บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาคู่มือการดำเนินงานจัดการเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
ผู้ศึกษา นายวรเศรษฐ์ อมรนันทพัฒน์
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
ปีที่ศึกษา 2563
การวิจัยเรื่อง รายงานการพัฒนาคู่มือการดำเนินงานจัดการเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานจัดการเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 (2) เพื่อพัฒนาคู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 (3) เพื่อศึกษาผลการใช้คู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานจัดการเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ดําเนินการ การวิเคราะห์เอกสารผลการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมารวมไปถึงงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง และสํารวจสภาพปัจจุบันปัญหาการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 42 โรงเรียน รวม 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 เป็นการสอบปลายเปิด(แบบมีโครงสร้าง)
ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาคู่มือ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ดำเนินการศึกษาคู่มือแนวทางการปฎิบัติการจัดการเรียนรวมสำหรับสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จากสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดองค์ประกอบและออกแบบการจัดทำคู่มือการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 และประเมินดัชนีความสอดคล้องความเหมาะสมของของคู่มือการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบประเมินดัชนีความสอดคล้อง เหมาะสมของ คู่มือการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 (สำหรับผู้เชี่ยวชาญ)
ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้คู่มือและประเมินผลการใช้คู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ผู้ศึกษาได้ให้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 42 โรงเรียน รวม 84 คน อบรมโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม กิจกรรม การอบรมคัดกรองทางการศึกษาเบื้องต้นและการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเรียนรวม SET ( Flagship Project)โดยได้ชี้แจงการใช้คู่มือและอบรมเนื้อหาของคู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 หลังจากนั้นให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานจัดการเรียนรวมก่อนการใช้คู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา หลังจากนั้นคณะกรรมการนิเทศจะดำเนินการลงไปติดตามผลหลังการใช้คู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 และผลการนิเทศการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
ผลการศึกษา พบว่า
1.ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา การดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 พบว่า ด้านนักเรียน (S-Students) ผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่ มีปัญหาในการจัดทำแผนในการรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เข้าเรียนรวมกับนักเรียนปกติ รวมไปถึงขาดความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรวม และการจัดการพฤติกรรมของนักเรียน ที่เป็นปัญหาในการเรียน รองลงมาคือการ ติดตามตรวจสอบการประเมินนักเรียนและการคัดกรองนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม (E-Environment) โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม เช่น ยังขาดทางลาดสำหรับนักเรียนที่ใช้ วีลแชร์ เป็นต้น อีกทั้ง โรงเรียนไม่มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนรวม ขาดการการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A-Activities) ครูมีการจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล( IIP) และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ไม่ครบนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษทุกคนเนื่องจากภาระงานที่มาก อีกทั้งยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเรียนแผนดังกล่าว ครูผู้สอนเองขาดความรู้มีการปรับเนื้อหาตามหลักสูตรและขาดความรู้เรื่องการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ด้านเครื่องมือ (T-Tool) โรงเรียนไม่ได้สำรวจจัดทำสารสนเทศจากโปรแกรม SET สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมที่เป็นปัจจุบัน และโรงเรียนขาดการนำผลการประเมิน การจัดทำสื่อ นวัตกรรม ผลงานการแข่งขันทางวิชาการ เกี่ยวกับเรียนรวมมาประชาสัมพันธ์และวิเคราะห์ผลในการทำงาน ขาดการทำงานร่วมการสหวิชาชีพ เนื่องจาก บางโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
2.ผลพัฒนาคู่มือ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ในการสร้างเนื้อหาประกอบด้วย 6 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 บทนำ สภาพการดำเนินงาน ปัญหา และความต้องการ ตอนที่ 2 ปรัชญา แนวคิด กฎหมาย นโยบาย และรูปแบบการจัดการเรียนรวม ตอนที่ 3 แนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวม ตอนที่ 4 การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนจัดการเรียนรวม และ ตอนที่ 5 ระบบบริหารจัดการข้อมูลเรียนรวม ( SET ) ตอนที่ 6 บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรวม ผลปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง เหมาะสมของ คู่มือการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสอดคล้องสามารถนำไปใช้ได้
3.ผลการใช้คู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 พบว่า
3.1 ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานจัดการเรียนรวมก่อนและหลังการใช้คู่มือการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 มีค่าเฉลี่ยหลังการทดลองใช้สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนทอลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจสำหรับครูที่มีต่อการใช้คู่มือการดำเนินงานจัดการเรียนรวม โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59
3.3 ผลการ นิเทศ ติดตามการดำเนินการจัดเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37