Advertisement
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : "แอ๊ว"ยอดรัก สลักใจ" มีชื่อจริงว่า "ส.ต.ต.นายนิพนธ์ ไพรวัลย์" เกิดเมื่อวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ที่ต.งิ้วราย อ.ตะพานหิน จ. พิจิตร เป็นบุตรของนายบุญธรรม ไพรวัลย์กับนางบ่าย ไพรวัลย์มีพี่น้องรวม 8 คน ชาย 7 คน หญิง 1 คน"แอ๊ว"เป็นคนสุดท้องจบการศึกษาชั้น ป.4 โรงเรียนบ้านหาดแตง
ด.ช. นิพนธ์มีความใฝ่ฝันตอนเป็นเด็นว่าอยากเป็นหมอรักษาคนไข้ แต่เพราะฐานะทางบ้านไม่มีเงินส่งเสียค่าเล่าเรียนให้จึงจำเป็นต้องลาออก ต่อมาก็มีคณะรำวงคณะ"เกตุน้อยวัฒนา"มาเล่นที่จังหวัดพิจิตร แอ๊วจึงไปสมัครร้องเพลงและเชียร์รำวง หลังเลิกก็จะได้เงินครั้งละ 5-10บาท ต่อมาได้ผันตัวเองเข้ามาร้องเพลงในห้องอาหารย่าน ตาคลี จ.นครสวรรค์ โดยได้ใช้เพลง"ไพรวัลย์ ลูกเพชร,ชาย เมืองสิงห์,สุรพล สมบัติเจริญ,ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
แล้ววันหนึ่ง เด็ดดวง ดอกรัก นักจัดรายการดังสถานีวิทยุ ท.อ.04 ตาคลี ฟังเพลงที่ห้องอาหารและฟังเพลงใต้เงาโศกของไพรวัลย์ ลูกเพชรที่แอ๊วร้อง เกิดความประทับ เด็ดดวง ดอกรักจึงได้พูดคุยและชักชวนเข้าสู่วงการ ตั้งชื่อให้ว่า ยอดรักลูกพิจิตรและได้บันทึกแผ่นเสียง7 เพลงที่อาจารย์ชลธี ธารทองเป็นผู้แต่งประกอบด้วยสงกรานต์บ้านทุ่ง,น้ำสังข์ น้ำตา,เต่ามองดวงจันทร์,คนบ้านนอก,จากใต้ถึงอีสาน,รักสาวมอญ,รักสาวไกลบ้าน
แต่จะจะบันทึกแผ่นเสียงเด็ดดวงดอกรักนำยอดรัก ลูกพิจิตรมาฝากกับอาจารย์ชลธี ธารทอง ยอดรักอยู่เลี้ยงลูกให้อาจารย์ชลธี ธารทองมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี อาจารย์ชลธีก็หาแนวทางว่ายอดรักจะไปแนวไหนดี เพราะช่วงนั้น สายัณห์ สัญญา ดังเป็นพลุแตกในเพลงลูกสาวผู้การ,รักเธอเท่าฟ้า จึงคิดแนวทางให้ยอดรักฉีกไปอีกแบบหนึ่งกระทั่งวันหนึ่งเกิดสงครามทางชายแดนขึ้น ในปีพ.ศ.2518 เหล่าทหารที่รอดตายจากสงครามก็ได้มาออกโทรทัศน์ว่า คนที่อยู่แนวหน้าลำบากมากเหลือเกิน อยากให้แนวหลังช่วยส่งกำลังใจไปช่วยบ้าง
อาจารย์ชลธีธารทอง จึงแต่งเพลง จดหมายจากแนวหน้าให้ยอดรักได้ร้องในปลายปี2518
และตอนบันทึกแผ่นเสียงเพลงจดหมายจากแนวหน้า อาจารย์ชวนชัย ฉิมพะวงศ์เปลี่ยนนามสกุลจากยอดรัก ลูกพิจิตร มาเป็น"ยอดรัก สลักใจ" โดยอาจารย์ชวนชัยให้เหตุผลไว้ว่า ชื่อยอดรักนั้นเพราะอยู่แล้วมีความหมายที่ดีเป็นที่รักของทุก ๆ คน และเมื่อมียอดรักแล้ว เราก็ต้องสลักไว้ในใจแฟนเพลง จึงเป็นที่มาของชื่อ ยอดรัก สลักใจ
วงดนตรียอดรักสลักใจ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2519 มี เด็ดดวง ดอกรัก เป็นผู้จัดการวงดนตรี แสดงที่หนองบัว จ.นครสวรรค์ และวงดนตรียอดรัก สลักใจก็ยังเป็นวงดนตรี ที่ครองแชมป์รายได้ 3 ปีซ้อน ในสมัยที่มาทำวงกับพนม นพพรในยุคของเพลงชุด โกลเด้นท์ซอง"เอาแน่,อยู่กับยาย,ยิ้มให้คุณ
"ยอดรัก"มีโอกาสเข้าโรงเรียนพลตำรวจบางเขน เมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2534 และศึกษาต่อจนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 ปริญญาครุศาตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศศ.บ.) สาขาศิลปศาสตร์ สายดนตรีและศิลปะ การแสดง วิทยาลัยครูธนบุรี สหวิทยาลัย
ผลงาน ด้านละคร"ยอดรัก สลักใจ นักร้องผู้เปี่ยมไปด้วยความสามารถเคยผ่านเส้นทางบนแผ่นฟิล์มและจอแก้วมาแล้วมากมาย
ละคร"ล่องเรือหารัก" เป็นละครเรื่องหนึ่งที่สร้างชื่อให้ ยอดรัก สลักใจ ในฐานะนักแสดงและร้องเพลงประกอบในชื่อเดียวกัน ยอดรักแสดงคู่กับ "กบ" ปภัสรา ชุตานุพงษ์ สร้างปี 2533-2534 และนำมาฉายอีกครั้งปี 2536-2537 โดย ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ผู้กำกับคือ ประวิทย์ ชุมฤทธิ์ ฉายทางช่อง 3
ละครเรื่องนี้ทำให้เพลง"ล่องเรือหารัก" โด่งดัง เป็นเพลงอมตะและมีนักร้องเวทีประกวดร้องเพลงต่างๆ นำไปเป็นเพลงประกวดมากมายหลายเวที โดยผู้ประพันธ์เพลงคือศิลปินแห่งชาติ ชลธี ธารทอง ซึ่งเป็นเพลงที่ สุริยัน ส่องแสง นักร้องลูกทุ่งที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นผู้ร้องเป็นต้นฉบับ แต่ไม่เป็นที่รู้จักมากมายนัก
เรื่องต่อมาที่ยอดรักร่วมแสดงคือ "มนต์รักลูกทุ่ง" ฉบับ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง กับ "น้ำผึ้ง" ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ นอกจากนี้ยังมี สวรรค์บ้านทุ่ง, สุรพล (คนจริง) สมบัติเจริญ, อะเมซิ่งโคกเจริญ และ มนต์รักแม่น้ำมูล ส่วนใหญ่จะเป็นละครที่มีเพลงลูกทุ่งประกอบทั้งสิ้น
นอกจากละครทางจอแก้วแล้วยอดรัก สลักใจ ยังร่วมแสดงภาพยนตร์ไว้หลายเรื่องมาก เรื่องแรกที่แสดงนั้น เมื่อปี 2523 ก็ไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับเพลงและเรือ นั่นคือเรื่อง "เรือเพลง" แสดงคู่กับ วาสนา สิทธิเวช
เรื่องต่อมาคือ "สงครามเพลง" เข้าฉายปี 2526 แสดงคู่กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นหนังที่ ฉลอง ภักดีวิจิตร ทุ่มทุนสร้าง โดยระดมดารานักร้องมาร่วมแสดงมากมาย และอีก 7 ปีต่อมา เรื่องนี้นำมาสร้างอีกครั้งในภาค 2 ชื่อ สงครามเพลงแผน 2 ในปี 2533 โดย ยอดรัก แสดงคู่กับ สุนารี ราชสีมา
ปี2527 ถือเป็นปีทองของยอดรักในด้านการแสดงภาพยนตร์ เพราะมีออกมาด้วยกันหลายเรื่อง เริ่มจาก สาวนาสั่งแฟน กับ อีแต๋นไอเลิฟยู แสดงคู่กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ สาลิกาลิ้นทอง แสดงคู่กับ อภิรดี ภวภูตานนท์ ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น แสดงคู่กับ ปิยะมาศ โมนยะกุล ทหารเกณฑ์เจอผี มี โน้ต เชิญยิ้ม กับ ยอด นครนายก ร่วมแสดง
เรื่องที่ออกฉายไล่เลี่ยกันคือ เสน่ห์นักร้อง แสดงร่วมกับ สายัณห์ สัญญา เป็นเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่แสดงร่วมกันระหว่างสองนักร้องคู่นี้ ปัจจุบันความสัมพันธ์ของทั้งคู่กลายเป็นเส้นขนานไปแล้ว
ยอดรักได้แสดงภาพยนตร์ประกบดาราดังหลายคนอย่างจารุณี สุขสวัสดิ์ นางเอกยอดนิยมในยุคนั้น ก็เคยแสดงร่วมกับยอดรัก ในเรื่อง นักร้องพ่อลูกอ่อน เมื่อปี 2528
ปี2530 ยอดรัก มีภาพยนตร์ 2 เรื่องออกฉาย คือ เพลงรัก เพลงปืน เล่นคู่กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ และเรื่อง อยู่กับยาย ที่มี ศิรินทรา นิยากร นักร้องลูกทุ่งสาวร่วมแสดงด้วย และอีก 2 ปีต่อมา ศิรินทรา ได้ประกบยอดรักอีกครั้งในเรื่อง อ้อนรักแฟนเพลง
ทิ้งช่วงไปราว12 ปี ต้นปี 2545 ยอดรักได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ที่รวมคนลูกทุ่งมากที่สุด ในเรื่อง มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม ที่สหมงคลฟิล์ม ร่วมกับสถานีวิทยุลูกทุ่งเอฟเอ็ม สร้าง กำกับโดย บัณฑิต ทองดี
ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่ยอดรัก แสดงนั้น แทบทั้งหมดจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพลงทั้งสิ้น แต่มีเรื่องเดียวที่ ยอดรัก รับบทเป็นหมอ ในเรื่อง เสือโจรพันธุ์เสือ มี อำพล ลำพูน แสดงนำ
ส่วนเรื่องล่าสุดที่แสดงก่อนจะป่วยคือ อีส้มสมหวัง ที่มีนางเอกสาว สุวนันท์ คงยิ่ง แสดงนำ เข้าฉายเมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่ผ่านมา โดย ยอดรัก สลักใจ รับบทเป็นนักร้องลูกทุ่งซึ่งเป็นบทที่แสดงเป็นตัวเขาเอง ในระหว่างนั้นอาการเจ็บป่วยในช่องท้องเริ่มก่อตัวจนกระทั่งโรคมะเร็งมาแผลงฤทธิ์จนต้องนอนโรงพยาบาลในวันนี้
ผลงานเพลงของยอดรักได้รับรางวัลเกียรติยศจำนวนมาก
- เสาอากาศทองคำพระราชทาน นักร้องชายยอดเยี่ยมยอดนิยม เมื่อปี พ.ศ.2520 ในเพลง ทหารเรือมาแล้ว
- ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ปี พ.ศ. 2522 นักร้องชายยอดเยี่ยม จากเพลง กำนันกำใน
- ได้รับรางวัล ในงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย จากเพลงทหารใหม่ไปกอง, จักรยานคนจน
- ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน นักร้องชายยอดเยี่ยม ปีพ.ศ. 2539 จากเพลง มนต์รักลูกทุ่ง
- ได้รับรางวัลทีวีมาชนของหนังสือพิมพ์บ้านเมือง
- ปี 2523 ได้รับเกียรติให้ร้องเพลงชนะเลิศ จากการประกวดวันแม่แห่งชาติ คือ เพลง แม่พระประชาไทย,แด่พระบารมี
- ได้ร้องเพลงถวายวันครบรอบ 90 พรรษา ของสมเด็จย่า ในเพลง สมเด็จย่า แต่งโดย จิ๋ว พิจิตร จัดทำโดย กองทัพบก
- ปี 2535 ได้ร้องเพลงในชุดเฉลิมพระเกียรติ สดุดี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในเพลง แม่สยาม
- ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน นักร้องชายยอดเยี่ยม ปีพ.ศ. 2542 จากเพลง เทพธิดาพยาบาล
- ได้รับรางวัลนักร้องยอดนิยม จากเพลง ไอ้หนุ่มตู้เพลง ปี พ.ศ. 2523
- ได้รับรางวัลนักร้องยอดนิยม จากเพลง รักแม่ม่าย ปี พ.ศ. 2524
- 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้ร่วมขับร้องเพลง ชุด ลูกทุ่งดอนเจดีย์ โดยขับร้องไว้ 2 บทเพลงคือ เพลง ลูกทุ่งดอนเจดีย์ (ร้องหมู่) และเพลงกะเหรี่ยงลาตาย ในงานมหกรรมดอนเจดีย์ ที่จังหวัด สุพรรณบุรี
Advertisement
เปิดอ่าน 29,126 ครั้ง เปิดอ่าน 16,197 ครั้ง เปิดอ่าน 10,986 ครั้ง เปิดอ่าน 11,286 ครั้ง เปิดอ่าน 3,918 ครั้ง เปิดอ่าน 14,760 ครั้ง เปิดอ่าน 10,813 ครั้ง เปิดอ่าน 13,064 ครั้ง เปิดอ่าน 17,577 ครั้ง เปิดอ่าน 74,737 ครั้ง เปิดอ่าน 9,003 ครั้ง เปิดอ่าน 12,686 ครั้ง เปิดอ่าน 17,662 ครั้ง เปิดอ่าน 22,006 ครั้ง เปิดอ่าน 16,175 ครั้ง เปิดอ่าน 11,466 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,201 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,690 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 61,911 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,528 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 4,486 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 31,494 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,308 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,625 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,031 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,879 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,144 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,629 ครั้ง |
|
|