ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน
บทความการศึกษา 24 ส.ค. 2558 เวลา 09:00 น. เปิดอ่าน : 9,090 ครั้ง
ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

โดย กลิ่น สระทองเนียม

การที่ประเทศไทยยังไม่สามารถใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาบุคลากรของชาติให้เกิดคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้นั้น ปัญหาหลักหนึ่งก็น่าจะมาจากการบริหารจัดการที่ยังรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางทั้งด้านนโยบาย บุคลากร งบประมาณ วิชาการ รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาด้วยโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดให้ทำเหมือนกันทั้งประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างด้านศักยภาพ ทักษะ ฐานะความเป็นอยู่ วิถีชีวิต อาชีพ บริบทพื้นที่รวมถึงองค์ประกอบอื่นที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ซึ่งปัญหาและความต้องการในการพัฒนานั้นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นจะรู้และเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะต้องปฏิบัติตามที่หน่วยเหนือสั่งการ ซึ่งการบริหารจัดการจากบนมาล่างนี้ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแค่ไหนคงไม่ต้องบอกกัน ถึงจะรู้ว่าประสิทธิภาพเกิดได้ไม่มากนักแต่การบริหารจัดการรูปแบบนี้ก็ยังไม่สามารถผ่านวังวนออกมาได้แม้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ชัดเจนในมาตรา 39 ว่าต้องกระจายอำนาจการบริหารจัดการทั้ง คน เงิน วิชาการ และงานทั่วไป ให้กับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ แต่ในทางปฏิบัติจริงยังเป็นการกระจายอำนาจแบบครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่ โดยเฉพาะสถานศึกษาที่เหมือนจะได้แต่งานมาให้ทำ ส่วนอำนาจที่จะบริหารจัดการยังถูกจำกัดตามกรอบเดิม การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่นี้ การกระจายอำนาจไปยังภาคปฏิบัติ จึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาจากทุกฝ่าย ซึ่งก็รวมถึงคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย ที่เห็นว่าการกระจายอำนาจไปให้กับภาคปฏิบัตินั้นจะต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการศึกษารวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับคือความประหยัด ความคุ้มค่า โดยเฉพาะคุณภาพผู้เรียน ซึ่งแนวทางกระจายอำนาจให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลที่ว่านี้ คุณตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สนช. ได้เล่าถึงยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการให้ฟังว่า

การกระจายอำนาจเพื่อให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลนั้น หากเป็นรูปแบบปกติหรือแบบเดิม จะถูกสั่งการจากกระทรวงศึกษาธิการ ลงสู่ สพฐ. เขตพื้นที่การศึกษา จนถึงโรงเรียนตามลำดับ แต่ด้วยโรงเรียนมีอยู่กว่าสามหมื่นแห่งจะมีความแตกต่างกันทั้งศักยภาพของผู้เรียน ภาษาถิ่น ประเพณี วิถีชีวิต บริบทของพื้นที่ ฐานะความเป็นอยู่ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา รูปแบบโรงเรียนนิติบุคคลที่คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สนช. เสนอนี้จะเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของภาคปฏิบัติและท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่คุณภาพผู้เรียน ด้วยการกระจาย อำนาจตามมาตรา 39 ทั้งการบริหารบุคคล งบประมาณ วิชาการและงานทั่วไปให้โรงเรียนได้บริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based management) ซึ่งแนวทางนี้น่าจะทำให้โรงเรียนเกิดความคล่องตัวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนได้รวดเร็ว ถูกต้องตรงจุด สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่นมากขึ้น ที่ว่าเช่นนี้ก็ด้วยมีผลการวิจัยของหลายสำนักรองรับว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลด้วยวิธีบริหารจัดการ ดังนี้

ด้านบุคคล จะให้อำนาจคณะกรรมการสถานศึกษา เป็น อ.ก.ค.ศ. สถานศึกษาไปด้วยเพื่อทำหน้าที่สรรหาครูและผู้บริหารที่มีคุณภาพมาปฏิบัติงาน โดยในส่วนของผู้บริหารสถานศึกษาจะให้อยู่วาระ 4 ปี และต้องทำข้อตกลง (MOU) กับคณะกรรมการสถานศึกษา ถึงเป้าหมายความสำเร็จคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพโรงเรียน หากปฏิบัติงานบรรลุผลตามข้อตกลง ก็จะได้รับค่าตอบแทนหรือความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น หากไม่ผ่านก็สามารถกลับไปสู่สภาพเดิมกับโรงเรียนที่ยังไม่ได้เป็นนิติบุคคล หรือถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นครูผู้สอน เป็นต้น ยุทธศาสตร์นี้น่าจะทำให้โรงเรียนได้ผู้บริหารและครูที่มีคุณภาพและมีความกระตือรือร้นต่อการปฏิบัติงาน ที่สำคัญจะเป็นการกระตุ้นให้ครู ผู้บริหารสนใจไปอยู่โรงเรียนที่ยังต้องได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างคุณภาพผู้เรียนและสร้างความก้าวหน้าไปด้วย เป็นต้น

ด้านงบประมาณ เมื่อโรงเรียนได้บริหารจัดการเอง จะทำให้แก้ปัญหาและพัฒนาได้ตรงจุดเกิดความคล่องตัว รวดเร็ว คุ้มค่า มากยิ่งขึ้น ส่วนด้านวิชาทั้งเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้จะทำให้โรงเรียนจัดได้สอดคล้องกับบริบทของเด็กที่ประสบอยู่ เช่น โรงเรียนหรือพื้นที่เด็กยังมีปัญหาพื้นฐานการเรียนรู้ อ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ คิดเลขไม่เป็น ก็สามารถจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแก้ปัญหาดังกล่าวได้ หรือโรงเรียนที่เด็กมีพื้นฐานการเรียนรู้ดีแล้วก็สามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายตามหลักสูตรแกนกลางกำหนด และบูรณาการกับความต้องการของท้องถิ่นทั้งด้านอาชีพและสายสามัญได้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ส่วนโรงเรียนที่เด็กมีความพร้อมก็สามารถเดินหน้าไปสู่ความเป็นเลิศได้คล่องตัวขึ้น หากทำได้เช่นนี้การพัฒนาผู้เรียนแบบเตี้ยอุ้มค่อมก็จะหมดไป ทุกคนจะได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจะถูกใช้อย่างมีคุณค่าเกิดประสิทธิภาพและทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมกับการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น

คุณตวง อันทะไชย กล่าวต่อไปว่า โรงเรียนนิติบุคคลตามยุทธศาสตร์นี้จะดำเนินงาน 3 ระยะ โดยระยะแรก สำหรับโรงเรียนที่สมัครใจซึ่งตอนนี้ก็มีโรงเรียนจำนวนหนึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้ว ระยะที่สอง จะเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมและสนใจ และระยะที่สาม น่าจะเกิดขึ้นได้ทั้งระบบ เพราะเมื่อถึงเวลานั้นคิดว่าผลจากการดำเนินงานของโรงเรียนนิติบุคคลทั้ง 2 ระยะแรก จะเป็นแรงผลักให้ทุกโรงเรียนที่เหลือต้องการเป็นนิติบุคคลโดยอัตโนมัติโรงเรียนขนาด

เล็กก็สามารถรวมกลุ่มเป็นนิติบุคคลได้ เพราะโรงเรียนนิติบุคคลตามยุทธศาสตร์นี้จะไม่กระทบกับโครงสร้าง ตำแหน่งของครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา แต่จะทำให้การบริหารจัดการมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดได้เช่นเดิม คุณภาพเด็กก็น่าจะดีขึ้น ผู้ปฏิบัติงานก็จะพลอยได้รับความก้าวหน้าไปด้วย คุณตวง กล่าวในที่สุด

รูปแบบโรงเรียนนิติบุคคลตามยุทธศาสตร์ที่ว่ามานี้ดูแล้วก็น่าจะเหมาะสมกับบริบทแบบไทย ๆเพราะหากคิดกระจายอำนาจแล้วไปยึดติดอยู่กับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ตำแหน่งข้าราชการ สุดท้ายก็จะได้แต่หน่วยงานใหม่และข้าราชการบางกลุ่มได้ตำแหน่งสูงขึ้นแต่กับเด็กแล้วจะไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก แต่แนวคิดให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในท้องถิ่นมาดำเนินการโดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพผู้เรียนนั้นถือว่าเดินมาถูกทาง ด้วยคนในพื้นที่ย่อมรู้ลึกรู้จริงสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาได้หากให้คิดและทำเอง แต่อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์นี้จะเกิดผลได้ก็ต่อเมื่อหน่วยเหนือต้องยอมละวางอำนาจการบริหารจัดการกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาลงบ้างแล้วหันไปสร้างอำนาจด้านนโยบาย ติดตาม กำกับ ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้นซึ่งก็จะช่วยเป็นแรงผลักให้คุณภาพผู้เรียนเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เมื่อหากลดอำนาจลงแล้วเกิดผลดีกับคุณภาพเด็กก็รีบทำ ๆ กันเถอะครับ เพราะหวงอำนาจไว้แล้วทำให้คุณภาพการศึกษาถอยหลังอยู่เช่นนี้ก็ไม่รู้จะหวงไว้ทำไม จริงไหมครับ.



โดย เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 25 ส.ค. 2558 (กรอบบ่าย)

 


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คอลัมน์ เปลี่ยนผ่าน: ได้เวลา "ปฏิรูป" ลูกเสือไทยเร่งสางปัญหา "ทุจริต" รีบปรับหลักสูตรให้ตรงใจ "ผู้เรียน-ผู้สอน"คอลัมน์ เปลี่ยนผ่าน: ได้เวลา "ปฏิรูป" ลูกเสือไทยเร่งสางปัญหา "ทุจริต" รีบปรับหลักสูตรให้ตรงใจ "ผู้เรียน-ผู้สอน"
เปิดอ่าน 9,618 ครั้ง

ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 11,641 ครั้ง

อวสาน อ.ก.ค.ศ. โดย อดิศร เนาวนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาอวสาน อ.ก.ค.ศ. โดย อดิศร เนาวนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เปิดอ่าน 19,244 ครั้ง

ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
เปิดอ่าน 22,370 ครั้ง

คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,245 ครั้ง

ข้อสอบเด็กไทย...ปัญหาใหญ่ที่ต้องมองข้อสอบเด็กไทย...ปัญหาใหญ่ที่ต้องมอง
เปิดอ่าน 8,260 ครั้ง

เรื่องที่คุณครูต้องอ่านเรื่องที่คุณครูต้องอ่าน
เปิดอ่าน 12,279 ครั้ง

มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)
เปิดอ่าน 9,545 ครั้ง

"ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้"ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
เปิดอ่าน 11,704 ครั้ง

เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เปิดอ่าน 25,538 ครั้ง

กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง
เปิดอ่าน 19,689 ครั้ง

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษาเมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 7,904 ครั้ง

อย่าลืมเป้าหมายการศึกษา : โดย ดร.กมล รอดคล้ายอย่าลืมเป้าหมายการศึกษา : โดย ดร.กมล รอดคล้าย
เปิดอ่าน 14,120 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล ต้องตั้งต้นจากผลการประเมินปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล ต้องตั้งต้นจากผลการประเมิน
เปิดอ่าน 7,423 ครั้ง

"ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล"ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล
เปิดอ่าน 22,842 ครั้ง

8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
เปิดอ่าน 19,755 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด
Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด
เปิดอ่าน 8,614 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง
หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง
เปิดอ่าน 35,526 ☕ คลิกอ่านเลย

เหตุใด...บัณฑิตครูเดินไม่ถึงฝัน กระบวนการผลิตหรือระบบการคัดเลือก?
เหตุใด...บัณฑิตครูเดินไม่ถึงฝัน กระบวนการผลิตหรือระบบการคัดเลือก?
เปิดอ่าน 9,921 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน
ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน
เปิดอ่าน 22,534 ☕ คลิกอ่านเลย

โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
เปิดอ่าน 16,887 ☕ คลิกอ่านเลย

งานประจำ 7 ประการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
งานประจำ 7 ประการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดอ่าน 15,972 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
เปิดอ่าน 11,391 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

10 ขั้นตอน...ก่อนซื้อ Notebook มือสอง
10 ขั้นตอน...ก่อนซื้อ Notebook มือสอง
เปิดอ่าน 7,717 ครั้ง

คู่มือการบริหารงานบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ กศจ. (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4) สิงหาคม 2563
คู่มือการบริหารงานบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ กศจ. (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4) สิงหาคม 2563
เปิดอ่าน 15,015 ครั้ง

กฎ  ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูฯ ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำฯ ฉบับที่ 2 (2555)
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูฯ ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำฯ ฉบับที่ 2 (2555)
เปิดอ่าน 27,624 ครั้ง

รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ จำนวน 5 รายการ
รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ จำนวน 5 รายการ
เปิดอ่าน 12,859 ครั้ง

หมดยุคหลอดไฟของ"โทมัส เอดิสัน"แล้ว
หมดยุคหลอดไฟของ"โทมัส เอดิสัน"แล้ว
เปิดอ่าน 9,572 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ