ชื่องานวิจัย : ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
(Brain Based Learning : BBL) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (45 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน)
สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
ผู้วิจัย : นางสาวรัชนิดา ตั้งวีระพงษ์
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ทำวิจัย : ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (45 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ครั้งนี้เพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของผลการจัดประสบการณ์การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการรู้ค่าจำนวน และด้านอนุกรม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากนักเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียน เลือกมา 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นชั้นที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น เป็นกลุ่มดำเนินการทดลองโดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 40 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 40 ครั้ง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pre-test Post-test Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4 5 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 40 กิจกรรม ใช้เวลาแผนละ 40 นาที และ แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (45 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 40 ข้อ ประกอบด้วย แบบทดสอบการจัดหมวดหมู่, แบบทดสอบการเปรียบเทียบ, แบบทดสอบการรู้ค่าจำนวน 1-10, และ แบบทดสอบอนุกรม จำนวนชุดละ 10 ข้อ รวมทั้งสิ้น 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson 20) โดยใช้สูตร KR-20 (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538 : 197-198) ซึ่งมีค่า ความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.67 - 0.80 และ มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.46 - 0.90 และค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.9798 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test for Dependent samples ผู้วิจัยได้ดำเนินการ ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) กับกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการทดลองมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ และหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) กลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) ก่อนและหลังการทดลอง หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) ทั้งโดยรวมและรายทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของผลการจัดประสบการณ์การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) มีดัชนีประสิทธิผล (E.I.) โดยรวมทุกทักษะเท่ากับ 0.7656 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าด้านการประเมินผลทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 77 และเมื่อคิดค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เป็นรายด้านปรากฏผล ด้านการจัดหมวดหมู่ เท่ากับ 0.7285 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าด้านการประเมินผลทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 73 ด้านการเปรียบเทียบ เท่ากับ 0.7905 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าด้านการประเมินผลทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 79 ด้านการรู้ค่าจำนวน เท่ากับ 0.7612 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าด้านการประเมินผลทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 76 และด้านอนุกรม เท่ากับ 0.7832 หมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าด้านการประเมินผลทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 78