ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนสกลวิสุทธิ

อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนสกลวิสุทธิ

The Identity of community participation in educational management of Sakolwisuth School.

นายวชิระ อาจเอื้อม

Mr. Vajira Artuem

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ และ 4) หาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลโดยการจัดประชาคม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์ และระยะที่ 2 เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และตัวแทนประชาชนจากชุมชน จำนวน 120 คน

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกล วิสุทธิ พบว่า โดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับดีมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและจำแนกรายด้ายอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล 3) ปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุดในแต่ละด้านและแนวทางแก้ไข เรียงตามลำดับความถี่ 3 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านการบริหารบุคลากร(2) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านงบประมาณ และ (3) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านวิชาการ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ 3 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเกี่ยวกับข่าวสารและข้อมูลของโรงเรียน และแจกผ่านมาทางนักเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองทราบ (2) ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการบริหารงานให้ผู้ปกครองรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน และ (3) ให้ชุมชนมีส่วนรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ

4) อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลเป็นอันดับ 1 การดำเนินการเป็นอันดับ 2และการวางแผนเป็นอันดับ 3 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาให้ความสำคัญด้านวิชาการเป็นอันดับ 1ด้านบริหารงานบุคคลเป็นอันดับ 2 และด้านงบประมาณเป็นอันดับ 3

คำสำคัญ: อัตลักษณ์/ การมีส่วนร่วมของชุมชน/ การจัดการศึกษา

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the level of participation in educational management of Sakolwisuth School, 2) to study the relationship between the process of community participation in educational management and quality of educational management of Sakolwisuth School, 3) to study problems and suggestions on the process of community participation in educational management of Sakolwisuth School, and 4) to find the identity of community participation in educational management of Sakolwisuth School. The research procedure comprised of 2 phases. Phase 1 the data were collected through the focus group of community meeting and the data were analyzed by content analysis and phase 2 the data were collected by a constructed 5-level rating scale questionnaire. The sampling group used for conducting the research comprised 15 members of the school board and 120 community representatives. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and the research hypothesis were tested by Pearson’s statistical method of correlation. The study yielded the following results: 1) The level of community participation in educational management of Sakolwisuth School was overall and in each aspect at high level, ranking from high to low as community participation in implementation, participation in follow-up and evaluation, and participation in planning. 2) The relationship between the process of community participation in educational management and quality of educational management of Sakolwisuth School, it was found that they were highly correlated with a strategical significance at the level of 0.05. The quality of educational management was overall and in each aspect at a moderate level, ranking from high to low as in the academic affairs, budgeting and personnel administration. 3) Problems and solutions were suggested, ranking of frequency in 3 areas as following order: (1) the communities had no involvement in following up and evaluation of personnel administration (2) the communities had no involvement in following up and evaluation of budgeting and (3) the communities had no involvement in following up and evaluation of academic affairs. The suggestions on the process of community participation in educational management, ranking of frequency in 3 areas as following order: (1) School should produce documents about school news and information and give them to students’ parents through students (2) School should prepare an information about school administration so that the parents would be informed on this issue and (3) the communities should be informed about budget. 4) For the identity of community participation in educational management, considered in terms of the values of correlative coefficients, it indicated that the importance was placed on following up and evaluation, implementation and planning respectively. For the quality of educational management, the importance was placed on academic affairs, personnel administration and budgeting respectively.

Keywords: Identity/ community participation/ educational management

บทนำ

ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาขาดการปรึกษาหารือกับชุมชนในการจัดทำแผนงาน มีงบประมาณดำเนินงานน้อย วัสดุครุภัณฑ์ให้บริการแก่ชุมชนไม่เพียงพอ และฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนไม่เอื้อต่อการสนับสนุนโรงเรียน เป็นต้นการบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ได้รับการปฏิบัติน้อยกว่าการบริหารงานด้านอื่น และมีปัญหาอื่น ๆ ที่หลากหลาย เช่น ผู้ปกครองไม่สนใจการศึกษาของผู้เรียน ชุมชนไม่ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ครูอาจารย์มีชั่วโมงสอนมากไม่มีเวลาให้บริการชุมชน แหล่งทรัพยากรท้องถิ่นมีน้อย ผู้ปกครองในชุมชนยากจนไม่ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา และขาดวัสดุครุภัณฑ์ในการเผยแพร่เกียรติประวัติของสถานศึกษา เป็นต้น (หวน พินธุพันธ์, 2560 : 7-18)

การจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนในภารกิจ 3 งานหลัก คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคคล แต่ก็ยังไม่สามารถให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการบริหารทุกขั้นตอนได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้อาจเกิดจากการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไม่เป็นเอกภาพและต่อเนื่อง เป็นต้น จึงทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเท่าที่ควร และปัจจุบันโรงเรียนมีแนวทางในการดำเนินงานที่ยังไม่ชัดเจน และไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิในครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงหาศึกษาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิซึ่งจะเป็นแนวทางให้เกิดการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์

1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ

2) ศึกษาความสัมพันธ์ของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ

3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ

4) หาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ

วิธีดำเนินการวิจัย

ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลโดยการจัดประชาคม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากร ได้แก่

1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

1) กลุ่มตัวอย่างในการจัดเวทีประชาคม ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และตัวแทนประชาชนจากชุมชน จำนวน 20 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) (บุญชม ศรีสะอาด, 2554 : 45)

2) กลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามที่ได้จากการประชาคม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ซ้ำกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเวทีประชาคมในพื้นที่ให้บริการของโรงเรียนสกลวิสุทธิ จำนวน 120 คน

ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลจจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 จัดเวทีประชาคมกลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการหาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ ขั้นตอนที่ 3 การสร้างเครื่องมือและพัฒนาเครื่องมือวิจัย โดยการกำหนดโครงสร้างเนื้อหาด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคคล ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบเครื่องมือด้านเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่าน และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงข้อคำถามตามคำแนะนำ ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) โดยการนำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ นำไปทดลองใช้ (tryout) กับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 6 การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่อยู่ในพื้นที่บริการของโรงเรียนสกลวิสุทธิ และขั้นตอนที่ 7 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย(mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับการมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้เกณฑ์ตามแนวคิดของเบสท์ (Best, 1977 : 174) ดังนี้

คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด

คะแนนเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมน้อย

คะแนนเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมปานกลาง

คะแนนเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมมาก

คะแนนเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด

การทดสอบสมมุติฐานการวิจัย เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยใช้สถิติอนุมาน (inferential statistics) เพื่อใช้ทดสอบความสัมพันธ์รายด้านระหว่างตัวแปรต้น (X) คือ ระดับการมีส่วนร่วมกับตัวแปรตาม (Y) คือ คุณภาพการจัดการศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (rxy) ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) สำหรับการพิจารณาระดับของความสัมพันธ์ใช้ของ ประคอง กรรณสูตร (2542 : 111) ได้กำหนดไวดังนี้

ค่าสหสัมพันธ์ 0.30 หรือต่ำกว่า แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันน้อย

ค่าสหสัมพันธ์ 0.31 ถึง 0.70 แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันปานกลาง

ค่าสหสัมพันธ์ 0.71 ขึ้นไป แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก

ผลการวิจัย

1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ พบว่า โดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน

2) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับดีมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและจำแนกรายด้ายอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล

3) ปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุดในแต่ละด้านและแนวทางแก้ไข เรียงตามลำดับความถี่ 3 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านการบริหารบุคลากร (2) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านงบประมาณ และ (3) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านวิชาการ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ 3 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเกี่ยวกับข่าวสารและข้อมูลของโรงเรียน และแจกผ่านมาทางนักเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองทราบ (2) ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการบริหารงานให้ผู้ปกครองรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน และ (3) ให้ชุมชนมีส่วนรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ

4) อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลเป็นอันดับ 1 การดำเนินการเป็นอันดับ 2และการวางแผนเป็นอันดับ 3 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาให้ความสำคัญด้านวิชาการเป็นอันดับ 1ด้านบริหารงานบุคคลเป็นอันดับ 2 และด้านงบประมาณเป็นอันดับ 3

อภิปรายผลการวิจัย

1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาสอดคล้องกับแนวคิดของพงศ์เทพ ทับทิม (2552) เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนบ้านคลองสิบสอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี พบว่า การมีส่วนร่วมด้านการวางแผนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก

2. ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษา สอดคล้องกับ ชูชาติ พ่วงสมจิตร (2560) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีแนวทางในการดำเนินการสองแนวทาง คือ 1) การสร้างความสัมพันธ์ทางตรง ประกอบด้วยวิธีการหลัก 2 ประการ ได้แก่ การนำโรงเรียนออกสู่ชุมชน และ การนำชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียน และ 2) การสร้างความสัมพันธ์ทางอ้อม โดยการพัฒนาให้บุคลากรมีมนุษยสัมพันธ์อันดีสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ การปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัย ร่มรื่น สวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมเยือน

3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการจัดการศึกษาในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน ปัญหาที่พบมากที่สุดในแต่ละด้านและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษา เรียงตามลำดับ ดังนี้

(1) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านการบริหารบุคลากร

(2) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านงบประมาณ

(3) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านวิชาการ

4. อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลเป็นอันดับ 1 การดำเนินการเป็นอันดับ 2 และการวางแผนเป็นอันดับ 3 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาให้ความสำคัญด้านวิชาการเป็นอันดับ 1ด้านบริหารงานบุคคลเป็นอันดับ 2 และด้านงบประมาณเป็นอันดับ 3

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 การศึกษาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนทำให้ทราบสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา พร้อมทั้งทราบระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้

1.2 ความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษา เป็นบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้คณะกรรมการสถานศึกษาและประชาชนได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมให้มากยิ่งขึ้น

1.3 พัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนด้วยการนำการประกันคุณภาพมาใช้ เช่น ระบบการประเมินตนเองที่เรียกว่า SSR (Self Study Report) มาใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีต่อหน่วยงานต้นสังกัด และชุมชน

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรมีการศึกษาองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเพื่อศึกษาว่ามีปัจจัยใดที่ส่งผลให้ได้คณะกรรมการสถานศึกษาที่มีความรู้ความสามารถที่จะทำให้การบริหารสถานศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น

2.2 ควรมีการศึกษามิติการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียน และชุมชนที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

เอกสารอ้างอิง

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian EJournal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1342-1354.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พงศ์เทพ ทับทิม. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนบ้านคลองสิบสอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

หวน พินธุพันธ์. (2560). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 52, 7-18.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

โพสต์โดย Wachira_03 : [21 ก.ย. 2565 เวลา 12:17 น.]
อ่าน [1754] ไอพี : 180.180.20.144
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 33,870 ครั้ง
Plasma TV คืออะไร
Plasma TV คืออะไร

เปิดอ่าน 1,393 ครั้ง
สีเสื้อมงคล 2567 เสริมดวงปัง ตลอดปี
สีเสื้อมงคล 2567 เสริมดวงปัง ตลอดปี

เปิดอ่าน 19,257 ครั้ง
คำพ่อสอน เรื่อง "การทำงาน" ให้ประสบความสำเร็จ
คำพ่อสอน เรื่อง "การทำงาน" ให้ประสบความสำเร็จ

เปิดอ่าน 22,993 ครั้ง
วิธีเลือกซื้อปลาทู
วิธีเลือกซื้อปลาทู

เปิดอ่าน 21,183 ครั้ง
"ว่านกาบหอย" ไม่ใช่แค่ไม้ประดับแต่เป็นยาสมุนไพร
"ว่านกาบหอย" ไม่ใช่แค่ไม้ประดับแต่เป็นยาสมุนไพร

เปิดอ่าน 11,174 ครั้ง
นักเรียน ม.2 ประดิษฐ์ หุ่นยนต์ล้างเครื่องปรับอากาศแบบอัตโนมัติ เน้นประหยัดเวลา ประหยัดเงิน
นักเรียน ม.2 ประดิษฐ์ หุ่นยนต์ล้างเครื่องปรับอากาศแบบอัตโนมัติ เน้นประหยัดเวลา ประหยัดเงิน

เปิดอ่าน 19,908 ครั้ง
โรคของเส้นผม ขน และเล็บ
โรคของเส้นผม ขน และเล็บ

เปิดอ่าน 40,718 ครั้ง
Chat GPT คืออะไร ใช้งานยังไง AI  สำหรับครูยุคใหม่จำเป็นต้องรู้
Chat GPT คืออะไร ใช้งานยังไง AI สำหรับครูยุคใหม่จำเป็นต้องรู้

เปิดอ่าน 21,424 ครั้ง
ฟักทอง เต็มเปี่ยมด้วยประโยชน์
ฟักทอง เต็มเปี่ยมด้วยประโยชน์

เปิดอ่าน 13,860 ครั้ง
พัฒนาทักษะสมองอย่างไรให้เป็นคนที่สำเร็จในอนาคต
พัฒนาทักษะสมองอย่างไรให้เป็นคนที่สำเร็จในอนาคต

เปิดอ่าน 33,694 ครั้ง
รูปแบบการสอน 7 ประการ
รูปแบบการสอน 7 ประการ

เปิดอ่าน 10,468 ครั้ง
การทำงานของ"รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์"ในสายตาประชาชน
การทำงานของ"รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์"ในสายตาประชาชน

เปิดอ่าน 15,948 ครั้ง
เดจาวู! ทฤษฎีภาพซ้อน หรือ ย้อนอดีต!
เดจาวู! ทฤษฎีภาพซ้อน หรือ ย้อนอดีต!

เปิดอ่าน 74,669 ครั้ง
กลอนปีใหม่ SMSปีใหม่ กลอนน่ารักๆ
กลอนปีใหม่ SMSปีใหม่ กลอนน่ารักๆ

เปิดอ่าน 11,456 ครั้ง
รับชมย้อนหลัง การประชุมทางไกล "เครือข่ายโรงเรียนดีใกล้บ้าน" 2 ธันวาคม 2559
รับชมย้อนหลัง การประชุมทางไกล "เครือข่ายโรงเรียนดีใกล้บ้าน" 2 ธันวาคม 2559

เปิดอ่าน 12,729 ครั้ง
วิธีเขียนอีเมล์เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
วิธีเขียนอีเมล์เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เปิดอ่าน 19,422 ครั้ง
เผยวิธีคิดแบบคนเก่ง
เผยวิธีคิดแบบคนเก่ง
เปิดอ่าน 10,406 ครั้ง
อยากได้กันมั๊ย ชมคลิปโชว์ความสามารถ Google Glass แว่นตาอัจฉริยะ
อยากได้กันมั๊ย ชมคลิปโชว์ความสามารถ Google Glass แว่นตาอัจฉริยะ
เปิดอ่าน 8,964 ครั้ง
เดนมาร์ก แชมป์โลกความสุข
เดนมาร์ก แชมป์โลกความสุข
เปิดอ่าน 40,103 ครั้ง
"เสียงกู่จากครูใหญ่" หนังสั้นที่ปลุกพลังผู้เสียสละ เพื่อการศึกษา อนาคตของชาติ
"เสียงกู่จากครูใหญ่" หนังสั้นที่ปลุกพลังผู้เสียสละ เพื่อการศึกษา อนาคตของชาติ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ