บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ 1)เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร 3)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนวัดพิกุลเงินองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน
มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.68 2)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ชุด มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.48 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) เรื่อง วัสดุและสสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความสอดคล้องของ IOC เท่ากับ 0.83 ค่าอำนาจจำแนกและค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8453 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.27 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8945 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ทดสอบย่อยก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ ทดสอบย่อยหลังเรียน และทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Post-test) ใช้แบบสอบถามสอบถามผู้เรียนเพื่อศึกษาความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สถิติของแบรนแนน (Brennan) หาค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สถิติตามวิธีของโลเวท (Lovett) หาความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้วิธี Itemtotal Correlation สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson หาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามความพึงพอใจ และใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้สถิติ E1/E2 หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้ t-test ทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้ E.I. วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ((X-bar) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า
1. โดยรวมประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 82.49 เมื่อพิจารณาเป็นรายแผน พบว่า แผนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้แก่แผนที่ 8 ( (X-bar=8.46) คิดเป็นร้อยละ84.57 รองลงมาได้แก่แผนที่ 3 (X-bar=8.34) คิดเป็นร้อยละ 83.43 ส่วนแผนที่มีค่าประสิทธิภาพต่ำสุดได้แก่ 1 ( (X-bar=8.11) คิดเป็นร้อยละ 81.14
2. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร เท่ากับ 84.91/82.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุและสสาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร มีค่าเท่ากับ 0.5278 แสดงว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุและสสาร ชุดนี้ ทำให้ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 52.78
สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้
5. โดยรวมความพึงพอใจของผู้เรียนชายและหญิง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ((X-bar=4.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายสถานะ พบว่า ผู้เรียนหญิงมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุและสสาร มากกว่าผู้เรียนชาย โดยผู้เรียนหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( (X-bar=4.61) ส่วนผู้เรียนชายมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ((X-bar=4.46)