ชื่อเรื่อง การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ความคงทนในการเรียนรู้ และทักษะการทำงานร่วมกัน เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายแสวง นุ่นนาแซง
ปีที่ศึกษา 2559
โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย 4) เปรียบเทียบทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 แผน ใช้เวลาในการสอนจำนวน 11 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ชุด รวม 50 ข้อ แบบทดสอบมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .38 .77 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .20 .84 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบมีค่าเท่ากับ 0.79 3) แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกัน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบสอบถามปลายปิดแบบมาตรประเมินค่า จำนวน 17 ข้อ และแบบสอบถามปลายเปิดจำนวน 1 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า E1/E2 การทดสอบที (t-test) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างมีค่าประสิทธิภาพ 81.65/80.80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยแผนการจัดการการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 40.40 คิดเป็นร้อยละ 80.80 จากนั้นเว้นระยะไป 2 สัปดาห์หลังการทดลองแล้วทดสอบอีกครั้งพบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 41.23 คิดเป็นร้อยละ 82.47 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 หลังการทดลอง 2 สัปดาห์พบว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ มีค่าคะแนนร้อยละอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 5) นักเรียนมีความพึงพอใจการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.=0.51)
คำสำคัญ : แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์/ ภูมิศาสตร์ประเทศไทย