะนำและดูแลสุขาภิบาลในโรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหาร ร้านขายเนื้อ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฯลฯ
  • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากเนื้อ เป็ด ไก่ อาจใช้การฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาแล้ว
  • ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ ควรได้รับการปรุงให้สุกเพื่อฆ่าเชื้อด้วยความร้อนหรือด้วยรังสี และต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในภายหลังด้วย

การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม

  • การรายงานไปยังหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น : เป็นโรคที่ต้องรายงาน
  • การแยกผู้ป่วย : ควรเน้นการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระ หรือเสื้อผ้าเครื่องใช้ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการ ควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหาร หรือการดูแลเด็กเล็กคนสูงอายุ ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง และผู้ป่วยในโรงพยาบาล จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในอุจจาระ2 ครั้งติดต่อกัน โดยการตรวจแต่ละครั้งต้องห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และถ้ามีการให้ยาปฏิชีวนะ การตรวจเชื้อควรทำภายหลัง 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับยาครบโด๊สแล้ว ผู้ที่ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการนั้น โดยทั่วไปสามารถปฏิบัติงานข้างต้นต่อไปได้ ยกเว้นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี หรืออาจมีข้อบังคับในบางรัฐหรือบางท้องถิ่นห้ามปฏิบัติหน้าที่
  • การทำลายเชื้อ : เน้นระบบการกำจัดเชื้อในอุจจาระและสิ่งของที่ปนเปื้อน ในชุมชนที่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ได้มาตรฐาน ไม่จำเป็นต้องทำลายเชื้อในอุจจาระก่อนนำไปทิ้ง
  • การกักกัน : ไม่จำเป็น
  • การให้ภูมิคุ้มกันแก่ผู้สัมผัส : ยังไม่มี
  • การสอบสวนผู้สัมผัสและแหล่งโรค : เน้นการตราวจอุจจาระในผู้สัมผัสที่เกี่ยวข้องกับการปรุงอาหารหรือการดูแลผู้ป่วย เด็กเล็กหรือผู้สูงอายุในบ้านหรือสถานพยาบาลต่าง ๆ
  • การรักษาเฉพาะ : ในกรณีที่เป็นการติดเชื้อในลำไส้ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน การรักษา ได้แก่ การแก้ไขภาวะขาดน้ำและอีเล็กโทรไลท์ด้วย ORS ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเพราะอาจทำให้ภาวะการเป็นพาหะปล่อยเชื้อได้นานขึ้น และทำให้เกิดการดื้อยา ยกเว้นในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน คนสูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยโรค sickle cell หรือผู้ที่มีไข้สูงหรือมีการติดเชื้อนอกลำไส้ สำหรับการดื้อยาต่อเชื้อนี้พบแตกต่างกัน โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ampicillin หรือ amoxicillin ส่วน co-trimoxazole และ chloramphenical ให้ถือเป็นยาในลำดับรองที่อาจเลือกใช้เมื่อมีการดื้อยา

มาตรการเมื่อเกิดการระบาด

        เช่นเดียวกับในกลุ่มโรคติดต่อทางอาหารอื่นๆ ควรเน้นการซักประวัติการประกอบอาหาร ซึ่งอาจมีข้อบกพร่อง การใช้ส่วนประกอบอาหารที่ไม่ปลอดภัย การปรุงอาหารไม่สุกพอ ซึ่งอาจเป็นเพราะอุณหภูมิหรือเวลาในการประกอบอาหารไม่ถูกต้อง ในสหรัฐอเมริกามีการระบาดของ S. enteritidis ซึ่งสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับอาหารปรุงจากไข่ ในกรณีนี้จำเป็นต้องสอบสวนถึงแหล่งผลิตไข่และต้องรายงานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย

สัญญาณภัยที่ควรระวัง

        มักพบการระบาดในสถานที่ที่มีการจัดอาหารเลี้ยงคนจำนวนมาก และมีสภาพสุขาภิบาลที่ไม่ดี

มาตรการควบคุมโรคระหว่างประเทศ

        ประสานความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- กระทรวงสาธารณสุข


อหิวาตกโรค (Cholera) อหิวาตกโรค(Cholera)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เลือดกำเดาไหล

เลือดกำเดาไหล


เปิดอ่าน 17,051 ครั้ง
เซอร์บาเดน เพาเวล

เซอร์บาเดน เพาเวล


เปิดอ่าน 14,025 ครั้ง
ฟุตซอล

ฟุตซอล


เปิดอ่าน 28,073 ครั้ง
กีฬาฟุตบอล มาจากไหน?

กีฬาฟุตบอล มาจากไหน?


เปิดอ่าน 35,016 ครั้ง
กินแอปเปิ้ล ลดไข้

กินแอปเปิ้ล ลดไข้


เปิดอ่าน 37,771 ครั้ง
สรรพคุณทางยาของ "ผักแขยง"

สรรพคุณทางยาของ "ผักแขยง"


เปิดอ่าน 32,068 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สมุนไพร"บัวบก"คุณค่าที่มากกว่าแก้ช้ำใน

สมุนไพร"บัวบก"คุณค่าที่มากกว่าแก้ช้ำใน

เปิดอ่าน 21,981 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
งูพิษกัด
งูพิษกัด
เปิดอ่าน 27,601 ☕ คลิกอ่านเลย

"ผักชี" ผักพิฆาตอธรรม
"ผักชี" ผักพิฆาตอธรรม
เปิดอ่าน 21,328 ☕ คลิกอ่านเลย

โรคเหน็บชา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9
โรคเหน็บชา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9
เปิดอ่าน 22,079 ☕ คลิกอ่านเลย

สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
เปิดอ่าน 33,122 ☕ คลิกอ่านเลย

การวิ่งเพื่อสุขภาพ (สุขศึกษา)
การวิ่งเพื่อสุขภาพ (สุขศึกษา)
เปิดอ่าน 37,970 ☕ คลิกอ่านเลย

อบเชย
อบเชย
เปิดอ่าน 15,278 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รูปแบบการสอน 7 ประการ
รูปแบบการสอน 7 ประการ
เปิดอ่าน 34,256 ครั้ง

การพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก
การพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก
เปิดอ่าน 11,209 ครั้ง

วรรณคดีมรดกของไทยสมัยสุโขทัย
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยสุโขทัย
เปิดอ่าน 29,054 ครั้ง

ตารางธาตุ
ตารางธาตุ
เปิดอ่าน 64,583 ครั้ง

เรื่องจริงของสังคมโลก "สังคมก้มหน้า" ดูกันเลยว่าจริงไหม?
เรื่องจริงของสังคมโลก "สังคมก้มหน้า" ดูกันเลยว่าจริงไหม?
เปิดอ่าน 19,628 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ