ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

รายงานการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model)

ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

ไพศาล ปันแดน

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

บทสรุปผู้บริหาร

ชื่อผลงานทางวิชาการ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model

(3 Returns Policy Model)

ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

ผู้วิจัย นายไพศาล ปันแดน

หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

ปี พ.ศ. 2558 – 2561

การวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการในการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 2) เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 3) เพื่อศึกษาเป้าหมายความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 ที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนี้ 3.1) คุณภาพเขตพื้นที่การศึกษา 3.2) คุณภาพสถานศึกษา 3.3) คุณภาพห้องเรียน 3.4) คุณภาพนักเรียน

ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมุ่งพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา (Research: R1) ขั้นตอนที่ 2 การร่างรูปแบบและทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา (Development: D1) ขั้นตอนที่ 3 การใช้และหาประสิทธิผลรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 (Research: R2) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) และขยายผล (Development: D2) โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้

1. การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการในการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา (Research: R1) ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการศึกษา มีการดำเนินการวิจัย ดังนี้

1.1 ศึกษาข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารแนวคิด หลักการ ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.2 ระดมความคิดเห็นโดยใชวิธีการจัดสนทนากลุม (focus group discussion)

จากกลุ่มผู้มีประสบการณ์ เพื่อวิเคราะห์ความตองการสภาพปัญหาในการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

1.3 สอบถามตัวแทนนักเรียน ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ด้านความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

1.4 สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการศึกษา/การบริหารจัดการศึกษา

1.5 สังเคราะห์การบริหารจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ได้จากการศึกษา เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย การจัดสนทนากลุ่ม และจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกำหนดองค์ประกอบในการศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้ได้ องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยมีองคประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ

1) การคืนครูสู่ห้องเรียน (return the teachers to classrooms) 2) การคืนผู้บริหารสู่โรงเรียน (return the directors to school) 3) การคืนศึกษานิเทศก์สู่ครู (return the educational supervisors to teachers)

2. การพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model

(3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3

ผู้วิจัยได้ร่างรูปแบบและทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา (Development: D1)

ประกอบด้วย การร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ การจัดทำ คู่มือการใช้รูปแบบ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

2.1 ร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 สังเคราะห์องคประกอบของรูปแบบ 1) การคืนครูสู่ห้องเรียน (R1: Return the teachers to classrooms) ซึ่งประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 สร้างจิตสำนึกและ จิตวิญญาณความเป็นครู มาตรฐานที่ 2 สร้างองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน มาตรฐานที่ 3 สร้างความก้าวหน้าและแรงจูงใจในการทำงานของครู 2) การคืนผู้บริหารสู่โรงเรียน (R2: Return the directors to school) ซึ่งประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 สร้างเสริมประสิทธิภาพการกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะด้าน การบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มาตรฐานที่ 3 พัฒนาศักยภาพการสร้างองค์ความรู้ในเชิงบริหารจัดการศึกษา 3) การคืนศึกษานิเทศก์สู่ครู (R3: Return the educational supervisors to the teachers ) ซึ่งประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 สร้างจิตสำนึก และจรรยาบรรณวิชาชีพศึกษานิเทศก์ มาตรฐานที่ 2 สร้างศักยภาพ และองค์ความรู้สู่การนิเทศการศึกษามืออาชีพ มาตรฐานที่ 3 ส่งเสริมกระบวนการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

2.2 ร่างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยนำผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา มาเรียบเรียงในคู่มือการใช้รูปแบบ การบริหารจัดการศึกษา ซึ่งเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้อธิบายรายละเอียด ของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาซึ่งประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินการ 4) การวัดและประเมินผล 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ

2.3 ทดลองใช้รูปแบบ (try out)/ ศึกษานำร่อง (pilot study)

2.3.1 ทดลองใช้ (try out) กับ 1) ผู้บริหารการศึกษา 6 คน 2) ศึกษานิเทศก์ 30 คน 3) ครู 30 คน 4) ผู้บริหารสถานศึกษา 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งนำไปทดลองใช้ (try out) ได้แก่ 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 เพื่อนำมาตรวจสอบด้านความเชื่อมั่น (reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ของ Cronbach

2.3.2 ศึกษานำร่อง (pilot study) ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 9 โรงเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยศึกษาปัญหา อุปสรรค และความสำเร็จในการใช้รูปแบบ จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครู

2.4 การใช้และหาประสิทธิผลรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 (Research: R2) โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.4.1 การนำรูปแบบ 3R Model (3 Returns Policy Model) ไปใช้

2.4.1.1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้รูปแบบ คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 127 ซึ่งระยะเวลาในการนำรูปแบบการบริหาร จัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ไปทดลองใช้ ในปีการศึกษา 2559-2560

2.4.1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริง ได้แก่ 1) รูปแบบการพัฒนา การบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 และ 2) คู่มือบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

2.4.1.3 ขั้นตอนการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้ 1) การกำหนดนโยบาย 2) การสื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจ 3) การกำกับ ติดตาม 4) การประเมินผล

2.5 การหาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

2.5.1 เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิผลของรูปแบบและการหาคุณภาพเครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model)

2.5.2 วิธีการหาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษา 3R Model

(3 Returns Policy Model) ปีการศึกษา 2559-2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ 1)

เก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามไปที่โรงเรียนจำนวน 127 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ในปีการศึกษา 2560 จะทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ ครู จำนวน 1,058 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 121 คน และเก็บข้อมูลจากศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 6 คน

3) การศึกษาเป้าหมายความสำเร็จของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผู้วิจัยได้ประเมินผลและขยายผลรูปแบบ 3R Model (3 Returns Policy Model) (Development: D2) ประกอบด้วย การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) และแนวทางการเผยแพร่รูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1. การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้

3.1.1 การดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 (ปีการศึกษา 2559-2560) ที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป้าหมายความสำเร็จในการบริหารจัดการศึกษา 3 R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ได้กำหนดเงื่อนไขการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพเขตพื้นที่การศึกษา 2) ด้านคุณภาพสถานศึกษา 3) ด้านคุณภาพห้องเรียน และ

4) ด้านคุณภาพนักเรียน นำเสนอเป็นความเรียง มีประเด็นในการรายงานความสำเร็จในปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์

3.1.2 การขยายผลรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ดังนี้

1) นำเสนอผลการวิจัยทางเว็ปไซต์/application line ของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2) นำเสนอผลการวิจัยทางวารสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 3 “วารสารท่าจีน”

3) นำเสนอผลการวิจัยในรูปของเอกสารรายงานการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

4) นำเสนอผลการวิจัยทาง VTR และเผยแพร่ผลงานโดยการศึกษาดูงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาต่าง ๆ นำเสนอผลการวิจัย ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 3

สรุปผลการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ผู้วิจัยได้นำเสนอสรุปผลการศึกษา เพื่อตอบวัตถุประสงค์การศึกษา ดังนี้

ตอนที่ 1 ผลการสังเคราะห์เอกสาร การระดมความคิดเห็น และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา (Research: R1) พบว่า สภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ดังนี้ สาเหตุที่เป็นประเด็นที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เกิดจากปัจจัยภายใน และภายนอก ดังนี้ ด้านปัจจัยภายใน สาเหตุเกิดจาก 1) ครูยังยึดติดกับรูปแบบการสอนเดิม ๆ ไม่ยอมปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนตามสถานการณ์ปัจจุบันและสภาพจริง สอนไม่เต็มเวลา เต็มความรู้ เต็มหลักสูตร 2) ผู้บริหารสถานศึกษาไม่อุทิศเวลาให้กับทางราชการอย่างเต็มเวลา เต็มศักยภาพ ขาดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการศึกษา ปฏิบัติงานโดยไม่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานและคุณภาพการศึกษา ขาดศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ในเชิงบริหารจัดการศึกษา 3) ศึกษานิเทศก์ ขาดการนิเทศ กำกับ ติดตามเชิงพื้นที่ มุ่งเน้นการจัดอบรม และพัฒนาครูในเวลาราชการ ขาดองค์ความรู้เชิงวิชาการในเชิงลึก ทำให้ไม่สามารถให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแก่ครู และผู้บริหารสถานศึกษาได้ เป็นต้น ปัจจัยภายนอก สาเหตุเกิดจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะของผู้ปกครองนักเรียน ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการหย่าร้างของครอบครัวผู้ปกครอง

การอพยพถิ่นฐาน ความไม่รู้หนังสือ

ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จึงได้นำปัญหาที่ได้วิเคราะห์ มาใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3 R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เพื่อนำมาเป็นนโยบาย 3 คืน คือ 1) การคืนครูสู่ห้องเรียน (R1: Return the teachers to classroom) 2) การคืนผู้บริหารสู่โรงเรียน (R2: return the directors to school) และ3.) คืนศึกษานิเทศก์สู่ครู (R 3 : Return the educational supervisors to the teachers) ผู้ศึกษาให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ด้านคุณลักษณะ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน ซึ่งมีกระบวนการบริหารงานกับครูผู้สอน ด้วยการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ให้ครูสอนเต็มเวลา เต็มหลักสูตร เต็มศักยภาพ พัฒนาครูด้วยกระบวนการต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับผู้บริหารสถานศึกษาด้วยการบริหารอย่างเต็มเวลา เต็มความรู้และเต็มศักยภาพ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน และคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ต้องได้รับการช่วยเหลือ จากศึกษานิเทศก์ด้วยการให้ศึกษานิเทศก์ มีการนิเทศแบบเต็มพิกัด แบบกัลยาณมิตรและแบบจิตอาสา มีองค์ความรู้ที่ดี รู้ลึก รู้จริง รู้กว้าง ในการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อการพัฒนาครู พัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ได้มาตรฐาน มุ่งสู่เป้าหมายให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ 100 % และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ได้ตามเป้าหมาย มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และค่านิยมหลัก 12 ประการ แก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพที่ยั่งยืน

ตอนที่ 2 ผลการพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ดังนี้

1) รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

ผลการร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า 1) การคืนครูสู่ห้องเรียน (R1: Return the teachers to classrooms) ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 สร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณความเป็นครู มาตรฐานที่ 2 สร้างองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน มาตรฐานที่ 3 สร้างความก้าวหน้าและแรงจูงใจในการทำงานของครู 2) การคืนผู้บริหารสู่โรงเรียน (R2 : Return the directors to school) ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 สร้างเสริมประสิทธิภาพการกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะด้านการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มาตรฐานที่ 3 พัฒนาศักยภาพการสร้างองค์ความรู้ในเชิงบริหารจัดการศึกษา 3) การคืนศึกษานิเทศก์สู่ครู ( R3 : Return the educational supervisors to the teachers ) ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 สร้างจิตสำนึก และจรรยาบรรณวิชาชีพศึกษานิเทศก์ มาตรฐานที่ 2 สร้างศักยภาพ และองค์ความรู้สู่การนิเทศการศึกษามืออาชีพ มาตรฐานที่ 3 ส่งเสริมกระบวนการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

2) ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

2.1 ผลการตรวจสอบยืนยันคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ด้วยวิธีการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) พบว่า ผลการตรวจสอบยืนยันคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) แบ่งเป็น 3 หัวข้อ 1) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) 2) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรูปแบบการบริหาร จัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) 3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ดังนี้ 1) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.39) 2) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) 3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ การบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยภาพรวมพบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบ มีความเหมาะสม ในระดับ มาก ( = 4.44, S.D.= 0.41) ส่วนความเป็นไปได้ของรูปแบบมีความเป็นไปได้ในระดับ มากที่สุด ( = 4.89, S.D. = 0.22) นอกจากนี้ ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่าอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.83, S.D.= 0.18)

2.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า คุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ของคู่มือการใช้รูปแบบ การบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IOC) แล้วคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80 - 1.00

2.3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ของ Cronbach ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของคู่มือการใช้รูปแบบ มีค่าเท่ากับ 0.97 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มีค่าเท่ากับ 0.98 และศึกษานำร่อง (pilot study) ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 9 โรงเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยศึกษาปัญหา อุปสรรค และความสำเร็จในการใช้รูปแบบ พบว่า 1) ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนทุกคน มีความรู้ ความเข้าใจ เนื่องจากได้มีการประกาศนโยบายดังกล่าวในที่ประชุมผู้บริหารและครูทุกคน ในการที่จะยกระดับ และพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศ 2) การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติสามารถทำได้ เนื่องจากมีมาตรฐานและตัวชี้วัด ที่ชัดเจน มีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุน กระบวนการนิเทศติดตามกำกับ และประเมินผล อย่างเป็นระบบ 3) ผลการใช้รูปแบบการบริหารดังกล่าว ไม่มีปัญหาอุปสรรคแต่อย่างใด เนื่องจากมีมาตรฐาน และตัวชี้วัดที่ชัดเจน มีการดำเนินการได้จริง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น 4) การใช้รูปแบบดังกล่าวต้องให้ความสำคัญกับทุกมาตรฐาน และตัวบ่งชี้อย่างเท่าเทียมกัน จึงจะสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้

2.4 ผลการหาประสิทธิผลรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามไปที่โรงเรียนจำนวน 127 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ในปีการศึกษา 2560 จะทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ 1) ครู จำนวน 1,058 คน 2) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 121 คน และเก็บข้อมูลจากศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 6 คน นำเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

2.4.1 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการคืนครูสู่ห้องเรียน (R 1: Return the teachers to classroom) พบว่า มาตรฐานที่ 1 สร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณความเป็นครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.54, S.D = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.61-4.42 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.51-0.56 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 สร้างเสริมการประพฤติ การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณ ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 สร้างเสริมให้มีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน และตัวบ่งชี้ที่ 1.3 สร้างเสริมให้สอนเต็มเวลา เต็มหลักสูตร เต็มศักยภาพมีจิตสำนึก และตระหนักในบทบาทหน้าที่ของครู ( = 4.61) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 สร้างเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพ การประพฤติปฏิบัติ ( = 4.46) และตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ ที่ 1.5 สร้างเสริมและปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ ( = 4.42) มาตรฐานที่ 2 สร้างองค์ความรู้ และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.24, S.D = 0.68) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.32-4.16 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.70-0.76 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 สร้างระบบพี่เลี้ยง (coaching & mentoring) ( = 4.32) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย แนวทางการจัดการศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย ( = 4.26) และตัวบ่งชี้ ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 สร้างเสริมทักษะกระบวนการศึกษาในชั้นเรียน และการสร้างสื่อ/นวัตกรรม ( = 4.16) มาตรฐานที่ 3 สร้างความก้าวหน้าและแรงจูงใจในการทำงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.24, S.D = 0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 4.30-4.18 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.65-0.75 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ส่งเสริม สนับสนุนการนำเสนอผลงาน/ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) สู่เวทีสากล และตัวบ่งชี้ที่ 3.4 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดทำผลงานทางวิชาการและ การเสนอขอเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น ( = 4.30) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.5 ยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่มีผลงานด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้ที่มีผลงานประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ( = 4.23) และตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( = 4.18)

2.4.2 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการคืนผู้บริหารสู่โรงเรียน (R 2: Return the directors to school) พบว่า มาตรฐานที่ 1 สร้างเสริมประสิทธิภาพการกำหนดกลยุทธ์การบริหาร จัดการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.55, S.D = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็น รายตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.76-4.43 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.45-0.65 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 สร้างเสริมทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์บริบทความท้าทายของการบริหารการศึกษา ( = 4.76) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 สร้างเสริมทักษะการวางแผน การกำหนดยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา ( = 4.62) และตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 เร่งรัดการนำแผนกลยุทธ์ สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ( = 4.43) มาตรฐานที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะด้านการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.49, S.D = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ ระหว่าง 4.67-4.45 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.57-0.64 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ส่งเสริมการบริหารงานเต็มเวลา เต็มความรู้ เต็มศักยภาพ และมุ่งผลสัมฤทธิ์ ของงาน ( = 4.67) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 สร้างเสริมหลักการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 สร้างเสริมและปลุกเร้าการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) และตัวบ่งชี้ที่ 2.3 การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ( = 4.50) และตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 ส่งเสริมภาวะผู้นำการทำงานแบบนอกกรอบ “กล้าคิด กล้าทำ กล้านำการเปลี่ยนแปลง” ( = 4.45) มาตรฐานที่ 3 พัฒนาศักยภาพการสร้างองค์ความรู้ในเชิงบริหารจัดการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.42, S.D = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.46-4.44 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.56-0.72 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 สร้างจิตสำนึก ความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ มีอุดมการณ์ รักและศรัทธาในองค์กร ( = 4.46) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และตัวบ่งชี้ที่3.4 ส่งเสริมการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ( = 4.44) และตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.5 สร้างระบบการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ที่เข้มแข็ง ( = 4.23)

2.4.3 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการคืนศึกษานิเทศก์สู่ครู (R 3: Return the educational supervisors to the teachers) พบว่า ด้านมาตรฐานที่ 1 สร้างจิตสำนึก และจรรยาบรรณ วิชาชีพศึกษานิเทศก์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.50, S.D = 0.32) เมื่อพิจารณา เป็นรายตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.83-4.16 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.26-0.55 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ส่งเสริมการประพฤติ การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ( = 4.83) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพ การประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และตัวบ่งชี้ที่ 1.3 เสริมสร้างและปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ และการให้บริการ ทางวิชาการ ( = 4.58) และตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ส่งเสริมให้ปฏิบัติหน้าที่ “เต็มเวลา เต็มความรู้ เต็มศักยภาพ” มีจิตสำนึก และตระหนักในบทบาทหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ( = 4.16) มาตรฐานที่ 2 สร้างศักยภาพ และองค์ความรู้สู่การนิเทศการศึกษามืออาชีพ โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.63, S.D = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ ระหว่าง 4.83-4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.41-0.55 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 สร้างเสริมแนวทางการนิเทศการศึกษาที่นำไปสู่การพัฒนาอย่าง เต็มศักยภาพ และตัวบ่งชี้ที่ 2.4 พัฒนาศักยภาพผู้นำและการสร้างผู้นำทางวิชาการมืออาชีพ ( = 4.75) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 สร้างเสริมกระบวนการนิเทศการศึกษาที่สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ( = 4.67) และตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สร้างเสริมสมรรถนะด้านการวางแผน การนิเทศที่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( = 4.50) มาตรฐานที่ 3 ส่งเสริมกระบวนการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.60, S.D = 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.83-4.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.41-0.55 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.4 สร้างเครือข่ายครูแกนนำ และครูเครือข่ายการนิเทศการศึกษา ( = 4.75) รองลงมา คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ส่งเสริมการใช้เทคนิค วิธีการ และกระบวนการนิเทศที่เหมาะสมกับบริบทของผู้รับการนิเทศ และตัวบ่งชี้ที่ 3.5 สร้างเสริมการพัฒนาการใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษาอย่างมืออาชีพ ( = 4.67) และตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ส่งเสริม การนำสมรรถนะ “รู้ลึก รู้จริง รู้กว้าง” ตามกรอบภาระงานการนิเทศการศึกษาสู่การปฏิบัติ ( = 4.42)

2.4.4 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเป้าหมายความสำเร็จ พบว่า ด้านคุณภาพของเขตพื้นที่การศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.44, S.D = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.61-4.10 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.55-0.68 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษา คิดสร้างสรรค์พัฒนางานในเชิงบริหารจัดการศึกษาได้อย่างอิสระ มีนวัตกรรมของตนเอง 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ดำเนินการตามนโยบาย 3 คืน อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายปลายทางความสำเร็จ 3) สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 มีการเชื่อมโยงทางการศึกษาของรัฐและของกระทรวง ให้นำไปสู่การปการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ( = 4.61) รองลงมา คือ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 มีการแสวงหาจุดเด่น จุดเน้นที่นอกเหนือจากนโยบาย เพื่อนำไปสู่วิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยง ประสานนโยบาย สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ด้านคุณภาพสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.23, S.D = 0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.27-4.19 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.69-0.75 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และมีผลงานรางวัล เป็นที่ประจักษ์ ( = 4.27) รองลงมา คือ สถานศึกษามีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ( = 4.23) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สถานศึกษาสามารถดำเนินงานได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนดจนเป็นที่ยอมรับของชุมชน ( = 4.19) ด้านคุณภาพห้องเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D = 0.46) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.61-4.17 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.41-0.63 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 1) ครูมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ2) ครูมีผลงาน มีเกียรติ ได้รับการยอมรับ ในระดับมืออาชีพ ( = 4.61) รองลงมา คือ ครูของท่านมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีคุณภาพ และนักเรียน มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ( = 4.30) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูสามารถ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ( = 4.17) ด้านคุณภาพนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D = 0.55) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.61-4.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.55-0.73 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 1) นักเรียนมีคุณลักษณะ สมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตรกำหนดและ2) นักเรียนทุกคน มีทักษะวิชาการ วิชาชีพ และทักษะชีวิต ( = 4.61) รองลงมา คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-Net/NT) สูงกว่าระดับสังกัด (สพฐ.) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ( = 4.26) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาเหมาะสมตามวัย ( = 4.00)

2.4.5 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ผลการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของแต่ละองค์ประกอบนั้น สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ 1) การคืนครูสู่ห้องเรียน (R1: Return the teachers to classroom) พบว่า มาตรฐานที่ 2 สร้างองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน (M2T2) มีอิทธิพลต่อการคืนครูสู่ห้องเรียน มากที่สุด ได้ 95% รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 3 สร้างความก้าวหน้าและแรงจูงใจในการทำงานของครู (M3T3) มีอิทธิพลต่อการคืนครูสู่ห้องเรียน ได้ 92% และค่าที่น้อยที่สุด คือ มาตรฐานที่ 1 สร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณความเป็นครู (M1T1) มีอิทธิพลต่อการคืนครูสู่ห้องเรียน (R 1: Return the teachers to classroom) ได้ 33% 2) การคืนผู้บริหารสู่โรงเรียน (R 2: Return the directors to school) พบว่า มาตรฐานที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะด้านการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (M2D2) มีอิทธิพลต่อการคืนผู้บริหารสู่โรงเรียนมากที่สุด ได้ 96% รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 1 สร้างเสริมประสิทธิภาพการกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษา (M1D1) มีอิทธิพลต่อการคืนผู้บริหารสู่โรงเรียน ได้ 86% และค่าที่น้อยที่สุด คือ มาตรฐานที่ 3 พัฒนาศักยภาพการสร้างองค์ความรู้ในเชิงบริหารจัดการศึกษา (M3D3) มีอิทธิพลต่อการคืนผู้บริหารสู่โรงเรียน ได้ 83% 3) การคืนศึกษานิเทศก์สู่ครู (R 3: Return the educational supervisors to the teachers) พบว่า มาตรฐานที่ 2 สร้างศักยภาพ และองค์ความรู้สู่การนิเทศการศึกษามืออาชีพ (M2S2) และมาตรฐานที่ 3 ส่งเสริมกระบวนการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (M3S3) = 0.91 มีอิทธิพลต่อการคืนศึกษานิเทศก์สู่ครูมากที่สุด ได้ 83% รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 1 สร้างจิตสำนึกและจรรยาบรรณวิชาชีพศึกษานิเทศก์ (M1S1) มีอิทธิพลต่อการคืนศึกษานิเทศก์สู่ครู ได้ 44%

ตอนที่ 3 ผลการศึกษาเป้าหมายความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 ที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลจากการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบเป้าหมายความสำเร็จในการบริหารจัดการศึกษา 3 R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า คุณภาพห้องเรียน (Quality3) มีอิทธิพลต่อเป้าหมายความสำเร็จในการบริหารจัดการศึกษา 3 R Model (3 Returns Policy Model) มากที่สุดได้ 88% รองลงมาคือ คุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Quality1) ได้ 78% และคุณภาพนักเรียน (Quality4) ได้ 77% ค่าที่น้อยที่สุด คือ คุณภาพสถานศึกษา (Quality2) ได้ 55%

ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเปิดโอกาสให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามบริบทของตนเอง เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ซึ่งสามารถนำผล การพัฒนามาสู่การสะท้อนปัญหา เพื่อกำหนดเป็นนโยบาย ของหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานการศึกษาได้ ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการ 3R Model หรือ Model การพัฒนารูปแบบอื่น ๆ ไปใช้ ต้องได้รับความร่วมมือ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของบุคลากรภายในสำนักงานเขตพื้นที่ สถานศึกษา ผู้บริหาร ครู นักเรียน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงต้องมีการกำกับติดตาม และมีการรายงานผลสะท้อนผล เพื่อการพัฒนารูปแบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรเปิดโอกาสให้ภาคส่วน ต่าง ๆ ผู้เกี่ยวข้องมีการสนทนา สะท้อนผล การดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถนำรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3R Model (3 Returns Policy Model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามบริบทของท่าน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ต่อไป

โพสต์โดย SPB 3 : [14 ก.ย. 2561 เวลา 12:16 น.]
อ่าน [5985] ไอพี : 202.29.217.130
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,474 ครั้ง
ประวัติความเป็นมาของยางพารา
ประวัติความเป็นมาของยางพารา

เปิดอ่าน 18,648 ครั้ง
5 กิจวัตรที่คนประสบความสำเร็จมักทำก่อน 8 โมงเช้า
5 กิจวัตรที่คนประสบความสำเร็จมักทำก่อน 8 โมงเช้า

เปิดอ่าน 22,695 ครั้ง
ประวัติศาสตร์จังหวัดสกลนคร
ประวัติศาสตร์จังหวัดสกลนคร

เปิดอ่าน 16,974 ครั้ง
เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี
เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี

เปิดอ่าน 15,420 ครั้ง
นาคเล่นน้ำ
นาคเล่นน้ำ

เปิดอ่าน 15,655 ครั้ง
การได้สารพิษ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8
การได้สารพิษ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

เปิดอ่าน 22,709 ครั้ง
สิ่งดีๆ ที่ซ่อนอยู่ใน แก้วมังกร
สิ่งดีๆ ที่ซ่อนอยู่ใน แก้วมังกร

เปิดอ่าน 12,731 ครั้ง
"นอสตราดามุสหญิง" เมืองไทย
"นอสตราดามุสหญิง" เมืองไทย

เปิดอ่าน 48,805 ครั้ง
ระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะจักรวาล

เปิดอ่าน 12,008 ครั้ง
ตรวจสอบฮวงจุ้ยที่บ้านคุณ
ตรวจสอบฮวงจุ้ยที่บ้านคุณ

เปิดอ่าน 36,422 ครั้ง
ร่าง พรฎ.ปรับเงินเดือนครูฯ
ร่าง พรฎ.ปรับเงินเดือนครูฯ

เปิดอ่าน 39,722 ครั้ง
คลิปสุดฮา!! "สักยันต์อาจารย์นก" ใครไม่ตั้งใจเรียนต้องโดน ฉึกๆๆ
คลิปสุดฮา!! "สักยันต์อาจารย์นก" ใครไม่ตั้งใจเรียนต้องโดน ฉึกๆๆ

เปิดอ่าน 40,835 ครั้ง
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ (ฉบับที่ 2) ปี 2555
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ (ฉบับที่ 2) ปี 2555

เปิดอ่าน 13,607 ครั้ง
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล

เปิดอ่าน 16,235 ครั้ง
สำเร็จครั้งแรก! นำเชื้อธรรมชาติเพาะ ‘เห็ดโคนคอนโด’
สำเร็จครั้งแรก! นำเชื้อธรรมชาติเพาะ ‘เห็ดโคนคอนโด’

เปิดอ่าน 9,184 ครั้ง
"เวอร์ชวล ไครม" อาชญากรรมโลกเสมือน!
"เวอร์ชวล ไครม" อาชญากรรมโลกเสมือน!
เปิดอ่าน 12,755 ครั้ง
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
เปิดอ่าน 46,409 ครั้ง
การเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะในเด็กเล็ก
การเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะในเด็กเล็ก
เปิดอ่าน 81,800 ครั้ง
จบมาไม่เตะฝุ่น !! 7 กลุ่มอาชีพดาวรุ่งพุ่งแรง
จบมาไม่เตะฝุ่น !! 7 กลุ่มอาชีพดาวรุ่งพุ่งแรง
เปิดอ่าน 23,960 ครั้ง
นโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
นโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
โครงการบ้านเชียงใหม่
บ้านเชียงใหม่
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ