การวิจัย การปรับพฤติกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
กรณีศึกษา: นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี
ผู้วิจัย นางสาวสุดาพร ดวงโภคา
ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย
จากการที่ครูผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 หลังจากการสอนครูไประเมินผล โดยการมอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด ใบกิจกรรม พบว่า ไม่สามารถทำแบบฝึกหัด ใบงาน และไม่ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งปัญหาดังกล่าว เกิดจากการที่นักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า และมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน ข้าพเจ้าจึงได้หาวิธีการที่จะจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจ และกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น เป็นวิธีการที่ช่วยสนับสนุนวิธีการดังกล่าวได้ทางหนึ่ง โดยให้เพื่อนได้มีบทบาทสำคัญในการเรียน เพื่อนและกลุ่มมีอิทธิพลในการสร้างความสนใจ จูงใจ และการยอมรับของเพื่อนด้วยกัน ซึ่งการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การทำกิจกรรมกลุ่ม การเรียนเป็นกลุ่มย่อย หรือการเรียนร่วมกันมีประโยชน์ดังนี้
1. นักเรียนได้รับประโยชน์จากเพื่อนและมีโอกาสได้รับประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหลายวิธี
2. นักเรียนที่เรียนเก่งมีโอกาสขยายความรู้ให้เพื่อนฟังได้ และช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนอ่อนได้
3. ทำให้นักเรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับสังคมและรู้สึกชอบโรงเรียนมากยิ่ง ขึ้น
4. นักเรียนเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น มีความสัมพันธ์กันเป็นอันดี แม้จะมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ได้ช่วยกันแก้ปัญหาซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยพัฒนาทักษะทางชีวิตที่สำคัญ
5. ทำให้บรรยากาศในการเรียนมีความสนุกสนานน่าเรียน
6. ทำให้นักเรียนกล้าพูดกล้าซักถาม และกล้าแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเพื่อนในชั้น
7. ช่วยครูในการสอนและควบคุมชั้นเรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน จะใช้วิธีค้นหาเพื่อนที่เก่งช่วยเพื่อนที่เรียนอ่อนทำให้มีผลการเรียนดีขึ้น โดยกำหนดให้มีนักเรียนที่เก่งเป็นแกนนำของนักเรียนที่อ่อน คอยช่วยเหลือ แนะนำ อธิบายหัวข้อต่างๆ ที่เพื่อนในกลุ่มไม่เข้าใจ คอยติดตามช่วยเหลือจนเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ความสนิทสนม และใกล้ชิดของกลุ่มทำให้ผู้มีปัญหามีความรู้สึกเกิดการยอมรับ อยากพัฒนาเอง จนส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี โดยมีเป้าหมายให้มีความตั้งใจในการเรียนเพิ่มขึ้น
สมมุติฐานของการวิจัย
1. นักเรียนมีความตั้งใจในการเรียนเพิ่มขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี
2. ขอบเขตกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี
1. ขอบเขตด้านตัวแปร
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1. ระยะเวลาที่ทำการวิจัย : 3 เดือน (ธันวาคม พ.ศ.2561 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนได้รับประโยชน์จากเพื่อนและมีโอกาสได้รับประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหลายวิธี
2. นักเรียนที่เรียนเก่งมีโอกาสขยายความรู้ให้เพื่อนฟังได้ และช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนอ่อนได้
3. ทำให้นักเรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับสังคมและรู้สึกชอบโรงเรียนมากยิ่ง ขึ้น
4. นักเรียนเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น มีความสัมพันธ์กันเป็นอันดี แม้จะมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ได้ช่วยกันแก้ปัญหาซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยพัฒนาทักษะทางชีวิตที่สำคัญ
5. ทำให้บรรยากาศในการเรียนมีความสนุกสนานน่าเรียน
6. ทำให้นักเรียนกล้าพูดกล้าซักถาม และกล้าแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเพื่อนในชั้น
7. ช่วยครูในการสอนและควบคุมชั้นเรียน